เกษตรอัจฉริยะช่วยเพิ่มผลผลิตสู่ตลาดสากล
:::

เกษตรอัจฉริยะช่วยเพิ่มผลผลิตสู่ตลาดสากล

YANG,CHAO-WEI(China Productivity Center Local Revitalization Business Group)

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 ใช้น้ำและไอน้ำเป็นพลังงานขับเคลื่อน, การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ใช้พลังงานไฟฟ้าสามารถสร้างผลผลิตจำนวนมาก, การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 ใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากมนุษย์และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่าอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นโครงการที่รัฐบาลเยอรมันเสนอขึ้น เพื่อยกระดับการผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์, ดิจิทัล, และปัญญาประดิษฐ์ โดยผนวกเทคโนโลยีกับการผลิต, การขาย, การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์, และบริษัทคู่ค้า ไว้ด้วยกัน เมื่อมองในมุมของธุรกรรมธนาคาร 4.0 เดิมทีธนาคาร 1.0 ใช้อีเมล์ติดต่อประสานงานลูกค้า, ธนาคาร 2.0 ยุคธนาคารออนไลน์, ธนาคาร 3.0 ยุคอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์พกพา สามารถทำธุรกรรมการลงทุนหรือบริหารการเงิน ผ่านโทรศัพท์มือถือหรือ Ipad เป็นต้น, ธนาคาร 4.0 การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือหรือ e-wallets ซึ่งเชื่อมโยงธนาคารกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้บริโภคและชุมชนไว้ในระบบอย่างครบวงจร ยกตัวอย่างเช่น ร้านสะดวกซื้อ ที่อาศัยระบบ POS ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เข้าใจพฤติกรรมการซื้อของลูกค้ากับสภาพอากาศ เมื่อผู้จัดการร้านทราบกว่าจะฝนตกหนัก ก็จะสั่งสินค้าประเภท ร่ม, เสื้อกันฝน, ซาลาเปา, โอเด้ง, และอาหารสำเร็จรูปร้อนๆ ไว้รอ ในอนาคต การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลมหัต (Big data) อินเตอร์เน็ต (IoT) คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการผลิต รวมถึงการบริการผู้บริโภคที่เน้นผู้บริโภคเป็นหลัก การดำเนินธุรกิจที่ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าหลากหลายช่องทาง (Omni Channel), การบริการจัดส่งผลิตภัณฑ์อัจฉริยะที่ลดทั้งกำลังคนและทรัพยากร, การบริการเชิงพาณิชย์มุ่งเน้นไปที่ไลฟ์สไตล์ในอนาคต, ผลิตผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะของผู้บริโภค

ผู้เขียนใช้ประวัติการพัฒนาการเกษตรไต้หวัน เป็นประเด็นในการพิจารณาผลการผลิตการเกษตร การเกษตรไต้หวันในยุคแรกใช้แรงงานวัวควายและแรงงานมนุษย์ในการเพาะปลูกยาวนานหลายร้อยปี จนกระทั่งปี 2494 เริ่มใช้เครื่องจักรกลในการเพาะปลูก เพิ่มผลผลิตการเกษตรได้จำนวนมาก, ต่อมาปี 2513 เริ่มใช้รถแทรกเตอร์ มีการก่อตั้งกลุ่มเกษตรกรรับจ้างทำนามืออาชีพขึ้น เคยมีกลุ่มเกษตรกรรับจ้างมืออาชีพสูงถึง 400 กลุ่ม มีการนำเข้ารถแทรกเตอร์มากกว่า 1,000 คันทุกปี, ในปี 2517 ตลาดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ทันสมัย เริ่มต้นที่ตลาดขายส่งผักและผลไม้แห่งแรกของเมืองไทเป, ต่อมาปี 2528 เปิดตัวตลาดขายส่งที่สองในเมืองไทเป และเปิดตัวตลาดขายส่งในเมืองนิวไทเป, ซึ่งเป็นรู้จักกันนาม ตลาด 3 แห่ง ตลาดขายส่งผักและผลไม้แห่งแรกและแห่งที่สองดำเนินการโดย บริษัท Taipei Agricultural Product Marketing Corporation ซึ่งใช้ระบบการประมูลด้วยคอมพิวเตอร์, ราคาซื้อขายโปร่งใสเรียลไทม์บนอินเตอร์เน็ต, กลายเป็นดัชนีราคาผักผลไม้ที่ใช้อ้างอิงที่สำคัญที่สุดในไต้หวัน. ความโปร่งใสของราคาในระบบค้าส่งสมัยใหม่นี้ ช่วยสร้างกลไกการกำหนดราคาที่ยุติธรรมสำหรับผักและผลไม้, เกษตกรสามารถประเมินแผนการผลิตและการขายผ่านแพลตฟอร์มข้อมูลการผลิตและการขายได้ด้วยตนเอง, ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางอีกต่อไป นี่คือ ยุคเกษตร 1.0 ที่เทคโนโลยี, ระบบการจำหน่ายและขนส่งที่ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการจำหน่าย

