การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบุกเบิกตลาดอินเดีย โอกาสและความได้เปรียบของไต้หวันในด้านเทคโนโลยีสีเขียว
JESSICA LEE(China Productivity Center APO Affairs Department)
การเติบโตของอินเดีย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความต้องการเทคโนโลยีสีเขียวที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบันอินเดียเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนมากเป็นอันดับที่สามของโลก โดยมีประชากร 1.252 พันล้านคน ในปี 2013 อินเดียกำลังเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย อาทิเช่น การขาดแคลนพลังงาน มลพิษในสิ่งแวดล้อม หลังจากนายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมที (Narendra Modi) เข้ารับตำแหน่ง เขาส่งเสริมให้ทุกคนในประเทศมีไฟฟ้าใช้อย่างจริงจัง และเสริมสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ในขณะเดียวกันพยายามควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไม่ให้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้ใช้พลังงานสีเขียว จากผลการวิจัยของ CleanTechnica ประเมินว่า อินเดียมีความต้องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ คิดเป็นร้อยละ 14 ของโลก ภายใต้นโยบายการส่งเสริมของรัฐบาลโมที (Modi) ในปี 2022 กำหนดติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 100GW ซึ่ง Mr. Pranav Mehta ประธานสหพันธ์พลังงานแสงอาทิตย์แห่งอินเดีย (National Solar Energy Federation of India: NSEFI) และยังเป็นประธานสภาพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลก (Global Solar Council : GSC) กล่าวว่า ปัจจุบัน ความคืบหน้าในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ของอินเดียมีเพียง 13GW เท่านั้น หากต้องการบรรลุเป้าหมายภายในเวลาที่กำหนด กล่าวคือ ภายใน 5 ปี อินเดียต้องติดตั้งอีก 87 GW ปัจจุบันกำลังการผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์ของอินเดียมีเพียง 4-5GW และกำลังการผลิตแบตเตอรี่มีพลังงานเพียง 2GW เท่านั้น อินเดียต้องการเร่งก่อสร้างโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลล์และต้องการวัตถุดิบอย่างเร่งด่วน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2017 รัฐบาลอินเดียจัดเก็บภาษีการขายสินค้าและบริการ (The Goods and Services Tax : GST) ร้อยละ 5 สำหรับผลิตภัณฑ์โซล่าเซลล์จัดเก็บอัตราภาษีที่ ร้อยละ 5 ซึ่งลดลงจากเดิมที่วางแผนจะเก็บสูงถึงร้อยละ 18 ด้วยสถานการณ์การลงทุนในอินเดียที่ปรับปรุงชัดเจนและโปร่งใสขึ้น ช่วยให้นักลงทุนไต้หวันที่ทำธุรกิจระหว่างเมืองต่างๆ 17 เมืองในอินเดีย สามารถลดขั้นตอนการตรวจสอบ ประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการจัดการได้ สร้างโอกาสในการขยายธุรกิจ
เศรษฐกิจของอินเดียกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว อินเดียกำลังนำเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมมาใช้อย่างรวดเร็ว เพื่อขับเคลื่อนการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อาคารและโรงเรียนเก่าแก่ของรัฐบาลทยอยทำการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้โครงการต้นแบบ อาคารใหม่ ๆ ก็ติดตั้งอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีการจ่ายไฟฟ้ารูปแบบใหม่ ๆ ทยอยออกมาเรื่อย ๆ โรงงานขนาดเล็กก็เริ่มปรับใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พื้นที่ชนบทเหมาะสำหรับการใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอย่างยิ่ง ช่วยปรับคุณภาพชีวิตที่เคยยากจน การกระตุ้นการสร้างพลังงานสีเขียว นวัตกรรมใหม่ รูปแบบการจัดเก็บและส่งผ่านพลังงานไฟฟ้า เป้าหมายของ Modi คือ การสร้างอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนระดับนานาชาติ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่จะนำมาซึ่งโอกาสในการดึงให้กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์มาลงทุนในอินเดีย ไต้หวันมีข้อได้เปรียบในด้านการผลิตและการออกแบบพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างมาก อนาคตจะสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนการใช้ของจีนที่คุณภาพและการบริการค่อนข้างน่าเป็นห่วง วิธีการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ประยุกต์ใช้ในพื้นที่ชนบทเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไต้หวันในการเจาะตลาดอินเดีย
