การเกษตรมลพิษเป็นศูนย์
:::

การเกษตรมลพิษเป็นศูนย์

CHEN AN XI(China Productivity Center Young Farmers Consulting Team)

สภาพอากาศแปรปรวนส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเด็นการลดมลพิษได้รับความสนใจอีกครั้ง จากรายงานที่เผยแพร่โดย the Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 แสดงให้เห็นว่า ปัญหาน้ำท่วม ไฟไหม้ ฯลฯ จะยังคงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และจากรายงานสถานการณ์จำลองการปล่อยมลพิษ โลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสในอีก 20 ปีข้างหน้า และมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น รายงานชี้ให้เห็นว่า มนุษยชาติจำเป็นต้องลดมลพิษคาร์บอนไดออกไซด์อย่างจริงจัง 10 ปี จึงจะบรรลุเป้าหมายมลพิษเป็นศูนย์ในปี 2050 ถึงจะสามารถจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

ทุกประเทศทั่วโลกกำหนดแผนลดมลพิษ กรมส่งเสริมการเกษตรไต้หวันเสนอแผนและแนวทางการปฏิบัติ เกษตรมลพิษศูนย์, จัดตั้งสำนักงานภายใต้โครงการ การปรับตัวต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนและเป้าหมายมลพิษเป็นศูนย์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 สำนักงานนี้มีหน้าที่รับผิดชอบการประสานงาน วางแผนมาตรการการเกษตรภายใต้สภาพภูมิอากาศแปรปรวนและการเกษตรมลพิษศูนย์

ข้อมูลจาก รายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแห่งชาติ ประจำปี 2564 ของไต้หวัน ระบุว่า ในปี 2533 ไต้หวันปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas : GHG) 137,763 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ไม่รวมการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์) ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 287,060 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ไม่รวมการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์) หักปริมาณที่กำจัดทิ้ง 21,440 ตัน พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ปริมาณก๊าซสุทธิคือ 265,621 พันตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ลดลงจากปี 2561 ร้อยละ 3.6 และเมื่อเทียบกับปี 2548 ลดลงร้อยละ 1.1

ดังข้อมูลในรูปต่อไปนี้:

กองพลังงานเป็นหน่วยงานราชการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในไต้หวัน ในปี 2562 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ไม่รวม LULUCF) ร้อยละ 90.80% ของจำนวนทั้งหมด รองลงมาคือ กองกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 7.10 และภาคการเกษตร ร้อยละ 1.15 กรมจัดการขยะ ร้อยละ 0.94 แนวโน้มการปล่อยก๊าชเรือนกระจกของแต่ละหน่วยงานของไต้หวัน ตั้งแต่ปี 2533 ถึง 2562 ดังรูปด้านล่าง:

ประเภทของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากภาคเกษตร ได้แก่ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนน้อย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2562 คิดเป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 1.15 ของการปล่อยทั้งหมดในไต้หวัน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปี 2533 กล่าวคือลดลง 34.63% อัตราเฉลี่ยต่อปี ร้อยละ 1.46 ดังแสดงในรูปด้านล่าง:

สังเกตได้ว่า มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2533 สาเหตุหลักมีหลายปัจจัย อาทิเช่น การที่ไต้หวันเข้าสู่ WTO การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการค้า ส่งผลกระทบต่อการผลิตการเพาะปลูกในประเทศ ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกและปศุสัตว์ลดลง นอกจากนี้การประชาสัมพันธ์เรื่องการให้ปุ๋ยในสัดส่วนที่เหมาะสม ก็มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในปี 2562 ไต้หวันปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวม 287,060 พันตัน โดยภาคเกษตร ร้อยละ 1.15 ส่วนใหญ่มาจากดินเกษตร การปลูกข้าว จากเครื่องในของสัตว์ หากนับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดการเผาไหม้ เช่น เครื่องจักรกลการเกษตร เรือประมง โรงเรือนทำสวน ฯลฯ คิดเป็นร้อยละ 0.58 เพราะฉะนั้นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทางการเกษตร ทั้งหมดคือ ร้อยละ 1.73 ทั้งนี้ป่าดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 97.6 พันตันต่อ 1 เฮกตาร์ มากกว่าปริมาณที่ถูกปล่อยออกมา (ปล่อยออกมา 21,440 พันตัน)

อย่างไรก็ตาม อาจมีบางส่วนที่ไม่ได้นับรวมด้วย ตัวอย่างเช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยที่ไต้หวันนำเข้าและใช้เป็นประจำ การผลิต การขนส่ง การใช้งานก็ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากเช่นกัน

จากข้อมูลของสำนักตรวจสอบและกักกันสัตว์และพืช (the Bureau of Animal and Plant Health Inspection) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) พบว่า การใช้สารกำจัดศัตรูพืชทั่วโลกในปี 2562 อยู่ที่ 4.2 ล้านตัน การใช้สารกำจัดศัตรูพืชของไต้หวันอยู่ที่ 8,983 ตัน คิดเป็นร้อยละ 2 ของทั้งโลก ตามสถิติจากสำนักงานคณะกรรมการเกษตรและอาหาร ในปี 2562 ไต้หวันใช้ปุ๋ยเคมี 840,000 ตัน มากกว่าสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอังกฤษ และจากการวิจัยของสถาบันวิจัยการเกษตร มีการใช้ปุ๋ยเคมีในพื้นที่เกษตรกรรม 1.132 ตันต่อเฮกตาร์ ซึ่งมากกว่าจีน 2.2 เท่า, มากกว่าอังกฤษ 4.6 เท่า, มากกว่าญี่ปุ่น 5.1 เท่า, มากกว่าอินเดีย 6.7 เท่า

เริ่มปี 2560 กรมส่งเสริมการเกษตรไต้หวันมีนโยบาย ลดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชลงครึ่งหนึ่ง ภายใน 10 ปี ตามสถิติของสำนักป้องกันและตรวจสอบปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ทั้งหมดไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชในปี 2562 อยู่ที่ 8,983 ตัน ลดลงเพียงร้อยละ 1.7 การใช้ยาฆ่าแมลงที่เป็นพิษสูง ลดลงร้อยละ 50 อย่างไรก็ตาม ด้วยนโยบายส่งเสริมการใช้ปุ๋ยในสัดส่วนที่เหมาะสมของรัฐบาล สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงเกือบร้อยละ 20 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการขนส่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การแปรรูปอาหาร เศษอาหาร และร้อยละ 66 ของอาหารที่นำเข้าจากต่างประเทศ ไม่ได้รวมไว้ในการปล่อยมลพิษของภาคเกษตร แต่จะนับรวมในส่วนอื่นๆ หรือในประเทศอื่นๆ

การเกษตรจำเป็นต้องคงไว้ซึ่งกำลังการผลิตและความปลอดภัยของอาหาร การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงไม่สามารถเป็นศูนย์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่แนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทางการเกษตรยังคงต้องพยายามอย่างต่อเนื่องต่อไป ดังนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรกที่จำเป็นต้องดำเนินการ คือการดักจับและกักเก็บคาร์บอนโดยยึดตามสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ได้ปริมาณมาตรฐานแล้ว เพิ่มอ่างเก็บคาร์บอนเพื่อรองรับคาร์บอนเครดิต หลักการพื้นฐานคือการลงทะเบียน สร้างบรรทัดฐานกลไกในการวัด การรายงานและการตรวจสอบ หลังจากได้รับคาร์บอนเครดิต จึงจะดำเนินการซื้อขายคาร์บอนได้

หากเกษตรกรเข้าร่วมนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่กระทบต่อรายได้เกษตรกร จะมีการส่งเสริมให้ปลูกป่าลดคาร์บอน กรมส่งเสริมการเกษตรไต้หวันจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มจากการขายคาร์บอน ส่งเสริมให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์น้อย จะมีการจัดทำรายการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางการเกษตร มีการทำฉลากแสดงคาร์บอนฟุตพริ้นท์บนผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนไปถึงมือผู้บริโภค

ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรไต้หวันกำลังค้นคว้าวิจัยค่าของการกักเก็บคาร์ในดินภายใต้แนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในอนาคต การลดปริมาณคาร์บอนของเกษตรกรจะถูกคำนวณอย่างชัดเจนและขายให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการ ในราคาที่สมเหตุสมผล สร้างรายได้ให้เกษตรกรมีเงินใช้ลงทุนทำฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน และยังเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับการเกษตร ทำให้ผู้คนตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แนวทางการหลักในการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ในอุตสาหกรรมการเกษตร

1. เผยแพร่ข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนทางการเกษตรอย่างละเอียดชัดเจน สร้างแบบจำลองการเกษตร การประมง และการปศุสัตว์ที่มีคาร์บอนต่ำ เพื่อบรรลุการเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพิ่มพื้นที่กักเก็บคาร์บอน ปลูกป่า ดูแลรักษาป่า เน้นใช้วัสดุในประเทศ เพิ่มพื้นที่อ่างเก็บคาร์บอนใต้มหาสมุทรและพื้นที่ชุ่มน้ำ ส่งเสริมวิธีการเกษตรคาร์บอนเป็นลบ เน้นย้ำประโยชน์ของการกักเก็บคาร์บอน

3. การใช้ของเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นพลังงาน ทรัพยากร วัสดุ และการนำกลับมาใช้ใหม่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ส่งเสริมการสาธิตหรือนำเสนอแนวทางการนำกลับมาใช้ใหม่ให้กับผู้ประกอบการต่างๆ เสริมสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพในการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลทางการเกษตร

4. ส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านเกษตรกรรม/ประมงให้มีพลังงานใช้อย่างเพียงพอด้วยตัวเอง ส่งเสริมการกำหนดราคาคาร์บอนและระบบการซื้อขายคาร์บอนในภาคเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการเงินสีเขียวเพื่อการเกษตรและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การผลิตไฟฟ้าที่พอเพียงต่อการใช้งาน ภายใต้หลักการ ผลิตเองใช้เอง