ปี 2527 รัฐบาลเริ่มส่งเสริมการใช้อุปกรณ์การเกษตรในการเพาะปลูก ขับเคลื่อนนโยบายเกษตรคุณภาพและเร่งยกระดับการเกษตร กำหนดส่งเสริมพืชสวนเป็นหลัก ปี 2529 ผลักดันนโยบาย การค้นคว้าวิจัยและการพัฒนาเทคนิคการทำสวน ทำการทดลองโดยหน่วยงานวิจัยระดับชาติ เป็นการทำงานร่วมกันของหลายฝ่าย อาทิ ชีวสรีวิทยาและวิศวกรรมการมเกษตร, เครื่องจักรกลการเกษตร, เทคโนโลยีการควบคุมสิ่งแวดล้อม, โฮโดรโปนิกส์, ปุ๋ยดิน, ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาพืชผลและเครื่องจักรกลอัตโนมัติ, รวมถึงวัสดุและโครงสร้างของอาคารเรือนกระจก, สิ่งอำนวยความสะดวกในการเพาะปลูกและระบบควบคุมสารละลายธาตุอาหาร, ดินที่ใช้เพาะปลูก, เทคโนโลยีควบคุมสิ่งแวดล้อม, การควบคุมโรคและศัตรูพืช, ถาดหลุมเพาะต้นกล้า เมื่อถึงตอนนั้น การเกษตรจะไม่ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศอีกต่อไป สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี เทคโนโลยีทำให้สามารถเพาะปลูกนอกฤดูกาล เข้าสู่ยุคการเกษตรลงทุนสูงกำไรสูง ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดยุคเกษตร 2.0

ในช่วงปี 2513-2533 ระบบข้อมูลการเกษตรไต้หวันส่วนใหญ่ใช้เพื่อการของรัฐ เช่น การใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ทำการคัดแยกปุ๋ย, การส่งออกเห็ดและหน่อไม้ฝรั่ง, สถิติการเลี้ยงสุกร และการกู้เงินซื้ออุปกรณ์การเกษตร, เทคโนโลยีการเกษตร, ข้อมูลสถิติการเกษตร, และการบริหารการตลาด

หลังปี 2533 มีการพัฒนาระบบอิสระเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ อาทิเช่น การขนส่งสินค้าเกษตร, การบริการข้อมูลการตลาดของผลิตภัณฑ์การเกษตร, องค์กรการเกษตรออนไลน์, บริการข้อมูลค้าขายระหว่างประเทศ, การส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรผ่านทางออนไลน์, ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ความแพร่หลายของอุปกรณ์พกพา, การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS), การวางแผนทรัพย์กรขององค์กร (ERP) ทำให้การเกษตรเข้าสู่ยุคเกษตร 3.0 ผู้บริโภคสามารถใช้โทรศัพท์มือถือสแกน QRCode ที่อยู่บนหีบห่อผักผลไม้ รับทราบที่มาและขั้นตอนการเพาะปลูก ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบสินค้าของตน ในขณะเดียวกันสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ทำให้การประเมินสินค้าเกษตร เริ่มจากภาพลักษณ์ที่เห็นภายนอกจนถึงคุณค่าที่แท้จริงที่ไม่อาจมองเห็นด้วยตา