อินเดียประสบปัญหาจากภาวะโลกร้อน การพัฒนาทางอุตสาหกรรมที่รวดเร็ว ภาวะมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และวิกฤติทรัพยากรน้ำซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชาชน จากรายงานการวิจัยของ McKinsey คาดว่าภายในปี 2030 น้ำประปาของอินเดียทั่วประเทศจะลดลงร้อยละ 50 และประชาชนเกือบ 100 ล้านคน จะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่มอย่างรุนแรง จากข้อมูลล่าสุดของเว็บไซต์น้ำ ประชากร 770 ล้านคนในอินเดียขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด และอีกกว่า 769 ล้านคนขาดสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัย การเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากร และการสิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วิกฤตน้ำในอินเดียรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำแห่งมหาวิทยาลัยเดลีในอินเดีย กล่าวว่า ประชากรของอินเดียกำลังเพิ่มขึ้นและจะเพิ่มสูงถึง 1.7 พันล้านคนในปี 2050 ซึ่งจะทำให้ปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในอินเดียรุนแรงยิ่งขึ้น
ตามแถลงการณ์ล่าสุดของ Central Water Commission of India แสดงให้เห็นว่า อินเดียได้บรรจุปัญหาความต้องการทรัพยากรน้ำอย่างเร่งด่วน ให้เป็นปัญหาระดับความมั่นคงของชาติแล้ว ปัจจุบันต้องแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ, ปรับปรุงคุณภาพน้ำใต้ดินและน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรม, เร่งใช้ทรัพยากรรีไซเคิลเพิ่มขึ้น ปัจจุบันความต้องการน้ำประปาเพิ่มขึ้น ในพื้นที่ชนบททั่วไปของอินเดียจะประสบปัญหาสุขภาพอย่างร้ายแรง เนื่องจากการดื่มน้ำบาดาล ทำให้รัฐบาลอินเดียต้องเร่งค้นหาแหล่งน้ำใหม่ๆ พัฒนาระบบบำบัดน้ำและระบบจ่ายน้ำประปา เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับบริษัทต่างๆ ทั่วโลกที่มีอุปกรณ์เครื่องมือสินค้าผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำ ในปี 2016 องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ทำการสำรวจประเทศที่ขาดแคลนน้ำทั่วโลก และอินเดียก็ได้รับการยืนยันอีกครั้ง ว่าเป็นประเทศที่ขาดแคลนน้ำ มีการคาดการณ์ว่า ในอนาคตพื้นที่บนโลกกว่า หนึ่งในสาม ต้องการเทคโนโลยีการบำบัดน้ำและการรีไซเคิลน้ำ
ความต้องการพลังงานสีเขียวและทรัพยากรน้ำที่อินเดียเผชิญอยู่ เป็นโอกาสดีสำหรับไต้หวันในการส่งเสริมการส่งออก เครื่องโซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้ในการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์, ป้องกันและควบคุมมลพิษทางน้ำ ซึ่งไต้หวันมีศักยภาพดี เนื่องจากรัฐบาลไต้หวันได้ส่งเสริมการป้องกันและควบคุมมลพิษของโรงงานทั่วประเทศตลอดเวลา 20 ปีที่ผ่านมา การนี้เองได้ยกระดับเทคโนโลยีการบำบัดน้ำและการรีไซเคิลทรัพยากรน้ำภายในประเทศได้เป็นอย่างมาก และยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
เนื่องจากอินเดียครอบคลุมกว้าง เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียใต้ มีประชากรเกือบ 1.3 พันล้านคน และมีภาษาราชการมากถึง 22 ภาษา รูปแบบอุตสาหกรรมของไต้หวัน กว่าร้อยละ 97 เป็นองค์กรขนาดกลาง-เล็ก หากจะผู้ผลิตบุกเบิกตลาดอินเดียด้วยตัวเอง ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงค่อนข้างสูง และต้องใช้บุคลากรประจำการในระยะยาว ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อมีโอกาสและความท้าทายในตลาดอินเดีย การบูรณาการทรัพยากรภายใต้การนำของรัฐบาล แผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบขั้นตอน แผนการวิจัยและจัดอบรมความรู้ ประกอบกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างไต้หวัน-อินเดีย ได้จับมือร่วมกับผู้ประกอบการระบบพลังงานแสงอาทิตย์, เทคโนโลยีเก็บพลังงาน, ทรัพยากรน้ำที่โด่ดเด่นของไต้หวัน เจาะตลาดเทคโนโลยีสีเขียวในอินเดีย และพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้นโยบายมุ่งใต้ใหม่ของไต้หวัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการแสวงหาความร่วมมือทางอุตสาหกรรม สร้างรูปแบบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บรรลุเป้าหมายของความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันและแสวงผลประโยชน์ร่วมกัน
ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว เชื่อมโยงรัฐบาลและอุตสาหกรรม บูรณาการทรัพยากร และพัฒนาไปสู่อินเดีย
เพื่อที่จะเข้าใจแนวโน้มการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสีเขียวของอินเดีย รัฐบาลไต้หวันกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นโอกาสใหม่ โดยใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์อันยาวนานขององค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย (Asian Productivity Organization) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า APO ซึ่งไต้หวันและอินเดียเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง ตลอด50 ปีที่ผ่านมา 19 ประเทศสมาชิกองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย (APO) ได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิด ส่งเสริมความร่วมมือพัฒนาผลผลิตร่วมกัน