การจัดตั้งทีมเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อจัดการปัญหาการขาดแคลนเกษตรกรในชนบท
:::

การจัดตั้งทีมเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อจัดการปัญหาการขาดแคลนเกษตรกรในชนบท

Yun-Shan Huang(China Productivity Center Young Farmers Consulting Team)

เนื่องจากผลกระทบจากการค้าเสรีและการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ปัญหาเกษตรกรสูงวัยและปัญหาการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกษตรรุ่นใหม่ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน อาทิ เทคโนโลยีการผลิต ที่ดินเกษตรกรรม การขาดเงินทุน และกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อแก้ปัญหาแรงงานในชนบท การช่วยเหลือให้คำปรึกษาเกษตรกรรุ่นใหม่เป็นนโยบายหลักของรัฐบาลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยให้คำปรึกษาด้านนวัตกรรม การเพิ่มมูลค่าทางการเกษตร การฟื้นฟูกำลังแรงงานในชนบท โดยผนวกภาคอุตสาหกรรม รัฐบาล สถาบันการศึกษาและหน่วยวิจัย ให้ความช่วยเหลือตามความต้องการเกษตรกร การเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจ แนวคิดการประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ และมาตรการต่างๆ อาทิ การสร้างแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถทางการเกษตร หลักสูตรการผลิตและการตลาด การจัดตั้งฟาร์มสหกรณ์ จัดกลุ่มอุตสาหกรรมฟาร์ม และการบริหารจัดการเกษตร

เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานเกษตรกรในชนบท ตามข้อมูลของรัฐบาล คณะทำงานแรงงานเกษตรกรจัดตั้งขึ้นในปี 2560 ต่อมาในปี 2561 เริ่มมีการจัดหาแรงงานเกษตรกรผ่านสหกรณ์การเกษตร หรือ กลุ่ม NGO ในขณะเดียวกันได้ร่วมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่จัดตั้งทีมฟื้นฟูกำลังแรงงาน จากนั้นทีมเครื่องจักรกลการเกษตรก็ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อลดความต้องการกำลังคน และรับสมัครกำลังคนให้ตรงกับการใช้เครื่องจักร ในปี 2564 ด้วยความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญ ได้จัดตั้งคณะทำงานเกษตรรุ่นใหม่ที่ใช้เครื่องจักรกล อาศัยเครื่องมือการจัดการ CBIS ตรวจเช็คสินค้าคงคลัง สร้างธุรกิจนวัตกรรมใหม่ ฯลฯ ทำให้เกษตรกรรุ่นใหม่ได้แนวคิดการเกษตรอนาคต ทดลองทำ คิดทบทวนและปรับปรุงตามสถานการณ์อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังผนวกเข้ากับแพลตฟอร์มทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานรัฐบาล เพื่อการบริหารจัดการในภาพรวม

การเยี่ยมชมทีมเครื่องจักรกลการเกษตรในปี 2564 พบว่า การทำงานของทีมเครื่องจักรกลการเกษตรต้องปรับตามทำเลที่ตั้ง สภาพภูมิอากาศ ประเพณีวัฒนธรรม และนโยบายในท้องที่ ฯลฯ จากประสบการณ์การสังเกตของผู้เขียน สามารถแบ่งรูปแบบการทำงานได้ 3 วิธี ดังนี้

