การใช้เทคโนโลยี เพื่อป้องกันความเสียหายทางการเกษตร ระบบเตือนภัยพิบัติทางการเกษตรล่วงหน้า (The Crop Disaster Early Warning System)
LIU,HUI-FANG(China Productivity Center Smart Agriculture Promotion Department)
ไต้หวันตั้งอยู่ในเขตกึ่งร้อนชื้น ล้อมรอบด้วยทะเลและอยู่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่ จึงมีภูมิอากาศที่ซับซ้อนและแปรปรวน ในช่วงฤดูใบไม้ผลิมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ในช่วงฤดูร้อนมีพายุไต้ฝุ่นและฝนตกหนัก และในช่วงฤดูหนาว พืชผลได้รับความเสียหายจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น เมื่อเปรียบเทียบภูมิอากาศปัจจุบันกับอดีต สภาพอากาศปัจจุบันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงมาก สภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้เกิดภัยพิบัติทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น เกิดความสูญเสียทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อความสมดุลของอุปสงค์-อุปทานสินค้าการเกษตร ความสูญเสียเหล่านี้สามารถป้องกันได้ หากเกษตรกรสามารถรับทราบข้อมูลภัยพิบัติที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้
สถาบันวิจัยการเกษตรไต้หวัน (Taiwan Agricultural Research Institute) กรมอุตุนิยมวิทยา (The Central Weather Bureau) ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (The National Science and Technology Center for Disaster Reduction) และคณะกรรมการวิจัยและส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ (The district agricultural research and extension stations of Council of Agriculture : COA) ร่วมกันพัฒนาระบบเตือนภัยพิบัติทางการเกษตรล่วงหน้า โดยใช้ฟังก์ชั่นแอพพริเคชั่นโทรศัพท์มือถือแจ้งเตือนข้อมูลภัยพิบัติไปยังเกษตรกรแบบเรียลไทม์, แจ้งให้เกษตรกรทราบข้อมูลการสังเกตการณ์สภาพอากาศแบบเรียลไทม์, พยากรณ์อากาศในพื้นที่เฉพาะ, 24 สภาพอากาศประจำปีของไต้หวัน, ลักษณะการเจริญเติบโตของพืช, และวิธีการป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ทั้งหมดนี้ถูกรวบรวมเข้าไว้ในระบบเตือนภัย เกษตรกรสามารถติดตามข้อมูลล่าสุด ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเกิดภัยพิบัติ และสามารถประยุกต์ใช้มาตรการตอบสนองภัยพิบัตินั้นๆ ได้ในทันที
ข้อมูลที่อยู่ในระบบเตือนภัยพิบัติทางการเกษตร ประกอบด้วย:
1. คำเตือนภัยพิบัติทางการเกษตร:
ในหน้าคำเตือนภัยพิบัติทางการเกษตร เกษตรกรสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตรในท้องถิ่นนั้นๆได้ โดยการเลือกเขตพื้นที่ที่ต้องการทราบข้อมูล, คำเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าใช้ข้อมูลจากพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาไต้หวัน ทั้งนี้จะให้ข้อมูลพืชเกษตร 5 ชนิดที่มีพื้นที่ปลูกที่ใหญ่ที่สุดของแต่ละพื้นที่, ระบบจะใช้สัญญาณสีเขียว สีเหลือง และสีแดง บ่งชี้การคาดการณ์และการเตือนภัยพิบัติระดับต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ขณะเดียวกันยังได้ผนวกข้อมูลปฏิทินการเพาะปลูกและแนวทางการป้องกันภัยพิบัติทางการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าใจข้อมูลภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องและตอบสนองได้ถูกต้องทันท่วงที, ลดความสูญเสีย ข้อมูลปฏิทินการป้องกันภัยพิบัติและการเพาะปลูกนี้มีหน่วยเป็นเดือน นอกจากนี้ ยังนำเสนอข้อมูลวงจรชีวิตของพืช, การใช้ปุ๋ยและข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภัยพิบัติที่พบบ่อยของพืชเกษตร, ข้อเสนอแนะในการป้องกันภัยพิบัติและแนวทางการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ, ข้อมูลปัญหาศัตรูพืชที่พบบ่อยและแนวทางป้องกันแก้ไข
รูป ระบบเตือนภัยพิบัติทางการเกษตรล่วงหน้า (a) ระดับการเตือนภัยพิบัติ: ใช้สัญญาณสีเขียว สีเหลือง และสีแดง แสดงระดับการเตือนภัย (b) ข้อมูลพืชเกษตร: ข้อมูลพืชเกษตร 5 ชนิดที่มีพื้นที่ปลูกที่ใหญ่ที่สุดในแต่ละพื้นที่ (c) พื้นที่เพาะปลูก: พื้นที่เพาะปลูกของพืชเกษตรที่ใช้พื้นที่มากที่สุด 5 ชนิด
2. การเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่เกษตรกรรม:
