การศึกษาด้านอาหารจากฟาร์มสู่โรงเรียนของญี่ปุ่น: สี่ขั้นตอนการปลูกฝังความรู้เกี่ยวกับการทำอาหารและการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
Jenny Fan(China Productivity Center Agriculture Management Department)
ไม่ว่าจะคำนึงด้านกลยุทธ์หรือประสบการณ์ ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้บุกเบิกการนำเข้าอาหารในเอเชีย มีหลักสูตรการศึกษาด้านอาหาร เนื่องด้วยสภาพภูมิอากาศของญี่ปุ่นและความท้าทายด้านการค้าและเศรษฐกิจ มีความคล้ายคลึงกับไต้หวัน จึงควรค่าแก่การศึกษาลอกเลียนแบบ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากการค้าโลกาภิวัตน์และการบูรณาการเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เพื่อความปลอดภัยของคุณภาพอาหารและเพื่อเพิ่มอายุขัยของประชาชน ญี่ปุ่นประกาศใช้กฎหมายพื้นฐานว่าด้วยการศึกษาด้านอาหารในปี 2548 กำหนดให้มีการศึกษาด้านอาหารในทุกกลุ่มอายุ เพื่อส่งเสริมและพัฒนานิสัยการกินเพื่อสุขภาพ การส่งเสริมวัฒนธรรมการบริโภคอาหารดั้งเดิม การส่งเสริมให้ใช้ผลผลิตในท้องถิ่น การเพิ่มความต้องการซื้อสินค้าเกษตรที่ผลิตในประเทศ
ในช่วงไม่กี่ปีนี้ ไต้หวันประสบปัญหาการจับกลุ่มรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค การเปิดเสรีการค้า การปรับตัวของราคาอาหารและวัตถุดิบที่สูงขึ้น และผู้บริโภคให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น ดังนั้นการส่งเสริมการศึกษาด้านอาหารจะเพิ่มความต้องการซื้อสินค้าเกษตรในประเทศ, ช่วยกำหนดราคาผลิตผลทางการเกษตรที่เหมาะสม, และยังช่วยสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรในประเทศ เพื่อยกระดับความปลอดภัยของอาหารในประเทศ ญี่ปุ่นกำหนดยุทธศาสตร์และแผนพื้นฐานการศึกษาอาหาร ถือเป็นตัวอย่างที่ดีให้ไต้หวันได้ศึกษา การส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการเกษตรปรับเปลี่ยนและพัฒนาการขึ้น ดังตัวอย่าง หน่วยงานของรัฐบาลและโรงเรียนประถมศึกษาในเมือง Okayama ที่มีการให้ความรู้การศึกษาด้านอาหาร
การบูรณาการระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ในช่วง 10 ปี (พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2558) สำนักงานคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาด้านอาหารของญี่ปุ่น โดยอาศัยความร่วมมือข้ามสายงานระหว่างกระทรวงการเกษตร ป่าไม้และประมง, กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ, กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สำนักงานคณะกรรมการความปลอดภัยอาหาร, และสำนักงานผู้บริโภค แม้ว่าปัจจุบันหน่วยงานรับผิดชอบด้านการศึกษาอาหารของญี่ปุ่นจะย้ายไปสังกัดกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงในปี 2558 แล้วก็ตาม แต่กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงร่วมกันส่งเสริมการศึกษาด้านอาหาร โดยอิงจากความร่วมมือในอดีต นอกจากนี้ รัฐบาลกลางของญี่ปุ่นยังได้กำหนดกฎหมายพื้นฐานระดับชาติ ว่าด้วยการศึกษาด้านอาหาร และมีการอัพเดทโครงการส่งเสริมการศึกษาด้านอาหารทุก ๆ 5 ปี รัฐบาลท้องถิ่นในระดับจังหวัดและเทศบาลก็มีโครงการส่งเสริมการศึกษาด้านอาหารในพื้นที่เช่นกัน