ทีมที่ทำกำไรให้กับองค์กรเป็นหลัก

รายได้หลักขององค์กรที่มาจาก งานฟาร์มเครื่องจักรกล อาทิเช่น สหกรณ์เกษตรกรรุ่นใหม่เมืองเถาหยวน สหกรณ์เกษตรกรเขต Zhongdu เมืองไถจง, สหกรณ์เกษตรกรเขต Fang Zhou เมืองเกาสุง, สหกรณ์เกษตรกรเขต Qingchu เมืองอี๋หลาน, สหกรณ์เกษตรการเมืองฮวาเหลียน และอื่นๆ เนื่องจากทีมเครื่องจักรกลการเกษตรสร้างรายได้หลัก ที่เน้นการเกษตรด้วยเครื่องกล โดยรวมการนำเสนอคุณค่า, การกำหนดกลุ่มลูกค้า คู่ค้า และกิจกรรม, ประเภทของกำไร, การคำนวณต้นทุน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมด้วย และต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งด้วย ยกตัวอย่างเช่น ทีมเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาแรงงานสูงวัยและปัญหาแรงงานไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของพื้นที่รกร้างว่างเปล่า เกษตรกรเก่าแก่บางคนที่เคยมีประสบการณ์นโยบาย “เกษตรกรที่เพาะปลูกจะมีที่ทำกิน” และนโยบาย “ปรับลดค่าเช่าที่ทำกินเหลือร้อยละ 37.5” ของรัฐบาลไต้หวันเมื่อหลายสิบปีก่อน จะไม่ยินดีที่จะยกที่ดินให้เกษตรกรรุ่นใหม่เพาะปลูก ยึดติดกับวิธีการทำฟาร์มแบบเดิมตายตัว ไม่วางใจที่ลองวิธีใหม่ๆ ผนวกกับลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และนโยบายในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน แนวทางการพัฒนาและแก้ปัญหาก็จะแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นการจัดตั้งทีมเพื่อแก้ไขในแต่ละพื้นที่จะมีความภาระกิจและตัวแปรเฉพาะที่แตกต่างกัน อาทิ การจัดตั้งทีมเพื่อปัญหาขาดแคลนแรงงาน ลดการใช้สารเคมี การเพาะปลูกร่วมกัน การนำเอาเทคโนโลยีและเครื่องจักรเข้าช่วย จะเพิ่มเอกลักษณ์และจุดเด่น นอกจากนี้ยังสามารถดึงดูดเกษตรกรท่านอื่นๆ ให้สนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น

2 ประเด็นหลักที่ควรพิจารณา คือ 1. การพัฒนาการเกษตรด้วยเครื่องจักรกล เนื่องจากรายได้หลักของธุรกิจ เกิดจาก ทีมการเกษตรด้วยเครื่องจักร ดังนั้นกำลังคนที่เพียงพอ, ความสามารถในการโยกย้ายปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์, เพิ่มคุณภาพและทักษะของพนักงาน, สร้างความภูมิใจและรักงานที่ทำของพนักงาน, เพิ่มความไว้วางใจให้กับลูกค้า เป็นประเด็นหลักที่ควรพิจารณา 2. เครื่องจักรและอุปกรณ์การเกษตร ต้องเหมาะสมกับทำเล ที่ตั้ง และพื้นที่การเกษตร ลูกค้าสามารถใช้งานได้ตามความต้องการของลูกค้าและเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด ความสมดุลของอัตราการใช้งานอุปกรณ์ทางการเกษตรกับความพึงพอใจของลูกค้า

ทีมที่ทำกำไรให้กับสาขาหรือกลุ่มกองใดกลุ่มกองหนึ่ง ในบริษัท

ทีมอยู่ภายใต้แผนกหรือสาขาในองค์กร รายได้ขององค์กรอาจมาจากหลายแผนก หลายสาขา ทีมเครื่องจักรกลการเกษตรอาจอยู่ภายใต้แผนกที่พัฒนาขึ้นใหม่หรือหน่วยกิจการเพื่อสังคม ยกตัวอย่างเช่น สหกรณ์เกษตรกรเขต Xianjin เมืองจังฮว่า, สหกรณ์เกษตกรเขต Jiapei เมืองเจียอี้, KK Orchard Co., Ltd., สหกรณ์ชาไต้หวัน เป็นต้น ในกรณีนี้ ทีมเครื่องจักรกลการเกษตรจักต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมดั้งเดิม (บรรยากาศ) ภายในองค์กร โดยพิจารณาเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์กรโดยรวม ก่อนกำหนดเป้​​าหมายการดำเนินงานและกลยุทธ์ของทีม

