แนะนำแนวทางการตลาดสีเขียวสู่ตลาด/ย่านธุรกิจ
การแนะนำทางการตลาดสีเขียวสู่ตลาด/ย่านช้อปปิ้ง เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการส่งเสริมการตลาดสีเขียว ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญหลักของ China Productivity Center : CPC มาโดยตลอด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา CPC ได้ทำการส่งเสริมแนะแนวอย่างตั้งใจและเสริมสร้างจนเป็นแบบอย่างที่ดี อาทิเช่น ตลาดไท่ซานเมืองนิวไทเป (Taishan Public Market, New Taipei City), ย่านธุรกิจถนนต้าลู่เมืองไถจง (Dalong Road Shopping Area, Taichung City) แม้ว่าร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการผ่านกลไกการคัดเลือกที่มีการวางแผนมาอย่างดี แต่ผลลัพท์อาจแตกต่างกันไปตามแผนปฏิบัติการที่ดำเนินการ ทั้งยังขึ้นอยู่กับทรัพยากรและเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลาด/ย่านการค้าที่แตกต่างกัน พื้นฐานการทำงานที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนการแนะแนวให้คำปรึกษา เพื่อให้สามารถวางแผนการให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางที่เหมาะสมที่สุด ให้สามารถแสดงผลได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น
ขอบข่ายการแนะแนวทาง
วัตถุประสงค์หลักของการทำตลาดสีเขียว คือ การส่งเสริมการบริโภคและการจำหน่ายสินค้าสีเขียว (สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) ผ่านกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดในอนาคต สิ่งที่เรียกว่า ธุรกิจ คือกระบวนการดำเนินงานดังรูปด้านล่างนี้ ดังนั้น การตลาดสีเขียว จำเป็นต้องครอบคลุมให้ครบวงจร เมื่อทำการประชาสัมพันธ์ ขอบเขตของการประชาสัมพันธ์จะต้องครอบคลุมขอบเขตของกิจกรรมเชิงพาณิชย์ อาทิเช่น การออกแบบ→การจัดซื้อจัดจ้าง→การผลิต→บรรจุภัณฑ์→การตลาด→ การขนส่ง → การขาย → การบริโภค → การใช้ → การทิ้ง เพื่อขยายผลของการให้คำปรึกษาและการประชาสัมพันธ์
ดังนั้น รูปด้านบน ใช้สีเขียวเข้มแสดงถึงขอบเขตการให้คำแนะนำ แนวการทำตลาดสีเขียวในตลาด/ย่านธุรกิจ นั่นคือ ขั้นตอนของการซื้อ + การตลาด + การขาย + การบริโภค + การใช้ ซึ่งมีภารกิจหลักดังนี้:
ก. การจัดซื้อจัดจ้าง→การแนะนำและการจัดการสินค้าสีเขียว (สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)
ข. การตลาด→การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์การตลาดสีเขียว
ค. การขาย → การจัดการสภาพแวดล้อมร้านค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและถูกสุขอนามัย
ง. การบริโภค→การส่งเสริมแนวคิดการบริโภคสีเขียว
จ. การใช้→การส่งเสริมการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่หรือการรีไซเคิล
การวางแผนเนื้อหาในการให้คำปรึกษาด้านการตลาดสีเขียวและแนวทางปฏิบัติ
ก. การแนะนำสินค้าสีเขียวและการบริหารจัดการ
1. การให้ข้อมูลสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสินค้าออร์แกนิก
- ให้ข้อมูลสินค้าที่มีเครื่องหมายสีเขียว
- ให้ข้อมูลสินค้าเกษตรที่มีเครื่องหมายออร์แกนิก
- ให้ข้อมูลประวัติการผลิตและการรับรองความปลอดภัยของอาหาร
- ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์มลพิษต่ำ, รีไซเคิล, และประหยัดทรัพยากร"
2. การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสินค้าออร์แกนนิก
- การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายสีเขียว
- การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีใบรับรองออร์แกนิก
- การจัดซื้ออาหารที่มีประวัติการผลิตและได้รับการรับรองความปลอดภัยจากหน่วยงานเกษตร
- การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากถูกต้องตามพระราชบัญญัติฉลากของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ
- ไม่จัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฟอกขาวหรือผลิตภัณฑ์ที่ใส่สารกันบูด, สีผสมอาหาร, และสารเติมแต่งอื่นๆ
- การจัดซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมายระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน
- การใช้วัตถุดิบที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ, ปลอดสารพิษ, หรือมาจากธรรมชาติ
- การจัดซื้อสินค้าที่ง่ายต่อการกำจัดของเสียหลังการใช้งาน
- การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามข้อกำหนด มลพิษต่ำ รีไซเคิลได้ และประหยัดทรัพยากร
3. การบริหารจัดการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสินค้าแอร์แกนิก
- การบริหารจัดการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสินค้าออร์แกนิก
- การบริหารจัดการคงคลังสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสินค้าออร์แกนิก
- การบำรุงรักษาและการจัดการคุณภาพสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสินค้าออร์แกนิก
ข. การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์การตลาดสีเขียว
1. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การจัดซื้อและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับแนวคิดการบริโภคสีเขียว
- การตรวจสอบวันหมดอายุของรายการอาหารที่จำหน่ายบนชั้นวางอย่างสม่ำเสมอ
- การจัดวางแสดงสินค้าที่ดีและเหมาะสม
- การใช้บรรจุภัณฑ์สินค้าที่เหมาะสม และพยายามใช้วัสดุรีไซเคิลหรือบรรจุภัณฑ์กระดาษรีไซเคิลให้มากที่สุด
- อื่นๆ
2. กลยุทธ์การกำหนดราคาสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- กลยุทธ์การให้ส่วนลด (เช่น ส่วนลดสำหรับถุง, ถ้วย, เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เป็นต้น)
- กลยุทธ์ราคาสูง (เช่น ราคาสินค้าปลอดสารพิษ จะมีราคาแพงกว่าสินค้าทั่วไป)
3. กลยุทธ์ช่องทางขายสีเขียว
- การจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา ช่องทางนำส่งสินค้า และการรีไซเคิลขยะของเสีย
- การลดจำนวนครั้งที่ใช้ในการส่งวัตถุดิบ การส่งเสริมสินค้า และระยะทางขนส่ง
- การใช้อินเตอร์เน็ตในการส่งเสริมการขาย ลดการสิ้นเปลืองกระดาษ
4. กลยุทธ์การส่งเสริมสีเขียว
- จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- จัดหรือเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- เผยแพร่บทความส่งเสริมการบริโภคสีเขียว
- เผยแพร่แนวปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขององค์กรสู่ผู้บริโภค
- การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- จัดเตรียมถุงหิ้วและผลิตภัณฑ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ฟรีให้กับผู้บริโภค
ค. สิ่งแวดล้อมสีเขียวและการจัดการด้านสุขอนามัย
1. แหล่งที่มาของสินค้า
- ฉลากสินค้าถูกต้องตามข้อกำหนดกฏหมายว่าด้วยฉลากผลิตภัณฑ์ ของกรมอนามัยและสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
- สินค้าติดฉลากชัดเจน
- ทำการตรวจสอบว่า มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์คุณภาพต่ำไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
2. ความสะอาดและสุขอนามัยของร้านค้า
- กำหนดพื้นที่รับผิดชอบของพนักงานทำความสะอาดแต่ละคน และทำการตรวจสอบเป็นระยะ
- กำหนดให้แต่ละร้านค้าจะต้องทำความสะอาดสภาพแวดล้อมโดยรอบอย่างละเอียดทุกวัน หลังเลิกงาน
- กำหนดตารางวันเวลาทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมโดยละเอียดทุกเดือน เพื่อความสะอาดของรางน้ำและสิ่งแวดล้อมโดยรอบอย่างทั่วถึง
- ดำเนินการฆ่าเชื้อในสิ่งแวดล้อมอย่างครอบคลุมในวันหยุดนักขัตฤกษ์
- ลดการใช้ผงซักฟอก ยาฆ่าแมลง และสารเคมีอื่นๆ ปรับใช้ของเหลวจากแบคทีเรียตามธรรมชาติ
- รณรงค์ไม่ขายสัตว์ปีกมีชีวิต หรือเชือดสัตว์ในร้าน เพื่อรักษาความสะอาดสิ่งแวดล้อม (สำหรับตลาดสีเขียว)
3. ภูมิทัศน์สีเขียว
- การจัดวางกระถางต้นไม้สีเขียวในพื้นที่สาธารณะ
- การรณรงค์ปลูกต้นไม้และดอกไม้อย่างกว้างขวาง
ง. การส่งเสริมแนวคิดการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
1. เสริมสร้างแนวคิดธุรกิจสีเขียวในองค์กร
- พัฒนาปฏิญญาสีเขียว (การปกป้องสิ่งแวดล้อม) ขององค์กร
- คณะทำงานโครงการส่งเสริมสีเขียวและมีการแบ่งงานอย่างชัดเจน
- ติดประกาศสีเขียว (การปกป้องสิ่งแวดล้อม) วลีประหยัดพลังงานและวลีประหยัดน้ำอย่างชัดเจน
- การจัดการหลักสูตรการอบรมการส่งเสริมแนวคิดสีเขียวภายในองค์กร
2. การส่งเสริมให้ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์การบริโภคสีเขียว
- การโฆษณาประชาสัมพันธ์การบริโภคสีเขียว
- การเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์การบริโภคสีเขียว
- การถ่ายทอดแนวคิดการรักษาสิ่งแวดล้อมและข้อความสีเขียวแก่ผู้บริโภคผ่านกิจกรรมต่างๆ
จ. การสนับสนุนการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล
1. การลดและแยกประเภทของขยะ
- ปฏิบัติตามระเบียบการคัดแยกขยะของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Administration: EPA) อย่างเคร่งครัด
- จัดวางถังขยะรีไซเคิล
- ลดการใช้ภาชนะใช้แล้วทิ้งและลดการใช้ถุงพลาสติก
2. การใช้ของมือสอง
- การบริจาคสินค้ามือสองที่ไม่ต้องการให้กับองค์กรสาธารณประโยชน์หรือนำไปขายในตลาดนัด
- ส่งเสริมให้ซ่อมแซมอุปกรณ์ที่แตกหักเสียหายแทนการเปลี่ยน
- ส่งเสริมให้บำรุงรักษาอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกเป็นประจำ
3. การนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่
- การประยุกต์ใช้ขวดพลาสติกและผ้าเหลือใช้ มาทำเป็นกระถางดอกไม้/ต้นไม้แบบแขวน
- การรีไซเคิลกล่องกระดาษและการนำผลิตภัณฑ์โฟมกลับมาใช้ซ้ำหรือส่งมอบให้กับผู้ผลิตเพื่อรีไซเคิล
- ขวดและเหยือกแก้วเก่า สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นภาชนะใส่ดอกไม้และน้ำ
- นำเศษอาหารในครัวเรือนมาทำเป็นปุ๋ยหมัก
- การเก็บน้ำฝน เพื่อรดน้ำต้นไม้
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำการตลาดสีเขียว คือ การรับรู้และเข้าใจแนวคิดสีเขียวอย่างแท้จริง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ และยังช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสีเขียวที่ดีสำหรับผู้บริโภครุ่นต่อๆ ไป