องค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตร
I. บทนำ
ไต้หวันเป็นสังคมเกษตรกรรมนานหลายศตวรรษ หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองผลผลิตทางการเกษตรลดน้อยมาก “การเพิ่มผลผลิตเกษตรกรรม” กลายเป็นนโยบายหลัก การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมทำให้แรงงานเกษตรย้ายไปทำงานด้านอุตสาหกรรม แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น สังคมเกษตรกลับหยุดชะงัก เมื่อสังคมพัฒนาก้าวหน้าขึ้น การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจึงเป็นหัวข้อสำคัญในการพัฒนาการเกษตร นอกจากการปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตรแล้ว ยังจำเป็นต้องพยายามดึงดูดให้เกษตรกรรุ่นใหม่เข้าร่วมเพื่อเสริมแรงงานภาคเกษตร พร้อมทั้งยกระดับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตกรรมและการตลาดด้วยบรรจุภัณฑ์ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
II กุญแจสำคัญในการพลิกโฉมสินค้าเกษตร
สินค้าเกษตรกลายเป็นผลิตภัณฑ์ โดยผ่านกระบวนการสร้างแบรนด์ ตั้งชื่อ บรรจุภัณฑ์ ตั้งราคา และการกำหนดมาตรฐานจากสินค้าที่ยากจะวัดหน่วย กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณคงที่และได้มาตรฐาน กุญแจสำคัญในการกำหนดราคาขายอยู่ที่บรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์คือการออกแบบหีบห่อ บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบดี สามารถขายและจัดส่งถึงมือผู้บริโภคได้อย่างปลอดภัย และยังสามารถเพิ่มมูลค่าการรับรู้ของผู้บริโภค
ในยุคข้อมูลข่าวสาร การขายสินค้าเกษตรไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ร้านค้าอีกต่อไป การขายผ่านอินเทอร์เน็ตและร้านค้า E-Commerce ที่แพร่หลาย ทำให้การแข่งขันรุนแรงขึ้น ผู้บริโภคในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าเพราะแรงจูงใจมากขึ้น สินค้าโภคภัณฑ์ที่ถูกจัดแสดงบนชั้นวางของซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านสะดวกซื้อ โดยปราศจากพนักงานที่เอาใจใส่ในการแนะนำหรืออธิบาย ผู้บริโภคจำต้องพัฒนานิสัยในการอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นบรรจุภัณฑ์ จึงทำหน้าที่เป็นพนักงานขายเงียบๆ ทำหน้าที่ดึงดูดและโน้มน้าวผู้บริโภคให้ซื้อสินค้า บรรจุภัณฑ์จึงได้รับการขนานนามให้เป็น P ที่ห้าในด้านการตลาด
III หน้าที่และวัตถุประสงค์ของบรรจุภัณฑ์
หน้าที่พื้นฐานของบรรจุภัณฑ์ คือ ปกป้องผลิตภัณฑ์ แนะนำผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภค ดึงดูดความสนใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า ทำเป้ายอดขาย ทำให้สินค้าเป็นที่ยอมรับในตลาด ก่อนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จำเป็นต้องผ่านการวิเคราะห์ กำหนดตำแหน่ง และวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่ค่อนข้างซับซ้อนแต่จำเป็น การสื่อสารและพิจารณาแนวทางอย่างรอบคอบมีส่วนสำคัญ วัตถุประสงค์ของบรรจุภัณฑ์คือการแนะนำแบรนด์ผ่านการออกแบบและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภค ในมุมมองของผู้บริโภค คนส่วนใหญ่ต้องการประหยัดเวลาในเลือกซื้อ และเลือกสินค้าจากชั้นวางสินค้า ตามกฎของ "60 และ 3" หมายเลข 60 หมายถึงความยาวของแขนของผู้บริโภค นั่นคือระยะที่ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่าย จากการศึกษาพบว่า ยิ่งห่าง การมองเห็นก็จะยิ่งเบลอมากขึ้นเท่านั้น หมายเลข 3 หมายถึงจำนวนวินาทีสูงสุดที่ผู้บริโภคใช้ในการดูผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ ภายใต้กฎพื้นฐานนี้ คือ การดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคโดยใช้บรรจุภัณฑ์ เหมาะสมที่สุด
IV. ข้อควรระวังก่อนการออกแบบบรรจุภัณฑ์:
ค้นหาลักษณะพิเศษและโทนสีของผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าเป้าหมาย กำหนดแนวคิดและคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ ความถี่ในการสื่อสารกับลูกค้าเป้าหมายว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ และสามารถสร้างความประทับใจให้ผู้บริโภคได้หรือไม่ หลังจากตัดสินใจเลือกบรรจุภัณฑ์แล้ว จำเป็นต้องทำการทดสอบบนชั้นวาง เพื่อทดสอบว่าท่ามกลางผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ผลิตภัณฑ์ได้รับความสนใจหรือไม่ และทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า นี่คือผลิตภัณฑ์ที่เขาต้องการได้หรือไม่
V. องค์ประกอบดึงดูดสายตาของบรรจุภัณฑ์:
(1) การสร้างแบรนด์:
จุดประสงค์ของการสร้างแบรนด์ คือ เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจผลิตภัณฑ์ กำหนดรูปร่างและสร้างภาพลักษณ์พิเศษในใจผู้บริโภค โน้มน้าวให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ
(2) การตั้งชื่อ:
ชื่อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมจะช่วยสร้างความประทับใจให้ผู้บริโภคและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาด การตั้งชื่อสามารถทำตามหลักการเหล่านี้: จำง่าย ง่ายต่อการสื่อสาร เชื่อมโยงง่าย กระชับ ฯลฯ การตั้งชื่ออาจขึ้นอยู่กับลักษณะหรือสถานที่กำเนิดของผลิตภัณฑ์ หรืออาจเป็นผลจากความคิดสร้างสรรค์การเล่นคำพ้องเสียง ตัวอย่างเช่น สับปะรดน้ำหอมหรืออินทผลัมน้ำผึ้ง Yanchao (สื่อความหมายอินทผลัมหวานดุจน้ำผิ้ง และผลิตที่Yanchao) ช่วยให้ผู้บริโภคเชื่อมโยงสินค้า คุณลักษณะ และแหล่งผลิต เสริมสร้างความประทับใจ การออกแบบตัวอักษรของชื่อสินค้า มักจะใหญ่และเด่นชัดที่สุด การนำเสนอด้วยภาพบนบรรจุภัณฑ์ต้องสอดคล้องกับสไตล์และอารมณ์ของแบรนด์ สามารถดึงดูดความสนใจของลูกค้าทำให้ลูกค้าจำผลิตภัณธ์ได้ สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์
(3) สี:
การออกแบบสีของบรรจุภัณฑ์จำเป็นต้องผนวกคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์และรสชาติ คัดเลือกสีที่เหมาะสมกับประสบการณ์และความต้องการของตลาด ตัวอย่างเช่น กล้วย/เหลือง ~ หวาน กลมกล่อม สดใส สุขภาพดี และคิดบวก สีเขียว/อาหาร ส่วนผสมจากธรรมชาติ ดีต่อสุขภาพออร์แกนิก เน้นถึงความสดและสดชื่น
(4) รูปภาพ :
มุ่งเน้นไปที่การสร้างภาพของแบรนด์ สื่อถึงคุณลักษณ์พิเศษของแบรนด์ กระตุ้นการเชื่อมโยง เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ ตัวอย่างเช่น รูปที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร วัตถุดิบหรือเนื้อหาผลิตภัณฑ์ รูปที่วาดจากสัญลักษณ์ของแหล่งกำเนิด อาทิเช่น สัญลักษณ์ดั้งเดิมของชนพื้นเมือง สัญลักษณ์ของชื่อสถานที่ที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น
(5) ข้อความ:
ข้อความแนะนำผลิตภัณฑ์ต้องชัดเจนและถูกต้องดึงดูดผู้อ่าน ข้อความบนบรรจุภัณฑ์ควรมีเฉพาะข้อมูลโดยสุจริตเท่านั้น (หมายเหตุ 1) ได้แก่ อายุการเก็บรักษา คุณประโยชน์ทางโภชนาการ น้ำหนัก เครื่องหมายรับรองที่ได้รับ หมายเลขใบรับรอง สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ ตัวอักษรต้องสูง 2 มม. หรือมากกว่า (หมายเหตุ 2) พิมพ์ชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อข้อความถึงผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงอุปสรรคด้านภาษา อาทิเช่น ข้อห้ามเกี่ยวกับส่วนผสมในอาหารอิสลาม คำอธิบายบางอย่างต้องทำเป็นสองภาษาขึ้นไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารและการขายในวงกว้าง
(6) รูปภาพและข้อความ:
ผนวกข้อความและภาพประกอบเข้าด้วยกัน อาทิเช่น การสาธิตการใช้งาน คำแนะนำในการใช้งาน ฯลฯ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจผลิตภัณฑ์ง่ายและสะดวกขึ้น
(7) ระบบตรวจสอบย้อนกลับ
มาตรา 13 ของ "มาตรการการรับรองผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ตรวจสอบย้อนกลับได้" กำหนดว่าสินค้าเกษตรที่ผ่านการรับรองผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ ควรมีการพิมพ์ข้อมูลและทำเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์ด้วยแบบอักษรในขนาดที่กำหนด (หมายเหตุ 3)
VI. บรรจุภัณฑ์สินค้าเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่
วาดตัวการ์ตูนรูปถั่วลิสงที่น่ารักสนุกสนาน ดึงดูดลูกค้าวัยหนุ่มสาว
ดีไซน์มินิมอลแสดงถึงการค้าที่เป็นธรรมของเกษตรกรรายย่อย
นำเสนอพืชผลในฟาร์มโดยเน้นที่ลักษณะของผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
เครื่องหมายการค้าของแบรนด์ที่ตรงกับคุณลักษณะของสินค้า
บทสรุป:
นอกจากการสังเกตและออกแบบตามลักษณะของสินค้าเกษตรแล้ว การเทียบเคียงสินค้าที่คล้ายคลึงกันในท้องตลาดจะสามารถสร้างความแตกต่างได้ หลักการ คือ การนำเสนอเนื้อหาและค่านิยมหลักของแบรนด์ แสดงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์บนบรรจุภัณฑ์อย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้บริโภคยินดีชำระเงิน