Upcycling ขยะหรือของเหลือใช้ทางการเกษตร
:::

Upcycling ขยะหรือของเหลือใช้ทางการเกษตร

Neer Chuang(China Productivity Center Smart Agriculture Promotion Department)

I. บทนำ

เกษตรกรรมเป็นพื้นฐานของความมั่งคั่งของประเทศ ในอดีตเป็นการเกษตรแนวตรง กล่าวคือ เพาะปลูก-ผลิต-ใช้-กำจัด ซึ่งสิ้นเปลืองทรัพยากรเป็นอย่างมาก เศรษฐกิจแนวตรงมีเป้าหมายหลักเพื่อการผลิตสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทำให้การส่งเสริมการลดคาร์บอนนั้น ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนมากขึ้น ข้อขัดแย้งต่อแนวคิดการลดคาร์บอน ในกระบวนการผลิตทางการเกษตร ทำให้เกิดขยะขึ้นมากมาย ขยะทางการเกษตรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ย่อยสลายได้ อาทิ ฟางข้าว ผลไม้ที่ร่วงตก กิ่งก้าน ฯลฯ 2. ย่อยสลายไม่ได้ วัสดุพลาสติก เช่น ฟิล์ม เชือก เทปกาว ตาข่าย ที่เกษตรกรใช้เพื่อให้ดินชุ่มชื้นและป้องกันวัชพืช เป็นต้น ขยะหรือของเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะถูกกำจัดโดยการเผาหรือโดยวิธีการที่ไม่เหมาะสม ซึ่งไม่เพียงแต่จะสิ้นเปลืองทรัพยากรอันมีค่าเท่านั้น แต่ยังเพิ่มการปล่อยก๊าซคาร์บอน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลกอีกด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผักและผลไม้ที่มีลักษณะผิดรูป ไม่สวย กลายเป็นที่นิยม เรียกกันว่า "ผักผลไม้ขี้เหร่" ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคการตลาด บรรจุหีบห่อใหม่ กลายเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ขายในราคาต่ำ หรือ นำไปแปรรูปเป็นอาหารแปรรูปขายในตลาดต่อไป

จากสถิติ ขยะหรือของเหลือใช้ทางการเกษตรของไต้หวันในหนึ่งปีนั้น รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การประมง ปศุสัตว์ ตลาดค้าส่ง และการแปรรูปอาหาร แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ขยะ ถือเป็น ทรัพยากร ความพยายามที่จะบรรลุรูปแบบเศรษฐกิจขยะและมลพิษเป็นศูนย์ มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุก์ใช้การผลิตในภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ โลกกำลังเผชิญกับการสูญเสียทรัพยากรทางการเกษตรและการทำลายสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยา การเปลี่ยนของเสียทางการเกษตรให้เป็นวัสดุที่มีประโยชน์ การพัฒนา "เศรษฐกิจหมุนเวียน" กลายเป็นเป้าหมายของทุกประเทศ ไต้หวันในฐานะ สมาชิกโลก จำต้องพัฒนาการเกษตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน

ไต้หวัน:

ส่งเสริมการเกษตรหมุนเวียน

ในอดีต การนำขยะหรือของเหลือใช้ทางการเกษตรกลับมาใช้ใหม่ ส่วนใหญ่เป็นการใช้เศษพืชที่เหลือใช้ มาประยุกต์ใช้ในการก่อสร้าง การอบความร้อน การเลี้ยงปศุสัตว์ และการทำปุ๋ย ช่วงไม่กี่ปีนี้ การแปรรูปของเสียทางการเกษตร ได้ผนวกเทคนิคสมัยใหม่ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังกรณีตัวอย่างต่อไปนี้ โครงการ "University Social Responsibility Practice Programme" (หรือเรียกสั้นๆ ว่า โครงการ USR) เริ่มปี 2561 ยึดหลัก "การเชื่อมโยงท้องถิ่น" และ "การอบรมเพิ่มความรู้บุคลากร" มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในท้องถิ่น เน้นความต้องการของท้องถิ่น การดูแลช่วยเหลือจัดการปัญหา มีเป้าหมายหลัก 2 ประการ คือ 1. การบูรณาการทรัพยากรเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 2. ร่วมกับโรงเรียนระดับภูมิภาค ยกระดับการศึกษาในพื้นที่ เรียนรู้การอุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม เพิ่มศักยภาพและเอกลักษณ์ของชุมนม