การส่งเสริมในปัจจุบัน คือ แต่ละหน่วยงานของรัฐบาลท้องถิ่นรับผิดชอบจัดกิจกรรมส่งเสริม ตั้งเป้าหมาย และส่งเสริมการศึกษาอาหารของตน ทั้งนี้หน่วยงานด้านการเกษตรและการศึกษา ก็มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาด้านอาหารของตนเองเช่นกัน โดยจะแลกเปลี่ยนข้อมูลก็ต่อเมื่อจำเป็น
สำนักงานการเกษตรในแต่ละท้องถิ่นอยู่ภายใต้กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง มีหน้าที่กำกับดูแลหน่วยงานในท้องถิ่น รับผิดชอบส่งเสริมการศึกษาอาหารเพื่อสุขภาพ หน่วยงานการเกษตรและการศึกษา จะรายงานผลโดยตรงต่อส่วนกลาง, กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง และกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ดังรูปที่ 1)
รูปที่ 1 กลไกการรายงานผลการกำกับดูแลการศึกษาอาหารของญี่ปุ่นระหว่างส่วนกลาง และท้องถิ่น
การส่งเสริมโดยรัฐบาลท้องถิ่น
ปัจจุบันเทศบาลเมือง Okayama ไม่มีหน่วยงานที่อุทิศตนเพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านอาหารโดยตรง เป็นการดำเนินการร่วมกันของสำนักงานสุขภาพและสวัสดิการภายใต้สำนักสวัสดิการสังคมและสาธารณสุข, คณะกรรมการด้านการศึกษา, และสำนักงานเกษตร ป่าไม้ และประมง, หน่วยงานภาครัฐเหล่านี้ ล้วนมีเป้าหมายและวาระการส่งเสริมการศึกษาด้านอาหารของตนเอง โดยสำนักงานสุขภาพและสวัสดิการ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางติดต่อและบูรณาการทรัพยากรทั้งหมด จากรายงานผลการเดินทางไปทัศนศึกษาดูงานต่างประเทศของคณะกรรมการสภาการเกษตรภายใต้สภาบริหาร ในปี 2017 พบว่า โครงการศึกษาอาหารของเมือง Okayama ดังกล่าว เน้นส่งเสริมให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในประเทศ (หรือผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น) เป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหารกลางวันให้กับโรงเรียนในพื้นที่ เป็นการรณรงค์ให้ใช้ผลิตผลทางการเกษตรในเมือง Okayama
สำหรับ "สัดส่วนของการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในประเทศ (หรือในท้องถิ่น) ทำอาหารกลางวันให้กับโรงเรียนในพื้นที่ สัดส่วนของโรงเรียนในเมือง Okayama คือ ร้อยละ 40 เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตทางการเกษตรใน Okayama ทำให้มีอัตราส่วนสูงกว่าที่รัฐบาลกำหนด รัฐบาลกำหนดไว้ที่ ร้อยละ 30 อย่างไรก็ตาม ยังคงต่ำกว่าร้อยละ 50 ที่เมือง Okayama กำหนดไว้ เพื่อเพิ่มการรับรู้และความเข้าใจของประชาชน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในเมือง Okayama เทศบาลเมืองจะทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกๆ สองปี โดยทำการส่งแบบสอบถาม จำนวน 10,000 ฉบับไปยังประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดี วัดจากการส่งแบบสอบถามคืน ซึ่งสูงถึง 5,500 ฉบับ
การส่งเสริมโดยสมาคมต่างๆ
