ตัวอย่างของการเสริมสร้างชุมชน: การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนเหมยซี (Meixi)
Cheng Shih-Chun(China Productivity Center Incubation and Entrepreneurship Services Department)
คำนำ
ตั้งแต่รัฐบาลส่งเสริมนโยบาย การเสริมสร้างชุมชนในภาพรวม ในปี 1990 การเสริมสร้างชุมชน จึงเป็นสิ่งที่หลายชุมชนในไต้หวัน (รวมถึงพื้นที่ชนบท หมู่บ้านชาวประมง และชนเผ่าพื้นเมือง) ให้ความสนใจปฏิบัติโดยหวังว่าผู้อาศัยในชุมชนใส่ใจกับปัญหาสาธารณสุขของชุมชน ผลักดันและกระตุ้นให้เกิดงานในชุมชนหรือในอุตสาหกรรมท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปกว่า 20 ปีแล้ว จะเห็นได้ว่าการดำเนินการเสริมสร้างชุมชนหลายแห่งได้ค่อยๆ กลายเป็น การทำตามตัวอย่าง หรือ การจัดสรรทรัพยากร และเนื่องจากการเลียนแบบไปมาระหว่างชุมชนและการปรับประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมท้องถิ่น ทำให้วิถีและสินค้าผลิตภัณฑ์มีคล้ายคลึงกันสูง การพัฒนาเสริมสร้างชุมชนดูเหมือนจะเข้าสู่ภาวะลำบากไม่พัฒนาผู้เขียนขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ที่ได้สัมผัสในงานให้คำปรึกษาชุมชน โดยหวังว่าจะทำให้ผู้อ่านได้รับแรงบันดาลใจ แนวคิด และแนวปฏิบัติใหม่ๆ ในการการเสริมสร้างชุมชน
ชุมชนหมู่บ้านเหมยซี (Meixi) ตั้งอยู่ในเขตเหรินอ้าย (Ren Ai) เมืองหนานโถว (Nantou) เป็นเส้นทางท่องเที่ยวไปอู้เส้อ (Wushe) และฟาร์มแกะชิงจิ้ง (Qingjing Farm) ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 14 ของไต้หวัน ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองเผ่าไส้เต๋อเค่อ (Seediq) รายได้หลักมาจาก ไร่ชาและสวนผลไม้ เป็นต้น ในอดีตเคยมีชื่อเสียง เป็นอาณาจักรผีเสื้อที่ตั้งอยู่ตอนกลางของไต้หวัน แต่ต่อมาถิ่นที่อยู่ของผีเสื้อตามธรรมชาติถูกทำลายโดยฝีมือมนุษย์และภัยธรรมชาติ ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศวิทยาของผีเสื้อ ประกอบกับคนรุ่นใหม่ออกไปหางานทำในเมืองใหญ่ ปัญหาประชากรสูงวัย อุตสาหกรรมซบเซา และอิทธิพลที่เกี่ยวเนื่องมาตั้งแต่สมัยญี่ปุ่นปกครองไต้หวันที่เล็งเห็นการเกษตรเป็นงานเก่าแก่ดั้งเดิม คนหนุ่มสาวสมัยใหม่ไม่ยินดีสืบสานงานต่อ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีกลุ่มคนหนุ่มสาวชุมชนหมู่บ้านเหมยซี (Meixi) ที่เคยไปหางานทำในเมือง เดินทางกลับบ้านเกิด มาทำธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยเน้นขายเอกลักษณ์จุดเด่นของชุมชนหมู่บ้านเหมยซี พวกเขาไม่เพียงสร้างที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับระบบนิเวศขึ้นมาใหม่ ทั้งยังฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนเผ่าไส้เต๋อเค่อ(Seediq) นอกจากนี้ยังจัดการอบรมแนะนำให้ความรู้ทางการเกษตรและการเกษตรอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของชนเผ่า ในขณะเดียวกันก็สร้างค่านิยมความต้องการใช้สินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นอีกด้วย
ทำความรู้จักกับแก่นรากของคุณและรื้อฟื้นความทรงจำ/วัฒนธรรมดั้งเดิม
