ทำให้เกษตรกรรายย่อยสามารถทำการเกษตรได้อย่างง่ายดาย เครื่องมือข้อมูลต่างๆ เปิดโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเกษตรของไต้หวัน
Denny Lee(China Productivity Center Agricultural Innovation Department I )
แม้ว่าการเกษตรอัจฉริยะจะได้รับการพัฒนาอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ในความคิดของคนหลายๆ คนยังคงติดภาพลักษณ์การทำงานหนักในไร่นาด้วยจอบ เสียม และงอบ อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น ปัญญาประดิษฐ์ 5G และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง การเกษตรได้พัฒนาก้าวหน้าแตกต่างจากภาพลักษณ์ดั้งเดิมในอดีต และเกินกว่าจินตนการของประชาชนทั่วไปอย่างแน่นอน แม้แต่ชาวนาที่ทำนาจริง ๆ ก็ไม่รู้ว่าปัจจุบันมีเครื่องมือชนิดใดในตลาดที่จะสามารถนำมาใช้ได้ ดังนั้นจึงขออนุญาตใช้บทความนี้ในการแนะนำเครื่องมือ ข้อมูล หรือแพลตฟอร์มที่พัฒนาโดยหน่วยการบริหารการเกษตรให้กับเกษตรกรและวิสาหกิจการเกษตร หวังว่าจะช่วยยกระดับผู้ปฏิบัติงานให้เป็นเกษตรกรสมัยใหม่ สามารถบริหารจัดการการเกษตรได้อย่างง่ายดาย
แพลตฟอร์มข้อมูลของสถาบันวิจัยการเกษตร
สถาบันวิจัยการเกษตรเป็นหนึ่งในหน่วยงานวิจัยการเกษตรที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของไต้หวัน มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงเทคโนโลยีการเกษตรในประเทศ แก้ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวเนื่องอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเกษตรมานานนับศตวรรษ โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกษตรกรเข้าใจและพัฒนาสู่การเกษตรอัจฉริยะ มีการจัดการสัมมนาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้สามารถสอบถามเพิ่มเติมและสามารถนำไปใช้ได้ แพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องของสถาบันวิจัยการเกษตร ประกอบด้วย
1. ระบบฐานข้อมูลดิน
สถาบันวิจัยการเกษตรได้ทำการสำรวจข้อมูลดินในประเทศมาเป็นเวลานาน เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ข้อมูลกราฟิกการสำรวจการไหลของดิน หิน และชั้นดินอื่นๆ ผนวกกับการตีความของผู้เชี่ยวชาญ การจัดทำแผนที่เฉพาะเรื่องต่างๆ เช่น แผนที่การกระจายตัวของดินประเภทต่างๆ แผนที่แสดงความอุดมสมบูรณ์ของดินและจุลินทรีย์ในดิน เป็นต้น ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและใช้ข้อมูลที่พวกเขาสนใจ และช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจลักษณะของที่ดินที่จะพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น จากนั้นค่อยวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การกำหนดพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละพืชผล พื้นที่ที่ต้องการป้องกันและควบคุมมลพิษ กำหนดแนวทางการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ระบบนี้สามารถช่วยเกษตรกรและองค์กรทางการเกษตรค้นหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปลูกพืช และกำหนดวิธีการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม การให้ปุ๋ยอย่างมีเหตุผล และลดการสูญเสียทรัพยากร
2. การบูรณาการแพลตฟอร์มข้อมูล เพื่อการผลิตพืชผลคุณภาพสูง
การบูรณาการข้อมูลการเกษตรในประเทศที่หลากหลาย การเสริมความแข็งแกร่งของการสื่อสารและการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างฐานข้อมูลต่างๆ ทำให้การผลิตพืชผลและการเพาะปลูกสามารถขอรับข้อมูลที่จำเป็นได้ เช่น การเลือกชนิดพันธุ์ สภาพอากาศ การกำจัดศัตรูพืช และการวินิจฉัย เป็นต้น ด้วยแพลตฟอร์มข้อมูลนี้ ผู้ใช้สามารถทำการค้นหาข้อมูลได้แบบครบวงจร ตราบใดที่พวกเขาให้ข้อมูลดัชนีที่เหมาะสมตามความต้องการ ระบบจะเชื่อมโยงไปยังแต่ละฐานข้อมูลโดยอัตโนมัติ และให้ข้อมูลแบบไดนามิกและเรียลไทม์แก่ผู้สนใจ สามารถลดเวลาในการค้นหาข้อมูล ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการเกษตรสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปใช้ในด้านการผลิตได้ทันที
3. แพลตฟอร์มเตือนภัยพืชผลล่วงหน้า
ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้ผู้ผลิตทางการเกษตรต้องการระบบที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถรับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรวดเร็วทันท่วงที แพลตฟอร์มนี้อาศัยข้อมูลการพยากรณ์อากาศของสำนักอุตุนิยมวิทยากลางไต้หวัน ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติที่จะส่งผลต่อพืชผล นอกจากนี้ยังจัดทำในรูปแบบ Application สะดวกเกษตรกรรับข้อมูลข่าวสารภัยพิบัติแบบเรียลไทม์ผ่านโทรศัพท์มือถือ สะดวกพวกเขากำหนดมาตรการรับมือได้แม่นยำและรวดเร็ว ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพืชผล และยังสามารถคงคุณภาพและปริมาณของผลผลิตได้อีกด้วย นอกจากฟังก์ชั่นการเตือนภัยล่วงหน้าและการแจ้งเตือนทันทีเกี่ยวกับภัยพิบัติทางการเกษตรแล้ว แพลตฟอร์มนี้ยังให้ข้อมูลข่าวสารล่าสุด เช่น ข้อมูลกิจกรรมของอุตุนิยมวิทยาทางการเกษตร, ข้อมูลจากการสังเกตแบบเรียลไทม์ของสถานีตรวจอากาศทางการเกษตร, การพยากรณ์อากาศระดับภูมิภาค, และข้อมูลภัยพิบัติ นอกจากนี้ยังรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น รูปแบบภูมิอากาศทางการเกษตรของไต้หวัน, อัตราการเกิดอุบัติภัยทางอุตุนิยมวิทยาและพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติบ่อยครั้ง, ปฏิทินการเพาะปลูกเพื่อป้องกันภัยพิบัติ, 24 สภาพอากาศซึ่งเป็นการแบ่งสภาพอากาศ ออกเป็น 12 ช่วงเวลาตามศาสตร์จีนโบราณ, แผนป้องกันภัยพิบัติทางการเกษตรและป่าไม้ เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรได้ผลการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ จำเป็นต้องมีข้อมูลของอุตุนิยมวิทยาและข้อมูลการป้องกันภัยพิบัติ สะดวกเกษตรกรวางแผนแนวทางการป้องกัน ใช้ปฏิทินการผลิต
e-grasp การเกษตร
ในปัจจุบัน ความยากลำบากที่พบในการจัดการพื้นที่เพาะปลูกและไร่นาในไต้หวัน มีสาเหตุหลักมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า หลังจากงานเสร็จสิ้นแล้วจะมีการทำบันทึกเพิ่มเติมบนกระดาษ วิธีนี้ไม่เพียงแต่ขาดความฉับไวและแม่นยำเท่านั้น แต่ยังมีความยุ่งยากอย่างมาก อัตราความผิดพลาดสูง ทำให้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการด้านการเกษตรจำนวนมากไม่สามารถเข้าใจกระบวนการผลิตและทรัพยากรทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (รวมถึงเวลาของการจ้างแรงงาน การใช้เครื่องจักร และวัสดุทางการเกษตร ฯลฯ) ดังนั้นหน่วยบริหารการเกษตร จึงร่วมมือกับบริษัทข้อมูลเอกชน พัฒนาการจัดการเกษตร APP-Agricultural e-Grasp ทำหน้าที่ดังนี้ :
1. การแสดงภาพพื้นที่เพาะปลูก
ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกจะถูกแสดงด้วยภาพ ในระบบจะใช้สีต่างๆ แยกดินที่เพาะปลูกออกเป็นชั้นๆ ช่วยให้เกษตรกรเข้าใจสถานะและการกระจายตัวของดินเพาะปลูกผ่าน APP ได้อย่างรวดเร็ว สะดวกเกษตรกรในการบริหารจัดการ ในขณะเดียวกันยังรวมฟังก์ชันการระบุตัวตนและการตรวจสอบผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อช่วยให้องค์กรการเกษตรปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจสอบการปฏิบัติงานและเข้าใจข้อมูลได้อย่างแม่นยำ เช่น สถานะการจ้างงาน ผลตอบแทนการผลิต และข้อมูลชั่วโมงการทำงาน ลดการลงทุนในทรัพยากรซ้ำซ้อน ควบคุมต้นทุนการผลิตได้อย่างแม่นยำ ทำให้ได้การผลิตที่มีประสิทธิภาพ
2. บันทึกการปฏิบัติงานในพื้นที่ตามจริง
ปรับรูปแบบตารางที่เข้าใจยาก เป็นขั้นตอนกระบวนการที่ง่ายต่อการตรวจสอบ ช่วยให้เกษตรกรสามารถบันทึกการปฏิบัติงานและเข้าใจกระบวนการผลิตได้อย่างแท้จริง
3. ร่างแผนการผลิต
นอกเหนือจากการติดตามที่ดินทำกินและการบันทึกการปฏิบัติงานอย่างเชี่ยวชาญแล้ว แอพนี้ยังสามารถช่วยเหลือองค์กรการเกษตรและเกษตรกรในการจัดทำแผนการผลิต เช่น กำหนดการเพาะปลูก รายการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน ช่วยเตือนงานที่ต้องดำเนินการ และรวบรวมบันทึกการกำจัดศัตรูพืชและใช้ปุ๋ยไว้ทั้งหมด สะดวกที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นตรงตามกำหนดเวลา ระบบจะคำนวนผลผลิตโดยประมาณของพืชผล ช่วยผู้ผลิตกำหนดปริมาณและเวลาในการเก็บเกี่ยว เพิ่มสมดุลระหว่างการผลิตและการขาย เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
4. ประวัติการผลิตและการขาย
ระบบเชื่อมต่อประวัติการผลิตและการขาย คิวอาร์โค้ดและเครือข่ายข้อมูลเกษตรอินทรีย์ มีฟังก์ชันบันทึกการเพาะปลูกส่งไปยังระบบประวัติการผลิตและการขายอย่างรวดเร็ว ลดความซับซ้อนของกระบวนการและง่ายในการเข้าสู่ระบบ ช่วยให้เกษตรกรสามารถมุ่งเน้นที่การผลิตมากขึ้น
ข้อมูลข้างต้นแนะนำแพลตฟอร์มข้อมูลและเครื่องมือต่างๆ พัฒนาโดยหน่วยงานบริหารการเกษตรในประเทศโดยสังเขป เมื่อพิจารณาจากเครื่องมือข้อมูลเหล่านี้ ยังมีบางสิ่งที่ต้องปรับปรุง ได้แก่ ระบบที่ไม่เป็นมิตรต่อผู้ใช้ การประมวลข้อมูลที่ยังทำได้ไม่ดี ในอนาคตหากปัญหาที่เกี่ยวข้องสามารถแก้ไขได้ เมื่อผนวกกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เจริญก้าวหน้ามากขึ้น เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถปฏิวัติเกษตรกรรมของไต้หวันได้อย่างแน่นอน