หลักการเขียนข่าวเด่นและดังด้านการเกษตรที่คุณทำได้
:::

หลักการเขียนข่าวเด่นและดังด้านการเกษตรที่คุณทำได้

CYUE,JYUN-NI(China Productivity Center Smart Agriculture Promotion Department )

ท่ามกลางข่าวกระแสรายวันรอบด้าน การทำให้ข่าวที่โดดเด่น, เป็นที่สนใจ, และได้รับการเผยแพร่นั้น เป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนของหน่วยงานการเกษตรและกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่างๆ

โดยทั่วไปแล้ว รูปแบบการเขียนข่าวทั่วไปเป็นการเขียนแบบ ปิรามิดกลับหัว แต่ในโลกอินเตอร์เน็ตที่มีข่าวสารมากมาย แข่งขันสูง นอกจากทักษะการเขียนข่าวขั้นพื้นฐานแล้ว ยังต้องเพิ่มข้อมูลแนวโน้ม สถิติ ข้อความใต้หัวข่าวต้องดึงดูด นอกจากพาดหัวข่าวตามประสบการณ์และความรู้สึกแล้ว สามารถพาดหัวข่าวที่เป็นวิทยาศาสตร์และมีความแม่นยำยิ่งขึ้น

เครื่องมือที่ดีในการวิเคราะห์ประโยคใต้หัวข้อข่าว

ค้นหาแนวโน้มตลาดใน Google Trends ที่มีโปรแกรมวิเคราะห์แนวโน้มของคำหลัก ที่เหมาะสำหรับประชาชนทั่วไปฟรี ให้บริการตั้งแต่การวิเคราะห์คำหลักหนึ่งคำไปจนถึงหลายคำ กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของการค้นหาในช่วงเวลาและภูมิภาคต่างๆ และยังสามารถเปรียบเทียบกับคำหลักอื่นๆ หลายคำได้ ผู้เขียนข่าวสามารถใช้ประโยชน์จาก Google Trends ทำความเข้าใจว่าคำหลักใด ที่สาธารณชนสนใจ จากนั้นเลือกคำเหล่านี้และรวมไว้ในข่าวประชาสัมพันธ์ หรือหัวข้อข่าว

เหตุใดข่าวได้รับการค้นหา จึงสำคัญเช่นนี้ วิธีทำให้ข่าวโดดเด่นในโลกอินเทอร์เน็ต กุญแจสำคัญประการแรก คือประชาชนทั่วไปสามารถเห็นข่าวนี้ได้หรือไม่ เมื่อข่าวที่เตรียมมาอย่างดีถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ที่ Google เชื่อว่าน่าเชื่อถือ ลิงก์เหล่านี้อาจได้ผลทวีคูณ ตรงกันข้าม หากเผยแพร่ในเว็บไซต์ที่ไม่รู้จักหรือเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาข้อมูลเชิงลบ แม้ว่าจะมีการเปิดเผยข่าวจำนวนมาก แต่ไม่เกิดผล ดังนั้น กุญแจสู่ความสำเร็จ คือ การเลือกคำหลักผ่านเทรนด์การค้นหาของ Google และนำเสนอเนื้อหาที่สมบูรณ์และน่าสนใจ ตัวอย่างเช่น งานแสดงความสำเร็จด้านการเกษตร นำเสนอผสมผสานเทคโนโลยีปัจจุบันและกรรมวิธีการเกษตร นำคำหลักย่อยสามคำ คือ การเกษตรอัจฉริยะ การเกษตรแม่นยำ หรือการเกษตร AI วิเคราะห์ด้วย Google trend จะพบว่าการเกษตรอัจฉริยะ คือ เป็นทางเลือกที่ดี

การเขียนข่าวรูปแบบใดเหมาะสำหรับฉันที่สุด

แท้จริงแล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเขียนข่าวหรือเป็นมือใหม่ คุณต้องเคยประสบปัญหา เช่น การเขียนรูปแบบไหนเหมาะสมที่สุด หรือ คุณมีข้อมูลมากมายแต่ไม่สามารถเริ่มต้นได้ ทั้งนี้วิธีการเขียนแบบ ปิรามิดกลับหัว ที่ใช้บ่อยที่สุดนั้น จะเขียนส่วนที่สำคัญที่สุดของข่าวและส่วนที่น่าสนใจที่สุดไว้ในบทนำ ส่วนที่เหลือจะแบ่งออกเป็นแต่ละย่อหน้าตามความสำคัญ การเขียนรูปแบบนี้เห็นได้บ่อยในหน้าอินเตอร์เน็ต รูปแบบโครงสร้างการเขียน ปิรามิดกลับหัว มีดังนี้:

1. ชื่อเรื่อง/หัวเรื่อง : แนะนำไม่เกิน 20 คำ สั้น สะดุดตา ดึงดูดผู้อ่านอยากอ่านต่อ

2. บทนำ: ยึดหลักการ 5W1H จำกัดไม่เกิน 100 คำ

3. เนื้อหา: เพิ่มเติมเนื้อหาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แนะนำไม่เกิน 800 คำ

4. สรุป: คำอธิบายเพิ่มเติม เพิ่มจำนวนคำให้ครบตามต้องการ สะดวกบรรณาธิการปรับลดคำหรือแก้ไข

นักเขียนข่าวมืออาชีพ ใช้รูปแบบใดในการเขียนข่าว

การเขียนข่าวมีรูปแบบมาตรฐาน อาทิ แบบพีระมิด, แบบพีระมิดกลับหัว, แบบพีระมิดกลับหัว/พีระมิด, แบบเล่าเรื่อง, แบบเล่าเรื่องหลายหัวข้อ, แบบเพชร เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวมาทุกแบบ ก็เพื่อให้ผู้อ่านทราบเนื้อหาข่าวโดยใช้เวลาน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม มีรูปแบบการเขียนอีกรูปแบบหนึ่งในภาคการเกษตร นั่นคือ แบบเพชร ซึ่งได้รับความนิยมโดย Wall Street Journal ในสหรัฐอเมริกา เพื่อหารือปัญหาของอเมริกาและนานาประเทศ ศาสตราจารย์ฟั่นซี (Fensch, 1988) แห่งมหาวิทยาลัยเทกซัส สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การเขียนแบบเพชร ควรมีองค์ประกอบอย่างน้อย 4 อย่าง ได้แก่ บทนำ แก่นเรื่อง เนื้อความ และบทสรุป หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การเขียนหัวข้อหลัก อาศัยการแนะนำยกตัวอย่างเล็กไปใหญ่ จากเคสตัวอย่างเป็นเคสโดยรวม เป็นวิธีการเขียนรายงานข่าวที่ซับซ้อน

1. บทนำ: เน้นที่เนื้อหาหลัก ยกตัวอย่างกรณีศึกษา อาทิเช่น นักข่าวในประเทศใช้ในการนำเสนอของกรณีศึกษาของเกษตรกร

2. หัวข้อ: สร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นส่วนตัวและภาพรวม ตัวอย่างเช่น ความเห็นของเกษตรกร ชี้ให้เห็นปัญหาของการเกษตรและการดำรงชีวิตของผู้คน

3. เนื้อหาหลัก: รายงานปัญหาที่ซับซ้อน ในมุมที่กว้างมากขึ้น เช่น ทำให้เล็งเห็นปัญหาการพัฒนาการเกษตรในอดีตถึงปัจจุบัน

4. สรุป: ต้องสัมพันธ์กับบทนำ ทำสรุปที่ชัดเจนและมีน้ำหนัก


ก่อนเขียนต้องเตรียมสิ่งนี้: ทำความเข้าใจเนื้อหา ใช้ศัพท์ที่คนส่วนใหญ่ใช้

รูปแบบทั่วไปของการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์การเกษตรมี 2 รูปแบบที่พบบ่อย ขั้นตอนแรกคือ เน้นที่เนื้อหลักที่ต้องการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นบทความของรัฐบาล ผู้เชี่ยวชาญ ผู้สื่อข่าว นักวิทยาศาสตร์ และผู้บันทึกข้อมูลต่าง ๆ ล้วนต้องเข้าใจเนื้อหาโดยรวมอย่างถ่องแท้ ดังนั้นก่อนลงมือเขียนต้องศึกษาให้ละเอียด

1. ทำความเข้าใจเนื้อหาและเหตุผลทั้งหมด: เข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เบื้องหน้าและเบื้องหลังอย่างถ่องแท้

2. ฝึกเขียนบทความใน 30 นาที: ให้เวลาตัวเองเต็มที่ 30 นาที พยายามทำความเข้าใจและจดจ่อกับเนื้อหา จากนั้นเขียนออกมา ฝึกเขียนบทความยาว 1,000 คำภายในเวลา 30 นาที ไม่ว่าบทความนั้นจะดีหรือไม่ดี ไม่เป็นไร ค่อยปรับแก้ทีหลังได้

3. ใช้ภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจง่าย: ใช้คำอุปมาอุปไมยที่คนทั่วไปเข้าใจ อธิบายให้คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการ/สาขานั้นๆ เข้าใจและสนใจ ก็จะประสบความสำเร็จ

การเพิ่มสีสันความน่าสนใจ ตามกระแส เรื่องด่วน นโยบาย และคำโน้มน้าวเชิญชวน

ความจริงแล้ว ข่าวประชาสัมพันธ์ คือ ข่าวที่เขียนให้สื่อมวลชน นำเสนอข้อมูลเชิงลึก แม้ว่าเนื้อข่าวประชาสัมพันธ์จะแตกต่างจากเนื้อหาที่สัมภาษณ์ แต่การให้ข้อมูลหลักที่น่าสนใจ มีเนื้อหาเชิงบวก และนำเสนอในมุมมองของบุคคลที่สามที่ไม่เบี่ยงเบนมากเกินไป หวังว่าเนื้อหาเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับฉันและทุกคนได้บ้าง

1. ใช้ความเห็นของนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อเหตุการณ์นี้ เพิ่มโอกาสในเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์

2. ต้องทราบแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร พยายามนำเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง เที่ยงตรง และสมดุล

3. ข่าวพร้อมรูปภาพ: เตรียมรูปภาพสำคัญๆ ของเหตุการณ์นั้นๆ เพิ่มรูปภาพในบทความ ทำให้ผู้คนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น