แม้ว่าอยู่ภายใต้องค์กร แต่ก็เหมือนกับธุรกิจทั่วไป ที่ต้องมีวิสัยทัศน์ เป้าหมาย แผนการพัฒนาของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตระหนักว่าการทำงานระหว่างทีมเครื่องจักรกลการเกษตรกับเกษตรกรไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเท่าที่ควร สามารถอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยี ช่องทางการตลาด หรือการรับซื้อสินค้าเกษตร ทำให้เกษตรกรเข้าใจและเห็นด้วยกับทีมมากยิ่งขึ้น หรือ ทีมหากต้องการทำประโยชน์ตอบแทนสังคม สามารถจับมือร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง ร่วมกันสร้างสรรค์ เพื่อผลลัพท์ในมุมกว้างและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

การบริหารจัดการทีมประเภทนี้ต้องให้ความสำคัญ 2 ประเด็นหลัก คือ 1. ไม่ละเมิดวิสัยทัศน์และเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร ในฐานะที่เป็นหน่วยงานขององค์กร วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงและทำการปรึกษาหารือก่อนการตัดสินใจใดๆ เพื่อไม่ให้ผิดจากนโยบายขององค์กร 2. สร้างระบบที่ครอบคลุมสมบรูณ์ โดยไม่ละเมิดหลักการหรือระบบการบริหารขององค์กร จัดตั้งระบบซึ่งรวมถึงวิธีรับคดี วิธีดำเนินการ และวิธีการเรียกเก็บเงิน เพื่อให้ทีมเครื่องจักรกลการเกษตรสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีรายรับสมดุลรายจ่าย

รับบทบาทเป็นแพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นทีมที่ไม่แสวงหาผลกำไร

เป้าหมายการพัฒนาของทีมประเภทนี้ไม่ใช่การแสวงหาผลกำไร แต่เน้นที่การรวมกำลังแรงงานของเกษตรกรในท้องถิ่น การฝึกอบรมให้ความรู้บุคคลกร ยกตัวอย่างเช่น สมาคมส่งเสริมการเกษตรเมืองไถหนาน ทีมงานนี้จัดตั้งขึ้นโดยเจ้าของธุรกิจ (เกษตรกร) เพื่อร่วมกันพัฒนาแรงงานฝีมือ จัดหาคนที่เหมาะสมสำหรับงาน และเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับผู้หางานด้วย

ในการบริหารจัดการทีมประเภทนี้ จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพคนที่ผ่านการฝึกอบรม จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมบ่อยครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าแรงงานคนที่มีฝีมือเพียงพอสำหรับงาน สร้างความพึงพอใจของลูกค้า

การขาดแคลนแรงงานเกษตรกรในพื้นที่ชนบท อาจส่งผลกระทบต่ออุปทานอาหารในอนาคต ดังนั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์อบรมแนะแนว อาศัยการจำลองการดำเนินธุรกิจ, ศึกษาการใช้งานเครื่องจักรในกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีมาตรฐานธุรกิจที่แตกต่างกัน, การวางแผนและการใช้อุปกรณ์เครื่องจักรตั้งแต่เริ่มจนใช้งานจริง, ให้บริการช่วยเหลือครบทุกขั้นตอนการเกษตร การฝึกอบรม และอื่นๆ ทีมงานจะชี้แนะและให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การตั้งวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ ไปจนถึงการจัดทำรายการงานที่จะต้องบรรลุในแต่ละเดือน และการคำนวณค่าใช้จ่ายตามแผน/ตามจริง เพื่อให้ทีมเกษตรเครื่องจักร ค่อยๆ ขับเคลื่อนไปสู่องค์กรธุรกิจอิสระ ซึ่งสามารถขยายขอบเขตการบริการรวมเข้ากับธุรกิจอื่นๆ ในอนาคต และได้รับความไว้วางใจจากเกษตรกร (หรือองค์กรเกษตร) เพื่อการพัฒนาองค์กรให้แข็งแกร่งต่อไป