ในอนาคต เกษตร 4.0 คือ การเกษตรอัจฉริยะที่ผสมผสานแนวคิดอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ เป็นฟาร์มอัจฉริยะที่ผนวกระบบเซนเซอร์ (CPS), อินเตอร์เน็ต (IoT), และระบบคอมพิวเตอร์ตรวจสอบและควบคุมการเพาะปลูก โดยใช้ระบบการกำกับดูแลและเก็บข้อมูล (SCADA), ติดตั้งระบบจัดการการผลิต เพื่อการติดตามและจัดเก็บข้อมูลในทุกขั้นตอนการผลิต (MES), แล้วอัพโหลดข้อมูลเข้าระบบวางแผนทรัพย์กรขององค์กร (ERP), โดยการวิเคราะห์ข้อมูลมหัตของผู้บริโภค สามารถปรับแต่งการผลิตตามความต้องการของผู้บริโภค, สามารถปรับใช้ทรัพยากรที่มีได้อย่างแม่นยำและทันท่วงที, ลดต้นทุนการผลิตและการสิ้นเปลือง กรมส่งเสริมการเกษตรผลักดันการเกษตร 4.0 ภายใต้แนวทาง 3 ประการหลัก คือ การส่งเสริมการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะกับพันธมิตรเกษตรอัจฉริยะ, การสร้างการบริการเกษตรดิจิทัลที่หลากหลายและการบูรณาการแอพพริเคชั่น, ใช้เทคโนโลยีเสมือนมนุษย์ในการสื่อสารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค, ผลักดันการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมชั้นนำ 6 อันดับแรกและ 4 อุตสาหกรรมรากฐาน, เพิ่มการเติบโตทางการเกษตรของไต้หวันและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล 6 อุตสาหกรรมชั้นนำ ได้แก่ กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส, การเพาะต้นกล้า, เห็ด, สิ่งอำนวยความสะดวกทางการเกษตร, การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, สัตว์ปีก (นกน้ำ) ส่วน 4 อุตสาหกรรมรากฐาน ได้แก่ การทำนา, ผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้, น้ำนมดิบ, การประมงทางทะเล ผลผลิตทั้งหมดรวม 2.474 แสนล้านหยวน

การเกษตรไต้หวันกำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการแข่งขันของทางการเกษตรในยุคโลกาภิวัตน์ ต้องเพิ่มกำลังการผลิตและยกระดับให้เข้ากับมาตรฐานสากลอย่างเร่งด่วน ในอนาคตการเกษตรจะทำเพียงลำพังไม่ได้อีกต่อไป เพื่อให้มีจุดยืนในตลาดโลก ต้องอาศัยการพัฒนาทางการตลาดและกลยุทธ์ที่แตกต่างสำหรับแต่ละตลาด ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมกล้วยไม้ชื่อดังไต้หวัน Phalaenopsis ที่มีการเพาะพันธุ์หลากหลายและมีการปกป้องด้วยการจดสิทธิบัตรนานาชนิด, ด้วยเทคโนโลยีที่ควบคุมด้วยเซ็นเซอร์, การใช้อินเตอร์เน็ตในการบริการจัดการทางไกล ช่วยส่งเสริมให้สามารถทำการตลาดครอบคลุมทั่วโลกได้ ดอกสีขาวขนาดใหญ่ใช้มากในตลาดญี่ปุ่น, ส่วนดอกสีแดงจะได้รับความนิยมและขายได้ดีมากช่วงตรุษจีนในตลาดจีน, ดอกขนาดกลางที่เป็นก้านคู่ได้รับความนิยมในตลาดยุโรป แต่ละพื้นที่มีสีที่ชื่นชอบตากต่างกันไป ทั้งหมดนี่คือตัวอย่างของการผลิต การขาย และการใช้กลยุทธ์สำหรับความต้องการของแต่ละตลาดที่แตกต่างกัน อุตสาหกรรมการเกษตรไต้หวันมีคุณภาพสูงและมีการแปรรูปเชิงลึก ผลิตภัณฑ์ที่พิเศษจะมีการเพิ่มมูลค่าผ่านการทำสัญญา ใช้วัตถุดิบทางการเกษตรจากต่างประเทศ ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ Made in Taiwan : MIT ส่งจำหน่ายไปทั่วโลก