เปลี่ยนขยะเป็นทอง

กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งคณะทำงาน ประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยและภูมิภาค เพื่อช่วยเหลือมหาวิทยาลัยในการดำเนินโครงการ USR ตัวอย่างเช่น Mizhi Community Development Association เขต Nanxi เมืองไถหนาน ที่ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ USR ของมหาวิทยาลัยTainan University of the Arts นำถุงเหลือใช้จากการครอบมะม่วงและมะเฟือง แช่น้ำจนยุ่ย จากนั้นใส่เปลือกมะม่วง ตีเข้าด้วยกันแล้วนำไปทำกระดาษ จะได้กระดาษที่มีกลิ่นหอมของมะม่วง ที่มีสีและความหนาแตกต่างกัน สามารถนำไปทำเป็นสินค้ากระดาษ หรือ ประยุกต์ทำเป็นจานหรือชามกระดาษ บรรลุเป้าหมายการเกษตรหมุนเวียน เพื่อประโยชน์ในหลายๆ ด้าน

ญี่ปุ่น:

ตะเกียบทาทามิกินได้

เนื่องจากการแข่งขันของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ทำให้ตลาดเสื่อทาทามิ สไตล์ญี่ปุ่นดั้งเดิมตายหายไป ปัจจุบันร้อยละ 80 ของเสื่อทาทามิที่ขายในญี่ปุ่นนำเข้าจากต่างประเทศ บ้านสไตล์ตะวันตกสไตล์เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่บ้านสไตล์ญี่ปุ่นลดน้อยลงเรื่อยๆ ความต้องการเสื่อทาทามิก็ลดลงเช่นกัน จำนวนเกษตรกรที่ปลูกหญ้าอิคุสะในเมืองคุมาโมโตะ ที่เคยมีมากถึง 10,400 คน ตอนนี้มีแค่ 500 คน (ตัวเลขสถิติพืชผลในปี 2558 ของกรมการป่าไม้และประมง) ในการนี้เอง คณะกรรมการทาทามิ เมือง Kumamoto จึงได้คิดค้นทำ ทาทามิ – ตะเกียบกินได้ ผลิตจากหญ้าอิคุสะในเมืองคุมาโมโตะ 100% ตะเกียบแต่ละอันทำด้วยมือของช่างฝีมือ นวดแป้งแล้วอบด้วยอุณหภูมิต่ำ กลายเป็นตะเกียบบิสกิตที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีใยอาหารสูงกว่าผักกาด 60 เท่า หลังจากใช้งานตะเกียบเสร็จ ยังสามารถกินเป็นบิสกิตได้อีกด้วย

ปาร์ตี้จานมหาสนุก

เพื่อลดการใช้พลาสติก เมื่อจัดกิจกรรมกลางแจ้งในพื้นที่ จะมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก กิจกรรมอาหารเป็นเรื่องที่พบบ่อย อาหารที่มักพบเจอ ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวผัด, ทาโกะยากิ ขนมดันโกะ โมจิห้าสี ข้าวปั้น ฯลฯ จัดวางในภาชนะพลาสติก ก่อให้เกิดขยะจำนวนมาก คุณ Marushige Seika ผู้ผลิตชาวญี่ปุ่น ใช้กุ้ง หัวหอม มันฝรั่งสีม่วง ปลาซาร์ดีน และส่วนผสมอื่น ๆ ในการผลิต จานชามกินได้ เป็นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจและลดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก

อังกฤษ:

PANGAIA นวัตกรรมวัสดุเชิงอนุรักษ์ สร้างสรรค์แฟชั่นที่เรียบง่าย

ระบบนิเวศของโลกอยู่ภายใต้ความกดดัน จากการผลิตพลาสติกจำนวนมาก และวิธีการกำจัดพลาสติก บริษัท PANGAIA สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีค่าจากขยะทางการเกษตร โดยใช้เส้นใยของผลไม้ ซึ่งหลังเก็บเกี่ยว ผลไม้จะถูกฝังกลบหรือเผาทิ้ง ทำลายระบบนิเวศและทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดินในระยะยาว ใช้วัสดุจากขยะทางการเกษตร อาทิ เส้นใยจากใบตอง ใบสับปะรด และไม้ไผ่ มาทำเป็นผ้านวัตกรรมใหม่ สีสันสดใส ลดการพึ่งพาฝ้ายและเส้นใยสังเคราะห์ในอุตสาหกรรมแฟชั่น

รองเท้าผ้าใบจากเปลือกองุ่น

การใช้เปลือกองุ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เปลือกองุ่นที่ใช้ในการผลิตไวน์ ในปีหนึ่งๆ อุตสาหกรรมการผลิตไวน์ของอิตาลีก่อให้เกิดขยะ 6.5 พันล้านลิตร เทคโนโลยีนี้ใช้กากของเหลือจากเปลือกองุ่นผสมรวมกับผักและโพลียูรีเทนน้ำ แปรรูปเป็นวัสดุชีวภาพที่คงทน ใช้เคลือบบนผ้าฝ้ายออร์แกนิค แทนการใช้หนัง กลายเป็นวัสดุทำจากวัสดุหมุนเวียนและรีไซเคิลได้ถึงร้อยละ 70 ส่วนพื้นยางรองเท้า ก็ผลิตจากขยะอุตสาหกรรมรีไซเคิล (สินค้าตัวอย่าง สินค้าต้นแบบ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง) สร้างผลิตภัณฑ์รองเท้าผ้าใบที่ทนทานและไม่ต้องล้างบ่อยๆ

พลาสติกทางเลือกจากธรรมชาติ

Gousto Meal Box Manufacturing ร่วมกับทีม Xampla พัฒนาฟิล์มจากโปรตีนถั่วที่ทำจากวัสดุธรรมชาติทั้งหมดและวัสดุที่รับประทานได้ ทางเลือกใหม่สำหรับพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ห่อบรรจุภัณฑ์ซุปผักของ Gousto ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องแกะพลาสติกหรือกระดาษห่อฟอยล์ทิ้ง สามารถใส่ในหม้อต้มต้มได้เลย เมื่อฟิล์มเจอความร้อนจะละลาย เป็นการลดการใช้พลาสติกโดยตรง ฟิลม์นี้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่กินได้ สกัดจากโปรตีนถั่วสามารถใช้ในอาหารจานด่วน ซีเรียล เครื่องดื่มทดแทนมื้ออาหาร ขนมแท่งให้พลังงาน และอาหารอื่น ๆ ฟิล์มนี้มีคุณลักษณะคล้ายพลาสติก กล่าวคือ ใช้รักษาและถนอมอาหาร แต่ไม่ก่อให้เกิดขยะ เฉกเช่น กระดาษห่อพลาสติกดั้งเดิม ฟิล์มใช้แล้วทิ้งที่กินได้นี้จะละลายในน้ำร้อน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยังย่อยสลายการเป็นปุ๋ยหมักได้ง่าย บรรจุภัณฑ์ทางเลือกใหม่นี้สามารถช่วยลดขยะพลาสติกได้ 17 ตันต่อปี (อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเป็นการผลิตเพื่อลูกค้าของ Gousto ในช่วงเวลาหนึ่ง เท่านั้น)

บทสรุป

Circular Agriculture เป็นระบบที่ยืดหยุ่น คำว่า Permaculture ไม่ได้เป็นเพียงสโลแกนอีกต่อไป พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ ลดขยะ การเปลี่ยนขยะทางการเกษตรให้เป็นทรัพยากร หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดขยะ พยายามนำกลับมาใช้ใหม่ การผลิตซ้ำ เป็นกุญแจหลักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดมลพิษ การบำบัดของเสียทางการเกษตรสอดคล้องกับแนวคิดการเกษตรที่ยั่งยืนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน