การปฏิรูปอุตสาหกรรมการเกษตร มุ่งสู่การเกษตรอัจฉริยะ
:::

การปฏิรูปอุตสาหกรรมการเกษตร มุ่งสู่การเกษตรอัจฉริยะ

Hung, Chia Hung(China Productivity Center Smart Agriculture Promotion Department)

1. คำนำ

การเกษตรช่วยให้มนุษย์สามารถควบคุมทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศ และเป็นเงื่อนไขหลักในการรักษาเสถียรภาพทางสังคม ด้วยการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ไต้หวันกำลังเผชิญกับปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็น สภาพอากาศที่มีความรุนแรงและรวดเร็ว, การขาดแคลนแรงงานในชนบท, เกษตรกรสูงอายุ, เผชิญความท้าทายและความเสี่ยงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การเกษตรแบบดั้งเดิมต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ ทำการปฏิรูปอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรยุคใหม่

ด้วยวิวัฒนาการของกาลเวลา เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โลกกำลังเข้าสู่ยุคการปฏิวัติทางเทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดั้งเดิมซึ่งรวมถึงการเกษตร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการยกระดับและเปลี่ยนแปลงการเกษตร เช่น การผลิตและการบริหารจัดการอัตโนมัติอัจฉริยะ, การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น การเก็บข้อมูลค่าต่างๆ ของสิ่งแวดล้อม การจดจำภาพ เพื่อประเมินผลผลิตทางการเกษตร เช่น สภาพภูมิอากาศ ค่าดิน และสถานการณ์พืชที่เพาะปลูก ข้อมูลที่ได้รับสามารถรวบรวมในอินเตอร์เน็ต, การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรอัตโนมัติ สร้างแบบจำลองการตัดสินใจในการบริหารจัดการฟาร์ม สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ความเสี่ยงในการผลิต, เกษตรกรสูงอายุ, การขาดแคลนเกษตรกร นำไปสู่การแก้ปัญหาและการสร้างโอกาสใหม่ให้กับการเกษตรของไต้หวันในที่สุด

2. แรงผลักดันให้เกิดการปฏิรูปและยกระดับอุตสาหกรรม

เพื่อส่งเสริมนวัตกรรม ยกระดับ และเปลี่ยนแปลงของการเกษตรในไต้หวัน กรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมแนวทางเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ มาตั้งแต่ปี 2560 เพื่อพัฒนารูปแบบการผลิตทางการเกษตรที่แตกต่างจากเดิมที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก ปรับตามความต้องการของตลาด มีความได้เปรียบในการแข่งขัน กรมส่งเสริมการเกษตรได้คัดเลือกอุตสาหกรรมนำร่อง 10 ประเภท ได้แก่ กล้วยไม้ ต้นกล้า เห็ด ข้าว สิ่งอำนวยความสะดวกทางการเกษตร พืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก การประมงทางทะเล การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สัตว์ปีก และปศุสัตว์ เพื่อวิจัยพัฒนาและยกระดับเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรอัจฉริยะนำร่อง โดยอาศัยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ได้แก่ การสื่อสาร ( ICT), อินเตอร์เน็ต (IoT), การวิเคราะห์ข้อมูลมหัต (Big Data), ปัญญาประดิษฐ์(AI), การประมวลภาพอัจฉริยะ (Imaging AI) สร้างระบบการผลิต การขาย และการบริการดิจิทัลที่ชาญฉลาด ผนวกในสองแกนหลักสำคัญ คือ การผลิตที่ชาญฉลาดและการบริการดิจิทัล

ด้วยความพยายามของกรมส่งเสริมการเกษตรและผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการและการวิจัยหลายสาขา โครงการเกษตรอัจฉริยะ ได้พัฒนาเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร การประมง และปศุสัตว์ เช่น การเฝ้าติดตามสิ่งแวดล้อม, การเตือนภัยพิบัติ, การควบคุมศัตรูพืช, ระบบการบริหารจัดการการผลิตและการขาย, เทคโนโลยีสรีรชีวภาพ และการตรวจสอบคุณภาพ การนำเครื่องจักรกลต่างประเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในประเทศ หรือคิดค้นเครื่องจักรผ่อนแรงและขั้นตอนการผลิตอัจฉริยะ นอกจากนี้ ในระหว่างการขับเคลื่อนโครงการนี้ ผู้ให้บริการด้านเทคนิคจำนวนมาก มีส่วนร่วมในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะมาใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ทางออกที่เหมาะสม ใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพต่อเกษตรกร

3. การเรียนรู้เทคโนโลยีข้ามภาคส่วน เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในการเกษตร

แม้ว่าการส่งเสริมการเกษตรอัจฉริยะ จะเป็นไปตามความต้องการของอุตสาหกรรม, ความพร้อมในการใช้งาน, และความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นเกณฑ์การเลือก 10 อุตสาหกรรมนำร่อง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเหล่านี้มีความแตกต่างกัน มีปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมเห็ดนำร่อง ประสบปัญหาเรื่องกำลังคนไม่เพียงพอ ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ขาดการจัดการอุปกรณ์เครื่องมือ คุณภาพไม่คงที่ และปัญหาอื่นๆ ที่จำเป็นต้องปรับปรุงเร่งด่วนอาทิ การผลิตและการออกแบบอาคารสถานที่อย่างเร่งด่วน ภายใต้โครงการเกษตรอัจฉริยะ ระบบควบคุมอุณภูมิอัจฉริยะ ติดตามและตรวจสอบสภาพแวดล้อมการเจริญเติบโตของเห็ด เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่การเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย การศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกเห็ดแต่ละสายพันธุ์ จนกลายเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของอุตสาหกรรมนั้นๆ ต่อยอดพัฒนาสายพันธุ์พิเศษอื่นๆและประยุกต์ใช้เทคนิคนี้กับช่องทางการขายต่อไป ระบบการผลิตที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์และตอบสนองต่อความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว การเตือนภัยแบบเรียลไทม์ผ่านแอพพิเคชั่นมือถือ สามารถบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม อุปกรณ์อัตโนมัติช่วยลดต้นทุนแรงงานได้สูงถึง 70%, ลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ อัตราการส่งของตรงเวลา 95%, อัตราการผลิตสินค้าได้คุณภาพ 99.5%, ความแม่นยำในการคาดการณ์การผลิต 93%, ลดต้นทุนสินค้าคงคลังได้ 20-40% บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานที่ให้ผลตอบแทนสูง คุณภาพสูง ประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรมนำร่องด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประสบปัญหาการเพาะเลี้ยงที่ต้องอาศัยแรงงานมนุษย์และประสบการณ์มากเกินไป สภาพอากาศที่ผิดปกติ ความเสี่ยงสูง วัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ คือ การประยุกต์ใช้เครื่องตรวจวัด เพื่อลดต้นทุนแรงงานและความเสี่ยงทางธุรกิจ ภายใต้โครงการเกษตรอัจฉริยะ ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้นำเทคโนโลยีการตรวจจับข้อมูลชีวภาพของตู้ปลามาใช้ตรวจสอบสภาพของปลา ติดตั้งเครื่องให้อาหารที่สามารถให้อาหารได้อย่างแม่นยำและลดสารตกค้าง ใช้อุปกรณ์จับปลาอัตโนมัติแก้ปัญหารังปลาเสียหายขณะชาวประมงเคลื่อนตัวไปมาเพื่อจับลูกปลาในบ่อ ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจับมือกับผู้ประกอบการ ICT ใช้อุปกรณ์ตรวจสอบที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมและคุณภาพน้ำอัตโนมัติ ตรวจวัดสภาพบ่อเลี้ยง แสดงข้อมูลภาพเข้าใจง่าย เรียลไทม์ พร้อมทำการแจ้งเตือนล่วงหน้าเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังให้บริการข้อมูลจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญรูปแบบดิจิทัล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

ด้านการเลี้ยงสัตว์ก็ประสบปัญหาเกษตรกรสูงอายุ ขาดแคลนแรงงาน สภาพแวดล้อมการทำงานที่มีอุณภูมิและความชื้นสูง ทำให้ขาดการเก็บข้อมูลการผลิตที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ยากต่อการวิเคราะห์และตีความอย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ระบบควบคุมโรงเลี้ยงสัตว์ปีกอัจฉริยะซึ่งเหมาะสำหรับโรงเลี้ยงที่มีอุณภูมิและความชื้นสูง, แก้ไขปัญหาเครื่องมืออุปกรณ์เก่าแก่, ใช้กล่องควบคุมอุณภูมิอัตโนมัติ, ระบบสเปรย์ละอองน้ำ, ระบบการจัดเก็บข้อมูลอัตโนมัติผ่านระบบอินเตอร์เน็ต, รวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการวิเคราะห์ ในขณะเดียวกันใช้แอพพริเคชั่นผ่านอุปกรณสื่อสารพกพา เพื่อให้ผู้ประกอบการฟาร์มปศุสัตว์สามารถติดตามข้อมูลต่างๆ ได้ตลอดเวลา การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีไม่เพียงแต่แก้ปัญหาการควบคุมโรงเลี้ยงไก่หลายหลังในฟาร์มปศุสัตว์เดียวกัน แต่ยังช่วยปรับปรุงการจัดการฟาร์มปศุสัตว์หลายแห่งในพื้นที่เดียวกัน, เพิ่มแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาทำงานปศุสัตว์, แก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน, อำนวยความสะดวกในการตรวจสอบและติดตามผล, ประหยัดกำลังคนและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก

4. สรุป

กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำการเกษตรอัจฉริยะประยุกต์ใช้ในหลายมิติของอุตสาหกรรมการเกษตร ตั้งแต่ปี 2560 รัฐบาลให้การสนับสนุนด้านดิจิทัล สร้างกระแสเกษตรอัจฉริยะบรูณการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่อง 4 ปี การเกษตรไต้หวันกำลังพัฒนาไปสู่การใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะซึ่งแสดงผลให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้ว} กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงและยกระดับการเกษตร, กระตุ้นเกษตรกรปรับปรุงกระบวนการผลิต, การบริหารจัดการที่แม่นยำ, สร้างรายได้ที่มั่นคง การเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานคนทั้งปี 365 วันอีกต่อไป ไต้หวันได้นำเทคโนโลยี การเกษตรอัจฉริยะ ได้แก่ เครื่องจักรอัจฉริยะ, เทคโนโลยีการตรวจวัด, อินเตอร์เน็ต, การวิเคราะห์ข้อมูลมหัต, และเทคโนโลยีเชิงคาดการณ์ล่วงหน้ามาประยุกต์ใช้ สามารถประหยัดเวลาและแรงงาน, อำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการ นำไต้หวันก้าวสู่สวรรค์ของการเกษตรยุคใหม่

แนวโน้มการพัฒนาการเกษตรในอนาคต การเกษตรในอนาคตจะเข้าสู่ยุคที่เน้นประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, การควบคุมความเสี่ยง, กำลังผลิตที่มั่นคง, คุณภาพสูง, สะดวกและมีประสิทธิภาพ ไต้หวันกำลังเผชิญหน้ากับการเกษตรยุคใหม่ที่หลายประเทศผนวกเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการเกษตร เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก

ในอนาคต ยังคงต้องบูรณาการเทคโนโลยีอัจฉริยะต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผลิตการเกษตรที่ชาญฉลาด, การขายแบบดิจิทัล, ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและยกระดับการเกษตรในภาพรวม, สร้างการเกษตรที่ปลอดภัย มั่นคง และยั่งยืน