พืชเกษตรส่วนใหญ่ในไต้หวันเพาะปลูกข้ามพื้นที่ ระบบเตือนภัยนี้จะให้ข้อมูลพืชที่มีแนวโน้มได้รับความเสียหายง่ายหรือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นหลัก ได้แบ่งพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญ ออกเป็น 62 พื้นที่ด้วยกัน ในขณะเดียวกัน สภาวะวิกฤตของภัยพิบัติจะถูกทำเครื่องหมายตามคุณลักษณะของพืชเกษตรนั้นๆ รวมถึงวิธีการป้องกันภัยพิบัติต่างๆ, ข้อมูลพยากรณ์อากาศของพื้นที่เพาะปลูก จะใช้ข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา, ระบบสัญญาณเตือนไฟสีเขียว เหลือง และแดง ถูกใช้เป็นตัวบ่งชี้การพยากรณ์ของพืชเกษตรในพื้นที่ภัยพิบัติแต่ละแห่ง เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติทางการเกษตรล่วงหน้า ฟังก์ชั่นเตือนของแอพพริเคชั่นโทรศัพท์มือถือสามารถช่วยให้เกษตรกรรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสามารถป้องกันภัยล่วงหน้าได้
3. ข้อมูลการเกษตรและภูมิอากาศไต้หวัน อุบัติการณ์ของภัยพิบัติทางธรรมชาติ และข้อมูลอุตุนิยมวิทยา:
กรมอุตุนิยมวิทยาทำการศึกษา เก็บข้อมูล วิเคราะห์รูปแบบสภาพอากาศของไต้หวันเป็นเวลานาน ระบบสามารถสืบค้นข้อมูลย้อนหลัง อุณหภูมิเฉลี่ย และปริมาณน้ำฝนสะสมรายเดือนได้
อุบัติการณ์ของภัยพิบัติจากธรรมชาติ จัดทำโดยศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (The National Science and Technology Center for Disaster Reduction) ใช้หน่วยสิบวัน ข้อมูลประกอบด้วย อุณหภูมิต่ำสุด-สูงสุดรายวัน, ปริมาณน้ำฝนสะสมในหนึ่งวัน, ปริมาณน้ำฝนสะสม 3 วัน, ปริมาณน้ำฝนอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น เกษตรกรสามารถกำหนดค่าอุณหภูมิหรือปริมาณน้ำฝนที่ต้องใช้ในการเพาะปลูกนั้นๆ ระบบจะทำการวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบข้อมูลภาพ ให้เกษตรกรพิจารณาประกอบการเพาะปลูกและป้องกันภัยพิบัติต่อไป
ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาสามารถค้นหาได้จากข้อมูลของสถานีสังเกตการณ์อุตุนิยมวิทยาในพื้นที่ต่างๆ ทั่วไต้หวัน, ค้นหาข้อมูลอุตุนิยมวิทยาแบบเรียลไทม์ของหอดูดาว ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาได้, ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในอดีต ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อาทิ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด ปริมาณแสงอาทิตย์ ความชื้นสัมพัทธ์ นอกจากนี้ยังสามารถค้นหาข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเฉพาะช่วงวันที่ต้องการ เพื่อตรวจสอบ อุณหภูมิ ความแตกต่างของอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ความเร็วลม ปริมาณแสงอาทิตย์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้จัดทำรายงานอุตุนิยมวิทยาการเกษตรล่วงหน้าราย 10 วันหรือรายสัปดาห์ สะดวกเกษตรกรค้นหาข้อมูลและปรับเปลี่ยนแผนการการเพาะปลูกในพื้นที่
4. 24 สภาพอากาศประจำปีของไต้หวันและการแปลงหน่วยอุตุนิยมวิทยา:
การแบ่งสภาพอากาศออกเป็น 24 สภาพอากาศนั้น มีต้นกำเนิดมาจากลุ่มแม่น้ำเหลือง แต่ละสภาพอากาศมีระยะเวลาครึ่งเดือนโดยประมาณ แต่ละสภาพอากาศ หมายถึง ลักษณะเฉพาะของสภาพภูมิอากาศ, ระยะเวลาที่มีฝนตกหรือมีน้ำค้างสั้นยาว แม้ว่าไต้หวันจะตั้งอยู่ในเขตกึ่งร้อนชื้น ภูมิอากาศแตกต่างจากลุ่มแม่น้ำเหลือง แต่ 24 สภาพอากาศนี้ ยังคงส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการเกษตรของเกษตรกรไต้หวันเป็นอย่างมาก อาทิเช่น การเพาะปลูกในฤดูใบไม้ผลิ, การเติบโตในฤดูร้อน, การเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง, และการเก็บรักษาในฤดูหนาว
การแปลงหน่วยอุตุนิยมวิทยา อาทิ อุณหภูมิ ปริมาณแสงอาทิตย์ ความเร็วลม สามารถแปลงเป็นข้อมูลที่ต้องการได้
5. ผลการป้องกันภัยพิบัติ:
รายงานผลการวิจัยการป้องกันภัยพิบัติต่างๆ และผลของการป้องกันในช่วงกี่ปีที่ผ่านมา เกษตรกรสามารถอ้างอิงและนำไปประยุกต์ใช้
ในอดีต เนื่องจากขาดระบบการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ เมื่อเกิดภัยพิบัติ เกษตรกรได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ยากที่จะตอบสนองต่อภัยพิบัติในทันที แต่ด้วยวิวัตนการของเทคโนโลยี, ข้อมูลพืชเกษตร, สภาพอากาศ, และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติต่างๆ ที่รวบรวมไว้ในระบบเตือนภัยพิบัติทางการเกษตร ด้วยข้อมูลอุตุนิยมวิทยาแบบเรียลไทม์ที่จัดทำโดยกรมอุตุนิยมวิทยาและสถานีสังเกตการณ์ในพื้นที่ต่างๆ เกษตรกรสามารถป้องกันภัยพิบัติได้ล่วงหน้าและสามารถเข้าใจมาตรการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ แต่บางครั้งภัยธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากมีระบบการจัดการอัจฉริยะอัตโนมัติที่ออกแบบสำหรับพืชเกษตรแต่ละชนิด ก็จะสามารถลดความสูญเสียลงได้ ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการผลิตและการขาย ความเสถียรภาพทั้งรายได้ของเกษตรกร และราคาสินค้าเกษตรของผู้บริโภค