ความสำคัญของกรีนแคร์ในผู้สูงอายุ
:::

ความสำคัญของกรีนแคร์ในผู้สูงอายุ

ตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ โครงสร้างประชากรไต้หวัน ในปี1993 เริ่มเข้าสู่ระดับสังคมผู้สูงอายุ (กล่าวคือ ประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีคิดเป็น 7% ของประชากรทั้งหมด) ในปี 2018 เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (ประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีคิดเป็น 14% ของประชากรทั้งหมด) และคาดว่าในปี 2025 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุขั้นสูงสุด (ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด) จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าไต้หวันจะเปลี่ยนเริ่มสังคมสูงอายุไปสู่สังคมสูงอายุภายใน 25 ปี แต่อาจใช้เวลาเพียง 7 ปีในการก้าวกระโดดจากสังคมสูงวัยไปสู่สังคมสูงวัยขั้นสุด ดังนั้น การดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ จะเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญในการพัฒนาในอนาคต

ปัจจุบัน สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ สถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเกรดซี ภายใต้การควบคุมของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ, ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุของกระทรวงศึกษาธิการ, และศูนย์บริการชุมชนชนบทของสภาเกษตร (Council of Agriculture: COA) สภาเกษตรได้จัดตั้งเครือข่ายนวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันสำหรับผู้สูงอายุ และโครงการอาสาสมัครสำหรับผู้สูงอายุในชนบทของสมาคมเกษตรกร ปัจจุบัน เนื้อหาการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุในชนบท ส่วนใหญ่ออกแบบให้ทำกิจกรรมสันทนาการเพื่อความบันเทิง สร้างสรรค์งานศิลปะ แต่ยังจัดโครงสร้างได้ไม่ทั่วถึง ยังไม่มีการวางโครงสร้างการฝึกอบรมที่สมบูรณ์ และเพื่อให้ไม่ทับซ้อนกับสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเกรดซีของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ การพัฒนาดูแลกรีนแคร์สำหรับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรงและไม่แข็งแรง การดูแลกรีนแคร์เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่าง ๆ รวมถึงพืชสวนบำบัด, ภูมิทัศน์ที่ดีต่อสุขภาพ, การศึกษาด้านอาหารและการเกษตร, การฟื้นฟูการเกษตร, และการสร้างรายได้ให้ชุมชน สมาคมการเกษตรและการประมงจับมือกันสร้างเครือข่ายการดูแลกรีนแคร์และเปิดตัวโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ ในชุมชน

แม้ว่าสัดส่วนอายุของประชากรจะสูงขึ้นทุกปี แต่ยังขาดการวางแผนและออกแบบสภาพแวดล้อมในบ้านที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องด้วยสมรรถภาพร่างกายและการเคลื่อนไหวที่ลดลง ส่งผลให้เกิดการหกล้มและการบาดเจ็บที่แก้ไขไม่ได้ หรือการล้มหมอนนอนเสื่อ งานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่าคุณภาพของภูมิทัศน์จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้คน งานอดิเรกกิจกรรมในสวนเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ กิจกรรมในสวนจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น บรรเทาอาการโรคเรื้อรัง และเพิ่มโอกาสทางสังคม การได้สัมผัสกับธรรมชาติและปฏิสัมพันธ์กับสังคมจะทำให้ผู้สูงอายุสามารถลดอัตราการเกิดโรคและเพิ่มอัตราการหายจากโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำกิจกรรมในสวนช่วยบำบัดสามารถปรับสภาพร่างกายและจิตใจ เสริมสร้างคุณภาพชีวิต และบรรเทาภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุได้

กรีนแคร์คืออะไร?