หน้าที่หลักของ "สมาคมอาหารกลางวันในโรงเรียน" ของญี่ปุ่น คือ การจัดหาอาหารและพิจารณาความสะอาดปลอดภัยของวัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหารกลางวันในโรงเรียนของรัฐ ปัจจุบัน วัตถุดิบในการทำอาหารกลางวันของโรงเรียนส่วนใหญ่ รับผิดชอบโดยสมาคมอาหารกลางวันระดับเมือง อย่างไรก็ตาม แนวทางปฏิบัติของสมาคมอาหารกลางวันของโรงเรียนในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น สมาคมอาหารกลางวันของเมือง Okayama ให้ความสำคัญกับการจัดการซื้อและกระจายผลิตภัณฑ์อาหารกลางวันไปยังโรงเรียนต่างๆ และ หากทางโรงเรียนมีความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับอาหารกลางวันสามารถแจ้งโดยตรงต่อคณะกรรมการการศึกษาระดับเมือง the prefecture-level board of education (ต่อไปนี้ เรียกว่า คณะกรรมการการศึกษา the Board of Education) กล่าวคือ ไม่ต้องแจ้งต่อสมาคมอาหารกลางวัน
ยกตัวอย่าง กระบวนการขั้นตอน การแจกจ่ายวัตถุดิบในการทำอาหารกลางวันในโรงเรียนของรัฐ (ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย) ของสมาคมอาหารกลางวันโรงเรียนเมือง Okayama ดังนี้: กลุ่มผู้ผลิต (เช่น สหกรณ์การเกษตรของญี่ปุ่น เป็นต้น) →ซื้อวัตถุดิบทำอาหารโดยสมาคมอาหารกลางวันของโรงเรียนในแต่ละเมือง → แปรรูปอาหารโดยโรงงานแปรรูปที่ได้รับมาตรฐานจากรัฐบาล → นำวัตถุดิบปรุงเป็นอาหารกลางให้กับนักเรียนนักศึกษาในโรงเรียน ในอดีตรัฐบาลกลางให้เงินอุดหนุน ค่าอาหารกลางวันของโรงเรียนต่างๆ แก่คณะกรรมการการศึกษา the Board of Education จากนั้น จึงโอนความรับผิดชอบในการบริหารจัดการเงินอุดหนุนไปยังสมาคมอาหารกลางวันของโรงเรียนในเมืองต่าง ๆ โดยมีการทำสัญญาข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการการศึกษา, สมาคมอาหารกลางวันของโรงเรียน, และโรงงานแปรรูปอาหารในพื้นที่
แหล่งที่มาของอาหารจานหลัก นม และวัตถุดิบอื่นๆ ในการทำอาหารกลางวันของโรงเรียนรัฐในเมือง Okayama จัดหาโดยสมาคมอาหารกลางวันของโรงเรียนประจำเมือง ผักและส่วนผสมอื่นๆ สามารถซื้อแยกต่างหาก นอกจากนี้ โรงเรียนเทศบาลยังมีอาหารกลางวันของโรงเรียนระดับเทศบาลด้วย ดังนั้น การจัดการและการขายอาหารกลางวันในโรงเรียนเทศบาลบางแห่ง จะจัดการโดยสมาคมอาหารกลางวันของโรงเรียนในเมืองต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เมือง Okayama และเมือง Kurashiki มีการประกวดราคาของผู้ผลิตและผู้ขายอาหารแปรรูป ปัจจุบันสมาคมอาหารกลางวันของโรงเรียนเป็นมูลนิธิเอกชนที่ไม่มีเงินสนับสนุนจากรัฐบาล พวกเขาต้องแบกรับผลกำไรขาดทุนเอง ดังนั้น หน้าที่หลักที่แท้จริงของสมาคมอาหารกลางวันของโรงเรียน คือ การจัดหาวัตถุดิบอาหารกลางวันของโรงเรียนและขายให้กับโรงเรียน
4 ขั้นตอนของการวัดมาตรฐานการเรียนรู้
ตั้งแต่เริ่มการศึกษาด้านอาหารในไต้หวัน กิจกรรมส่วนใหญ่ อยู่ในรูปแบบของแคมเปญ การปรับปรุง และการสร้างการรับรู้ ผ่านการวิเคราะห์กลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เราขอแนะนำให้อ้างอิงนโยบายและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสูงสุด นอกจากนี้ เรายังแนะนำให้เสริมสร้างกระบวนการให้คำปรึกษา, มาตรฐานสถานที่ศึกษาด้านอาหาร, การพัฒนาเนื้อหาการฝึกอบรมบุคลากร, และสื่อการสอน เช่น แผนงานและรูปแบบต่างๆของสื่อการสอน สิ่งเหล่านี้จะทำหน้าที่ในการส่งเสริมและนำไปสู่การจัดตั้งแพลตฟอร์มข้อมูล นอกจากนี้ เราควรพัฒนาทรัพยากรและข้อมูลที่เกี่ยวข้องบนแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ผู้สนใจและผู้ปฏิบัติซึ่งมีภูมิหลังแตกต่างกัน สามารถเข้าใจและพัฒนาขอบเขตเนื้อหาการศึกษาเกษตรอาหารต่อไป
อาหารกลางวันของโรงเรียนต้องใช้วัตถุดิบที่หลากหลาย จัดซื้อโดยสมาคมอาหารกลางวันของโรงเรียนประจำเมือง การตั้งกลุ่มผู้ผลิต (เช่นกลุ่ม JA) และผู้ขายอาหารแปรรูป สมาคมทำหน้าที่รับรองความปลอดภัยของส่วนผสมและวัตถุดิบในระหว่างการผลิตและการจัดจำหน่าย
ขั้นตอนที่ 1: สถานที่ให้คำปรึกษา
สามารถเปรียบเทียบกับเกณฑ์การรับรองสถานที่ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันของไต้หวัน ปรับประยุกต์เป็นสถานที่ให้คำปรึกษาการศึกษาด้านอาหารและเกษตร โดยการทำให้เป็นระบบ สะดวกบริหารจัดการ ใช้พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น เราแนะนำให้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบฟาร์มการเกษตรท่องเที่ยว การศึกษาสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่น เพื่อสร้างกฎและเงื่อนไขสำหรับการวางแผนสถานที่ให้การศึกษาด้านอาหารและการเกษตร
ขั้นตอนที่ 2: การฝึกอบรมทักษะบุคลากร
จากการรวบรวมความคิดเห็นขององค์กรหน่วยงานต่างๆ โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอาหารและการเกษตรในไต้หวัน พบว่า การส่งเสริมและอบรมให้ความรู้ เพิ่มขีดความสามารถบุคคลากร และการรวบรวมเนื้อหาการสอนที่ครบถ้วนถูกต้องเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุดในปัจจุบัน โดยให้ครูอาจารย์ นักโภชนาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรและอาหาร ร่วมกันออกแบบการเรียนการสอนร่วมกันของโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นำเสนอความรู้และทักษะที่ถูกต้อง สะดวกประยุกต์ในชีวิตประจำวันผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น ช่วยให้ผู้บริโภครับทราบและเข้าใจถึงวัตถุดิบที่มาของอาหาร ช่วยลดความวิตกกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหาร เชื่อมโยงเกษตรกรกับผู้บริโภคและยกระดับการยอมรับสินค้าเกษตรไต้หวัน
ในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารในไต้หวันจะต้องผ่านได้รับโปรแกรมการฝึกอบรมเกี่ยวกับโภชนาการ เช่น การสอบทักษะด้านอาหารและการทำอาหารพร้อมหลักสูตรที่ประกอบด้วยเนื้อหาด้านโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ โปรแกรมการฝึกอบรมภาคปฏิบัติสำหรับผู้ให้บริการดูแลเด็กเล็ก อบรมความรู้ด้านโภชนาการครบ 5 หมู่และดีต่อสุขภาพและปรุงอาหารสำหรับเด็กเล็กข้อบังคับว่าด้วยสุขอนามัยผลิตภัณฑ์อาหาร ใบประกอบอาชีพกุ๊กทำอาหารต้องเข้ารับการอบรมด้านความปลอดภัย 8 ชั่วโมงต่อปี(รวมถึงการเรียนปรุงอาหารและโภชนาการอาหาร) ส่วนใบรับรองวิทยากรเมล็ดพันธุ์ต้องผ่านการการศึกษาด้านอาหารเมล็ดพันธุ์การเพาะปลูกในอนาคตบุคลากรด้านการศึกษาด้านเกษตรอาหารจะกำหนดระเบียบข้อกำหนดที่ชัดเจน เพื่อการบูรณาการร่วมกันและเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียทรัพยากรในการดำเนินการที่ซ้ำซ้อน
ขั้นตอนที่ 3: การคัดเลือกเนื้อหาโดยยึดประชาชนเป็นหลัก
นักวิชาการไต้หวันChen Chien-Ting ยกตัวอย่างการศึกษาด้านอาหารของญี่ปุ่นและกล่าวว่าเพื่อสะดวกผู้สนใจในการศึกษาด้านเกษตรอาหารค้นหาข้อมูลพื้นฐานนำไปประยุกต์ใช้ ญี่ปุ่นได้จัดเตรียมข้อมูลสื่อการสอนที่เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่งแก่สาธารณชนก่อนที่จะพัฒนาแผนการศึกษาด้านอาหาร ปัจจุบันไต้หวันยังคงขาดแคลนข้อมูลสื่อการสอนการศึกษาด้านเกษตรอาหาร ข้อมูลที่มีปัจจุบันเป็นข้อมูลความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วัตถุประสงค์ของการศึกษาด้านเกษตรอาหารไม่ใช่การฝึกอบรมผู้ประกอบการเกษตรมืออาชีพหรือบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการเสริมสร้างความรู้พื้นฐานให้กับประชาชนทั่วไป ดังนั้นการแปลความรู้ทางวิทยาศาสตร์ระดับมืออาชีพให้เป็นสื่อการสอนเข้าใจและเข้าถึงง่ายจึงเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาการศึกษาด้านเกษตรอาหาร
ขั้นตอนที่ 4 กำหนดเป้าหมายหลักและกำหนดการวัดประเมินผลอย่างมีระบบ
จากการสังเกตการพัฒนาการศึกษาด้านอาหารในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เราตระหนักดีว่าทั้งสองประเทศปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระบบ และวิธีการศึกษาเกษตรอาหารอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตามโครงสร้างและปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ และการจัดประชุมกับผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการเพื่อกำหนดเป้าหมายที่วัดผลได้เพื่อทบทวนผลการดำเนินการประจำปี ซึ่งช่วยในการปรับนโยบายสำหรับปีหน้า เนื่องจากไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เป็นประเทศนำเข้าอาหารในภูมิภาคเอเชีย ประสบปัญหาด้านการผลิตทางการเกษตรและการแข่งขันทางการตลาดคล้ายคลึงกัน ดังนั้นเราจึงแนะนำให้อ้างอิงงานวิจัยและระบบที่เกี่ยวข้องของสองประเทศนี้ ในอนาคตจะยึดชีวิตประจำวันและการเติบโตของเศรษฐกิจไต้หวันเป็นหลักการแนวทางในการวางแผน กำหนด เป้าหมาย การบริหารจัดการ และประเมินผลการส่งเสริมการศึกษาด้านเกษตรอาหาร
กรณีศึกษา: การส่งเสริมการศึกษาด้านอาหารของโรงเรียนประถมศึกษา Nishiachi ในเมืองOkayamaประเทศญี่ปุ่น
ตั้งแต่ปี 2557-2558 โรงเรียนประถมศึกษา Nishiachi ที่ตั้งอยู่ในเขต Kurashikiเมือง Okayamaเข้าร่วมโครงการSuper School– โครงการโรงเรียนSuper Food Education ซึ่งจัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น - โครงการดังกล่าว เน้นความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และหน่วยงานในพื้นที่ ศึกษาเรียนรู้เรื่องอาหารและสุขภาพร่วมกัน จัดแผนส่งเสริมหลักสูตรการศึกษาอาหารและสุขภาพแก่นักเรียนทุกระดับชั้น หลังจบโครงการ ทางโรงเรียนยังคงส่งเสริมหลักสูตรการศึกษาด้านอาหารอย่างต่อเนื่องโดยจะได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่โรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียน
จำนวนครูสอนโภชนาการอาหารในโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมลงมา ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของอาจารย์ผู้สอนหรือโรงเรียนและผู้ปกครองเห็นความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้โรงเรียนต้องมีครูสอนโภชนาการ ยกตัวอย่างโรงเรียนประถมศึกษา Nishiachi หลักสูตรการศึกษาด้านอาหารของโรงเรียนได้รับการออกแบบโดยครูโภชนาการ 2 คนและครูสุขภาพ 2 คน จัดทำบทเรียนความรู้เกี่ยวกับอาหารและสุขภาพในช่วงพักกลางวันของโรงเรียนด้วยความช่วยเหลือจากครูประจำชั้น ภายใต้หัวข้อของการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและครบ 5 หมู่ แผนการสอนและสื่อการสอนนั้นอ้างอิงตาม หลักอาหารสามสี ของญี่ปุ่น (เช่น แป้งและไขมัน (สีเหลือง) แคลเซียมและโปรตีน (สีแดง) และเส้นใยผักและผลไม้ (สีเขียว)) เป็นแนวทางให้นักเรียนเข้าใจ สารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์ ตลอดจนสร้างนิสัยการทำอาหารและการกินที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้โปรแกรมนี้ยังเน้นย้ำถึงความสอดคล้องของบทเรียนทั้งหมดการจัดหลักสูตรการติดตามประเมินผลการเรียนรู้ตามพัฒนาการของร่างกายและจิตใจของนักเรียนในแต่ละระดับชั้น ตัวอย่างต่อไปนี้จะอธิบายเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาอาหารของแต่ละชั้นที่ โรงเรียนประถม Nishiachi สั้น ๆ:
ชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่ง
บทเรียนเรื่องประสาทสัมผัสทั้งห้า (ตา หู จมูก ลิ้น และสัมผัส) หลักอาหารสามสี และสูตรการทำอาหารที่แนะนำ และวัตถุดิบที่ใช้สำหรับทำอาหารมื้อกลางวันในโรงเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่สอง
ห้องเรียนชีวิตประจำวันใช้ระยะเวลา 5 เดือนแนะนำให้นักเรียนปลูกผักและสังเกตการเจริญเติบโตเข้าใจถึงการทำงาน การผลิตทางการเกษตรและความสุขในการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถแบ่งปันประสบการณ์และพูดคุยกับครอบครัวของพวกเขาเกี่ยวกับวิธีการทำอาหาร
ชั้นประถมศึกษาปีที่สาม
การศึกษาการกินปลาช่วยให้นักเรียนเข้าใจสรีรวิทยาของปลา คุณค่าทางโภชนาการ (น้ำมันปลาและเนื้อสัตว์) ความสำคัญของการเลือกอาหารและการรับประทานอาหารที่ครบถ้วนสมดุล
ชั้นประถมศึกษาปีที่สี่
ห้องเรียนสังคมวิทยาเยี่ยมชมฟาร์มชานเมืองและอภิปรายเรื่องราวของฟาร์มและกระบวนการผลิตน้ำนม ฯลฯ พร้อมทั้งอภิปรายสภาพแวดล้อมของฟาร์มเพิ่มเติม เช่น สภาพอากาศ ภูมิประเทศ ปริมาณน้ำฝน และเนื้อหาทางโภชนาการ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า
ห้องเรียนครอบครัวจะแนะนำนักเรียนให้พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขากินในแต่ละวัน เหตุผลที่พวกเขากินอาหารเหล่านี้ ตลอดจนความสมดุลของอาหารห้าหมู่และหลักอาหารสามสี นอกจากนี้ ยังสอนให้นักเรียนออกแบบสูตรอาหาร โดยใช้ข้าวและซุปมิโซะเป็นเมนูหลัก
ชั้นประถมศึกษาปีที่หก
ในชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสมดุลทางโภชนาการของอาหารและการทำอาหารพื้นฐาน ในชั้นประถมศึกษาปีที่หก พวกเขาจะได้เรียนรู้วิธีการปรุงอาหารและการใช้ส่วนผสมมากขึ้น พิจารณาถึงความอร่อย ฤดูกาล และราคาของวัตถุดิบ เสริมสร้างนิสัยการกินที่ดีและการป้องกันโรค