คนหนุ่มสาวกลุ่มนี้ทยอยกลับสู่ชุมชน ตั้งแต่เมื่อประมาณ 11 ปีที่แล้ว แต่ในช่วงแรกพวกเขาค่อนข้างสับสนมากไม่เพียงแต่ไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมของชุมชนและวัฒนธรรมของตนเอง ยังไม่รู้ความต้องการและปัญหาความยากลำบากของชุมชนคืออะไร และพวกเขาสามารถทำอะไรได้ ดังนั้นคุณหวังเจียชวิน (Wang Chia Hsun) ที่มีอายุมากกว่า จึงค่อยๆ เริ่มโครงการโดยเริ่มจากการรื้อฟื้นความทรงจำวัฒนธรรมเก่าแก่ดั้งเดิมในชุมชน รวบรวมคนรุ่นใหม่ที่กลับมาบ้านเกิดเหมือนกัน ทำการตรวจสอบประวัติของวัฒนธรรมในชุมชน จัดทำชีวประวัติของผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนที่ละท่าน และเรียนรู้วัฒนธรรมดั้งเดิมต่างๆ เช่น การทอผ้า การล่าสัตว์ การกิน หรือแม้กระทั่งการสร้างบ้านแบบดั้งเดิม
ในช่วงแรกปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่พวกเขาประสบ คือการไม่เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน ถูกตั้งคำถามบ่อยครั้งว่า ทำอย่างนี้เพื่ออะไร ทำแล้วได้อะไร ขั้นตอนวิถีการสร้างและอาศัยในบ้านแบบดั้งเดิมนั้น สูญหายไปนานแล้ว แต่มีเพียงคนที่มีอายุมากกว่า 80 ปี เท่านั้นที่ยังคงอาศัยอยู่ หลังจากรวบรวมความทรงจำของผู้เฒ่าผู้แก่และบันทึกเอกสารต่างๆ แล้ว บ้านหลังแรกก็ถูกสร้างขึ้น แต่ถูกผู้ใหญ่ในชุมชนตำหนิว่า ไม่มีความคล้ายคลึงกับของเดิมเลย พวกเขาไม่ย่อท้อและทำงานหนักขึ้น เพื่อแก้ไขและปรับปรุงบ้านโบราณดั้งเดิม และทำการสร้างเพิ่มอีกสามหลังในเวลาต่อมา พวกเขาค่อยๆได้รับการยอมรับจากคนในชุมชนมากขึ้น และมีคนเข้าร่วมโครงการมากขึ้นเรื่อยๆ
ยึดมั่นในแนวคิดเพื่อความยั่งยืนของเผ่าไส้เต๋อเค่อ (Seediq) และส่งเสริมโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คุณหวังเจียชวิน (Wang Chia Hsun) ให้ความสำคัญกับวัฒธรรมของเผ่าไส้เต๋อเค่อ ให้ความสำคัญกับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำสมาชิกชนเผ่าสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของผีเสื้อโดยรอบ ดูแลลำธารและปลูกต้นไม้ที่เป็นอาหารของผึ้ง จัดหลักสูตรอบรมให้สมาชิกในเผ่า เป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจระบบนิเวศวิทยา เข้าใจระบบนิเวศของผีเสื้อ และปลูกฝังแนวแนวคิดของเผ่า ในเวลาเดียวกันเขายังเห็นว่า มีที่ดินว่างเปล่าจำนวนมาก ถูกปล่อยให้บุคคลภายนอกเช่า เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ การใช้ยาฆ่าแมลงหรือปุ๋ยเคมีในระยะยาว ทำให้คุณภาพดินและระบบนิเวศเสียหาย ดังนั้นเขาจึงเริ่มส่งเสริมแนวคิดการทำเกษตรร่วมกัน และการทำไร่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการมาให้ความรู้วิธีการทำวัตถุดิบด้วยตัวเองและลดต้นทุนการผลิต คนรุ่นใหม่มีหน้าที่หาช่องทางและวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อช่วยในการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรสู่ตลาดภายนอก ด้วยความพยายามของพวกเขาจำนวนและประเภทของผีเสื้อ ก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ไม่เพียงแต่คนรักผีเสื้อในประเทศและนักวิจัยเท่านั้นที่กลับเข้าพื้นที่ ยังมีช่างภาพจำนวนมากจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนใจเดินทางมาเยี่ยมชมผีเสื้อที่นี่ ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมของทุกปี เพื่อบันทึกนิเวศวิทยาของผีเสื้อซึ่งเพิ่มโอกาสทางธุรกิจพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