คำว่า กรีนแคร์ไม่ใช่แนวคิดใหม่ ในอดีตสภาเกษตร (COA) ได้แนะนำองค์กรส่งเสริมการเกษตรในท้องถิ่นหลายแห่งให้ทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อปรับปรุงและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 1955 และ 1956 โครงการปรับปรุงชีวิตในฟาร์ม โครงการนี้รวมการดูแลบ้านและสุขภาพ 4 Hs เข้าด้วยกัน ในช่วงทศวรรษที่ 1970 งานส่งเสริมในชุมชนชนบท ในขณะนั้นอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ นอกจากความต้องการขั้นพื้นฐานอาหารและเครื่องนุ่งห่ม พวกเขาจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องในครัว เรื่องสุขอนามัยและโภชนาการมากยิ่งขึ้น ในช่วงทศวรรษที่ 1990 ความต้องการด้านอาหารและโภชนาการปรับตัวสูงขึ้น ต่อมาในปี 2001 โครงการคหกรรมจึงได้ออกแบบขึ้น เพื่อเพิ่มทักษะการทำอาหารที่ดีมีคุณภาพให้กับกลุ่มแม่บ้าน สร้างอาชีพ เน้นให้บริการชุมชน ดูแลและจัดหาอาหาร และบริการอื่น ๆ ให้ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว และยังรวมถึงการดูแลสุขอนามัยของผู้สูงอายุ ต่อมาในปี 2008 ใช้จุดแข็งของผู้หญิงในชนบทในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์การเกษตรในท้องถิ่น จัดตั้งศูนย์บริการผู้สูงอายุ จนกระทั่งปี 2019 มีการคัดเลือกโปรแกรมและทำการมอบรางวัลการดูแลกรีนแคร์ให้กับ 10 อันดับแรก ต่อมาในปี 2020 เร่งการประชาสัมพันธ์ศูนย์ดูแลกรีนแคร์

1. ขอบเขตและแนวคิดของกรีนแคร์

ขอบเขตของ Green Care หมายถึง จากบทความที่จัดทำโดยนักวิชาการในไต้หวัน คุณ Chen Hui Mei ซึ่งได้นิยามไว้ว่า กรีนแคร์ คือ การใช้เกษตรกรรม การทำสวน สัตว์ และพื้นที่ธรรมชาติกลางแจ้งอื่น ๆ ฯลฯ ผนวกแนวคิดของการดูแลสุขภาพการใช้ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ส่งเสริมรักษาสุขภาวะส่วนบุคคลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม การศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต จุดมุ่งหมายคือการส่งเสริมสุขภาพโดยไม่การรักษาทางการแพทย์

รูปที่ 1 ขอบเขตของกรีนแคร์

ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรงและสุขภาพไม่แข็งแรงเป็นเป้าหมายหลักในการให้บริการ กรีนแคร์ใช้ประโยชน์จากความอเนกประสงค์ของการเกษตร การทำฟาร์ม และสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านประมง และองค์ประกอบทางธรรมชาติเป็นโอกาส บูรณาการแนวคิดเรื่องสุขภาพเพื่อการพัฒนา กรีนแคร์ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือผู้สูงอายุในท้องถิ่นมีสุขภาพดี แต่ยังดึงดูดผู้สูงอายุคนอื่นๆ ให้เข้ามาในหมู่ล้านเกษตรกรรมและหมู่บ้านชาวประมง เพื่อสัมผัสกับกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เพื่อบำบัดร่างกายและจิตใจ

2. กรีนแคร์ 3 ประเภท

กรีนแคร์ แบ่งออกเป็น 3 แกนหลัก คือ การช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกันขององค์กรเกษตร การปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบสีเขียว และการแบ่งปันเขตสุขภาพร่วมกัน จาก 3 แกนหลักที่กล่าวถึงข้างต้น สภาเกษตร (COA) ได้ดำเนินโครงการสาธิตการส่งเสริมกรีนแคร์ในปีนี้ โดยการจัดตั้งศูนย์บริการกรีนแคร์ทั้งหมด 31 แห่ง ในสมาคมการเกษตรและการประมงทั่วประเทศ โดยติดป้ายศูนย์สีเขียว และจัดตั้งระบบและแนวทางการบริการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่สุขภาพดีและไม่ดีให้มีอายุยืนยาวสุขภาพดีแข็งแรง ลดภาระค่าใช้จ่ายของสังคม

รูปที่ 2 ระบบและแนวทางของศูนย์บริการกรีนแคร์

การใช้กิจกรรมการเกษตรพัฒนาสภาพร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณผู้คน หลักสูตร Green Care Course แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ประเภทที่หนึ่ง คือ ภูมิทัศน์บำบัด หรือเรียกว่า สนามอี้คัง การกระตุ้นประสาทสัมผัสเพื่อบรรเทาอารมณ์ด้านลบ เช่น ความเครียด ความเศร้า ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ การร่วมกิจกรรม คือ การรับรู้ประสบการณ์จากการลงมือทำ เช่น การหว่าน การจัดดอกไม้ การพิมพ์ดอก การปั้นมอสบอล เป็นต้น นอกจากการจัดการหลักสูตรกรีนแคร์แล้ว ยังมีการจัดกิจกรรมรับประทานอาหารร่วมกันสำหรับผู้สูงอายุ โดยให้ความสำคัญกับการใช้ส่วนผสม วัตถุดิบอาหารในท้องถิ่นที่มีประวัติการผลิต อาหารที่มีความสมดุล อ่อนนุ่ม และรสชาติที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ

ความสำคัญของกรีนแคร์ในผู้สูงอายุ

1. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เชิงบวกในผู้สูงอายุ

กรีนแคร์ ทำหน้าที่หลายอย่าง รวมถึงโอกาสในการพบปะสังสรรค์เข้าสังคมของผู้สูงอายุ การออกกำลังกาย การปรับอารมณ์ผ่านการมองทางสายตาที่เพลิดเพลิน ผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเกิดจากความบกพร่องหรือการสูญเสียความทรงจำ ความบกพร่องในการคิดและตัดสินใจ ผลการศึกษาในต่างประเทศ พบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมพืชสวนบำบัด จะได้รับสิ่งกระตุ้นจากภายนอกมากกว่าผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นด้านการสัมผัส การได้กลิ่น และการมองเห็น เนื่องจากการเข้าร่วมกิจกรรมกรีนแคร์จะเพิ่มโอกาสในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น ทำให้อารมณ์คงที่มากยิ่งขึ้น และยังทำให้อารมณ์ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย (Robson and Troutman-Jordan, 2015)

2. ประโยชน์ของกรีนแคร์

พืชเป็นสิ่งมีชีวิต ระหว่างกระบวนการดูแลพืช คุณจะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงในชีวิตอย่างต่อเนื่อง การเกิดใบใหม่ ดอกตูมใหม่ ดอกไม้บาน และดอกไม้ร่วง ชีวิตที่ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อผู้สูงอายุรู้สึกว่ามีชีวิตที่ต้องดูแลเอาใจใส่ก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับตนเองได้เช่นกัน ผสมผสานความเขียวขจีธรรมชาติของชุมชนในชนบท กับประสบการณ์ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ออกแบบกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย นำพาผู้สูงอายุออกจากบ้านและหลีกหนีความเหงา กิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมอื่นๆที่หลากหลาย อาทิเช่น กิจกรรมทัวร์พร้อมไกด์, กิจกรรมอาหารและการเกษตร, กิจกรรมการจัดสวน, กิจกรรมศิลปะดอกไม้, งานหัตถกรรม LOHAS, และกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับเยาวชน ฯลฯ

บทสรุป

เมื่อเผชิญกับปัญหาที่ใกล้เข้ามาของสังคมผู้สูงอายุ กรีนแคร์มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ไต้หวันมีคนชราที่อยู่บ้านจำนวนมาก พวกเขาไม่มีสังคม อยู่ในสภาพแวดล้อมปิดเป็นเวลานาน ออกกำลังกายไม่เพียงพอ และขาดการกระตุ้นจากภายนอก จึงมักเกิดความเหงาและเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งเหตุเหล่านี้เป็นสาเหตุของอาการโรคสมองเสื่อมและโรคเรื้อรังอื่นที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุ เป็นการส่งเสริม ให้ผู้สูงอายุอาศัยในบ้านที่อยู่อาศัยของตนเอง ไม่ต้องย้ายเข้าบ้านพักคนชรา สามารถอยู่คนเดียวที่บ้านได้ด้วยนโยบายการดูแลระยะยาว 2.0 ของรัฐบาลไต้หวัน ที่มีการกำหนดตารางเยี่ยมเยือนและดูแลความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานนั้น เป็นเพียงการแก้ปัญหาทางสรีระร่างกายของผู้สูงอายุเท่านั้น แล้วจิตใจของผู้สูงอายุล่ะ เป็นอย่างไร หลังเกษียณและความชรา ยังหมายถึง การหลีกหนีการติดต่อในอดีต กรีนแคร์ที่เกิดจากความร่วมมือของสมาคมเกษตรกรรมและการประมง และเครือข่ายชุมชนในชนบท มีการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ กระตุ้นให้ผู้สูงอายุกลับเข้าสู่ชุมชน เพิ่มอัตลักษณ์ในชุมชนที่อาศัยอยู่ และพัฒนา ความสัมพันธ์ทางสังคมใหม่ ๆ ให้กับผู้สูงอายุ