เทรนด์ใหม่ในการพัฒนาการเกษตร – หมู่บ้าน Sarabetsu เมือง Hokkaido
ปัญหาการขาดแคลนอาหารทั่วโลกและการกระจายอาหารที่ไม่สมดุล ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การเกษตรขนาดเล็กไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดขนาดใหญ่ได้อีกต่อไป ปัญหาสำคัญที่การเกษตรไต้หวันกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้คือการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ชนบทโดยเน้นที่การผลิต การขาย และการวางแผนทางการตลาด, การจัดเก็บข้อมูล และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาร่วมด้วย, การส่งเสริมการเกษตรอย่างมีระบบได้มาตรฐานและการจับกลุ่มร่วมมือกัน จากรายงานผลงานที่น่าสนใจของหมู่บ้าน Sarabetsu เมือง Hokkaido เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่สามารถเชิญผู้อำนวยการสหกรณ์การเกษตรของหมู่บ้าน Sarabetsu (JA Sarabetsu) มาเยือนไต้หวัน และแบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาของหมู่บ้าน Sarabetsu เมือง Hokkaido
เขต Tokachi เมืองฮอกไกโด เป็นแหล่งผลิตอาหารของญี่ปุ่น หมู่บ้าน Sarabetsu ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของ Tokachi โดยร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นที่ดินทำกิน เป็นพื้นที่เกษตรกรรมทั่วไป นอกจากพืชผลในเขตหนาว อาทิ มันฝรั่ง ข้าวสาลี ถั่ว และบีทรูทแล้ว ยังเพาะปลูกข้าวโพดหวาน กะหล่ำปลี และผักอื่นๆ เพื่อสร้างระบบหมุนเวียนพืชที่สมบูรณ์ การปศุสัตว์ก็พัฒนาได้อย่างสมบูรณ์เช่นกัน ผลการสำรวจเก็บผลทางสถิติในปี 2561 ผลผลิตน้ำนมดิบเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 677 ตัน มูลค่าการซื้อขายรวมของปศุสัตว์และพืชไร่สูงถึงประมาณ 13.2 พันล้านเยนต่อปี ทำให้เป็นพื้นที่ชนบทที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
รูปที่1 การพัฒนาการเกษตรในหมู่บ้าน Sarabetsu
เกษตรกรรมในหมู่บ้าน Sarabetsu มีลักษณะเป็นการเกษตรแบบใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ โดยแต่ละครัวเรือนมีรถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่เฉลี่ย 5 คัน หมู่บ้านมีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการส่งเสริมนโยบายการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการใช้สารกำจัดศัตรูพืช โดยมีเป้าหมายในการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและปศุสัตว์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สมาคมสหกรณ์การเกษตรหมู่บ้าน Sarabetsu ได้จัดหาและจัดสรรพื้นที่ เพื่อการถมวัสดุเหลือใช้หรือของเสียจากการเกษตร นำไปรีไซเคิล การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมผ่านการรีไซเคิล การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแนวคิดของการส่งเสริมพื้นที่จัดการการเกษตรในไต้หวัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพื้นที่ในจัดการการเกษตรจะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จำนวนครัวเรือนเกษตรกรลดลง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องลดภาระในการจัดการและบำรุงรักษา ถนนหนทางในฟาร์ม คลองระบายน้ำ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
ปัญหาการเกษตรในญี่ปุ่นคล้ายกับปัญหาในไต้หวัน หนึ่งในนั้นคือ ชาวนาสูงอายุ ปัญหาเรื่องแรงงานคนไม่เพียงพอ และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การเกษตรที่ชาญฉลาด จึงกลายเป็นนโยบายที่สำคัญในญี่ปุ่น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2556 ได้จัดตั้ง "สมาคมวิจัยเพื่อการตระหนักถึงการเกษตรอัจฉริยะ" ต่อมาในปี 2557 ได้กำหนดแผนงานและแผนปฏิบัติการ จากนั้นได้มีการจัดตั้งแพลตฟอร์มความร่วมมือข้อมูลทางการเกษตร (WAGRI) ในปี 2562 และได้มีการกำหนด “แผนส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการเกษตร” วัตถุประสงค์ของ "แผนส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการเกษตร" คือ การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งรวมถึง ICT และ AI เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินการตามกลยุทธ์ การจัดการและปรับปรุงความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อให้เกษตรกร องค์กร สถาบันวิจัย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกัน โดยมีเนื้อหาดังนี้:
รูปที่ 2 กรอบการดำเนินงานและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการเกษตร
1. แนวทางการจัดการเกษตร : จากตัวอย่างการเกษตร 8 ประเภท รวม 22 เคส ประกอบด้วย นาข้าว 5 เคส, ทุ่งแห้ง 2 เคส, แปลงผักกลางแจ้ง 4 เคส, สวนเรือนกระจก 1 เคส, ดอกไม้และต้นไม้ 1 เคส, ชา 1 เคส, ไม้ผล 1 เคส, และการปศุสัตว์ 4 เคส
2. แผนงานการปฏิบัติเทคโนโลยีต่างๆ แบ่งเป็น 6 ประเภท รวม 37 รายการ: โดรน 7 เคส, หุ่นยนต์ 14 เคส, เทคโนโลยีการวัดและควบคุมสิ่งแวดล้อม 7 เคส, การปศุสัตว์ในครัวเรือน 2 เคส, การถ่ายทอดมรดกความรู้ในการผลิตและการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ 3 เคส, อื่นๆ 4 เคส, ตารางเวลาการตรวจสอบ การดำเนินงาน และการนำไปปฏิบัติอย่างกว้างขวาง ทำการรวบรวมข้อมูลถึงปี 2568
3. การส่งเสริมแนวทางการใช้เทคโนโลยี แบ่งออกเป็น 5 ทิศทาง: ทำความรู้จักกับเทคโนโลยีการเกษตรใหม่, ทดลองใช้เทคโนโลยีการเกษตรใหม่, แนะนำเทคโนโลยีการเกษตรใหม่, สร้างสภาพแวดล้อมสำหรับเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรใหม่, ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ และรวบรวมแนวทางทั้งหมด
เพื่อตอบสนองนโยบายส่งเสริมการเกษตรอัจฉริยะ หมู่บ้าน Sarabetsu ร่วมมือกับเมือง Iwamizawa ในปี 2561 วางแผน "โซนอุตสาหรรมอัจฉริยะนวัฒกรรมใหม่ (Zone of Smart Industry Innovation) เริ่มใช้ AI, IoT, การขับขี่อัตโนมัติ, โดรน และเทคโนโลยีอื่นๆ งานหลักของ "โซนนวัตกรรมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ" มีดังนี้ :
1. มาตรการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมระดับต้น: เป้าหมาย คือ การอนุญาตให้รถแทรกเตอร์ขับเคลื่อนอัตโนมัติบนทางสาธารณะ, ส่งเสริมให้ใช้โดรนในขั้นตอนต่างๆ เสริมสร้างการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย IoT ในการเกษตร ป่าไม้ และการประมง
2. มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าแรงงานต่างด้าวทำการเกษตร: อนุญาตให้อุตสาหกรรมการเกษตร, อุตสาหกรรมพาณิชย์, และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้
3. การคมนาคมสู่พื้นที่เกษตร : ส่งเสริมให้มีการขึ้นทะเบียนรถ
ปัจจุบัน หมู่บ้าน Sarabetsu ได้ประยุกต์ใช้แล้วดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์:
การใช้รถแทรกเตอร์ที่ติดตั้งระบบนำทาง GPS และระบบควบคุมอัตโนมัติในทุ่ง
เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมใช้หุ่นยนต์รีดนม
หุ่นยนต์ให้นม
ตรวจสอบการจัดส่ง (ติดตั้งกล้อง) และหุ่นยนต์ป้อนอาหาร
2. ซอฟต์แวร์:
จัดการข้อมูลสมาชิก JA โดยผ่านระบบสมาชิก JA ในพื้นที่ Tokachi (TAF)
ใช้แอพ "Day work ตารางแรงงานชั่วคราวทางการเกษตร" ติดตามกำลังแรงงานในแต่ละวัน
ใช้แอพ "JA Connect" เพื่ออำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างสมาชิก JA และ JA
ในอนาคต เทคโนโลยีและการพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะของหมู่บ้าน Sarabetsu จะพัฒนาอย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ตาม Mr. Ono กล่าวว่าอัตราการครอบคลุมอินเตอร์เน็ตในหมู่บ้านน้อยกว่าร้อยละ 40 ดังนั้นก่อนที่จะดำเนินการเกษตรอัจฉริยะโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารในพื้นที่จะต้องเตรียมพร้อมก่อน และควรพิจารณาด้วยว่า ถึงแม้เครื่องจักรและระบบที่ประหยัดแรงงานจะมีประสิทธิภาพสูง แต่ก็ยังต้องอาศัยเกษตรกรดำเนินการควบคุมดูแล ดังนั้น ความสามารถของเกษตรกรเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดที่ Sarabetsu ต้องเผชิญในอนาคต
ไต้หวันเหมือนกับญี่ปุ่น กำลังประสบปัญหาประชากรสูงอายุและเป็นการดำเนินการทางการเกษตรขนาดเล็ก ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สภาการเกษตรตอบสนองนโยบายระดับชาติ ส่งเสริมแผน Smart Agriculture 4.0 ด้วย "การผลิตที่ชาญฉลาด" และ "การบริการระบบดิจิทัล" 2 แนวหลัก สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรโดยรวม สามารถสร้างแพลตฟอร์มการบริโภค/บริการทางการเกษตรที่ครอบคลุมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี, การวิเคราะห์ข้อมูล big data แก้ปัญหาที่พื้นที่เกษตรกรรมที่กระจัดกระจายและปรับขนาดได้ยาก ไต้หวันได้ดำเนินการตาม "แผนที่ดินแห่งชาติ" ตั้งแต่ปี 2559 ทบทวนและวางแผนพื้นที่อนุรักษ์ที่ดิน, ทรัพยากรทางทะเล, การพัฒนาการเกษตร, การพัฒนาในตัวเมืองและชนบท กรมเกษตร ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับรูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรและการวางแผนการผลิตและการขายและการแบ่งเขตอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายให้ใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม การขยายขนาดพื้นที่ และการรวมกลุ่มกัน นอกจากนี้ ความครอบคลุมของอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ชนบทไต้หวัน ถือว่าดีที่สุดในโลก สื่อความหมาย เกษตรอัจฉริยะไต้หวันมีศักยภาพเพียงพอต่อการพัฒนา ดังนั้นจากการปรับปรุงของรัฐบาลในการวางแผนการใช้ที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมแบบบูรณาการและการแบ่งเขตการจัดการการเกษตร ตลอดจนการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ จะทำให้ชนบทมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างออกไป เดินหน้าเป้าหมายอุตสาหกรรมการเกษตรและการจัดการชนบทอย่างยั่งยืน