คุณหวังเจียชวิน (Wang Chia Hsun) มีความตั้งใจมาก เขาใช้เวลาหลายปีในการเกลี้ยกล่อมผู้อาวุโสในชนเผ่าหลายคน ทำการเช่าที่ดินเพื่อสร้างสระน้ำอนุรักษ์ระบบนิเวศ นอกจากนี้เขายังได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อดำเนินโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ อาทิเช่น การขุดบ่อน้ำ การทำทางน้ำ การปลูกพืชที่เป็นอาหารของผึ้ง วาดเป้าสร้างที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูระบบนิเวศทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้านเหมยซี (Meixi) ในอดีต ปัจจุบันคุณสามารถมองเห็นแมลงปอและผีเสื้อโบยบินในบ่อน้ำ ดอกไม้และต้นไม้ผลิดอกออกผล สัตว์ป่าอย่างเก้งป่าและหมูป่ามาที่บ่อน้ำแห่งน้ำในช่วงเวลากลางคืน นอกจากนี้เด็กนักเรียนของชนเผ่าก็ไม่ต้องเสี่ยงกับการจราจรที่หนาแน่นและรวดเร็วบนถนนเส้นไต้หวันที่ 14 อีกต่อไป เด็กสามารถเพลิดเพลินกับทัศนียภาพที่สวยงามของบ่อน้ำเชิงนิเวศแห่งนี้
แนะนำองค์ประกอบที่เป็นนวัตกรรมและสร้างบริการประสบการณ์สัมผัสทั้งห้า
นอกจากการฟื้นฟูวัฒนธรรมและการฟื้นฟูระบบนิเวศน์แล้ว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่หมู่บ้านเหมยซี (Meixi) ยังพัฒนาจากรูปแบบทัวร์ฟาร์มทั่วไปที่เรียบง่าย นอกจากการแนะนำให้ลองชิมอาหารของชนเผ่าแล้ว คุณหวังเจียชวิน (Wang Chia Hsun) ยังได้เพิ่มกิจกรรมที่กำลังเป็นที่นิยมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนี้ เป็นการผสมผสานกับผลผลิตในพื้นที่กับวัตถุดิบต่างๆ (หมู ไก่ ไข่ไก่ และอื่นๆ) เปิดเป็นโรงเรียนสอนทำอาหาร Cooking School ที่สร้างสรรค์ ตั้งแต่ขั้นตอนการแปรรูปและส่วนผสมในการปรุงอาหาร นักท่องเที่ยวไม่เพียงแต่จะได้ความรู้ความเข้าใจการทำฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังได้รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งยังเข้าใจถึงความงดงามของวัฒนธรรมอาหารแบบดั้งเดิมของชนเผ่าไส่เต๋อเค่อ (Seediq) ได้รับประทานอาหารที่สดใหม่และอร่อย นักท่องเที่ยวจะได้รับประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ผ่านกิจกรรมการทำอาหารและการรับประทานอาหารร่วมกัน
สำหรับคุณหวังเจียชวิน (Wang Chia Hsun) และคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้าน ไม่ได้ลอกเลียนแนวคิดประสบการณ์คนอื่นอย่างไม่เข้าใจ พวกเขาเริ่มจากการทำความรู้จัก เข้าใจวัฒนธรรมชนเผ่าของตนเอง ผ่านการเรียนรู้ ค้นหา และคิดอย่างรอบเป็นระบบ พบจุดต่าง เอกลักษณ์ของชนเผ่าตนเอง สื่อสารให้สมาชิกคนอื่นๆ เข้าใจถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กระแสความต้องการของตลาด การอนุรักษ์ไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะของชนเผ่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าหมู่บ้านเหมยซี (Meixi) ประสบความสำเร็จ แต่สิ่งที่เราเห็นปัจจุบันคือ มีการสืบสานวัฒนธรรมชนเผ่าจากรุ่นสู่รุ่น มีการใช้ทรัพยากรในพื้นที่อย่างมีระบบระเบียบโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการคำนึงถึงแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน