เริ่มจากแก่นแท้ของท้องถิ่น เสริมสร้างระบบการเพิ่มมูลค่า
:::

เริ่มจากแก่นแท้ของท้องถิ่น เสริมสร้างระบบการเพิ่มมูลค่า

Denny Lee(China Productivity Center Agricultural Innovation Department)

ปี 2019 สภาบริหารไต้หวัน (Executive Yuan) ประกาศให้เป็นปีแรกของการเสริมสร้างท้องถิ่นในไต้หวัน กระทรวงและสมาคมต่างๆ ได้เริ่มอัดฉีดเงินและแรงสนับสนุนช่วยเหลือ อาทิเช่น โครงการ the Small Business Innovation Research (SBIR) ของกระทรวงเศรษฐการ (Ministry of Economic Affairs.: MOEA), โครงการพัฒนาสร้างสรรค์ชีวิต, โครงการเสริมสร้างชุมชนชนเผ่าต่างๆ ของ the Council of Indigenous Peoples, หน่วยปฏิบัติงานเสริมศักยภาพเยาวชนในชุมชนของสภาพัฒนาแห่งชาติ (the National Development Council) และอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมในสาขาต่างๆ เช่น ชนเผ่าพื้นเมือง วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว สานฝันและอุดมคติของพวกเขาให้เป็นจริง หวังว่าการสร้างงานสร้างรายได้ และการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตในท้องถิ่น จะสามารถดึงดูดผู้ที่มีทักษะความรู้ความสามารถให้กลับมาพัฒนาชุมชนบ้านเกิด

สี่ปีแห่งความพยายามของทุกฝ่าย หลายพื้นที่ประสบความสำเร็จ โดยได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐบาลและองค์กรเอกชนต่างๆ ประยุกต์ใช้จุดเด่นของชุมชนได้อย่างเต็มที่ และสร้างกิจการที่โดดเด่นขึ้นได้สำเร็จ อาทิเช่น ซอสถั่วเหลือง หยู่ติงซิน (Yu Ding Shing) เขตซีหลัว (Xi Luo) เมืองหยุนหลิน (Yun Lin) ที่เข้าร่วมโครงการ SBTR จนค้นพบจุดเด่นและเสน่ห์ของซีอิ๊วที่ทำด้วยฟืนแบบดั้งเดิมของชุมชน, แบรนด์ Fish Bar เขตลี่หยูถัน(Liyu Lake) เมืองฮวาเหลียน (Hualien) ที่เข้าร่วมอบรมพัฒนาของ the Soil and Water Conservation Bureau เปิดประสบการณ์สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารปลาในรูปแบบใหม่ รวมถึงสินค้าดีไซน์ชิคๆ และของที่ระลึกต่างๆ

ด้วยความพยายามของหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้เกิดภาวะแข่งขันขึ้นในชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เข้าใจการทำตลาดของการเสริมสร้างชุมชนท้องถิ่นในไต้หวันในอนาคต ผู้อ่านสามารถศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของมูลค่าเพิ่ม บทความนี้จะยกตัวอย่างกรณีศึกษา สะดวกในการทำความเข้าใจบริบทและองค์ประกอบของการเสริมสร้างชุมชนท้องถิ่น สำรวจความเป็นไปได้และแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของไต้หวัน

การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของไต้หวัน ยึดหลักการมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ประเทศญี่ปุ่น ที่เริ่มจากการสร้างสรรค์พัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่เปลี่ยนแปลงจำนวนการ ประชากรในท้องถิ่น, การสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเมืองและชนบท ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2019-2022) เกิดเรื่องราวต่างๆ มากมาย และยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ยกตัวอย่างเช่น เขตลู่เหย่ (Luye) เมืองไถตง (Taitung) ที่มีการจัดงานเทศกาลบอลลูนนานาชาติ (Taiwan International Balloon Festival) เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ แต่ในเวลาเดียวกันก็ทำให้เศรษฐกิจกระจุกตัวเฉพาะบางพื้นที่และบางเวลานั้น เกิดความแตกต่างที่ชัดเจน ระหว่างช่วงในและนอกฤดูกาลท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามยังการหดตัวของเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นำไปสู่การโยกย้ายออกของประชากรยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ สำนักงานเขตท้องถิ่น, กลุ่มเยาวชนที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิด, สมาคมพัฒนาชุมชน, และผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีลักษณะเฉพาะ สร้างจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร และไม่สามารถลอกเลียนได้

ลำดับขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติ ได้แก่ การออกใบอนุญาตให้ใช้ฉลากรับรองสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปการเกษตรที่เกี่ยวข้อง รีแบรนด์ผลิตภัณฑ์เกษตรของลู่เหย่ (Luye) เพิ่มคุณค่าและราคา ทำให้ผู้ผลิตได้รับผลประโยชน์มากขึ้น ในขณะเดียวกัน พัฒนาเพิ่มช่องทางขายออนไลน์ จัดกิจกรรมเชิงประสบการณ์ ดึงดูดนักท่องเที่ยว กระตุ้นการรับรู้และยอดขายสินค้าเกษตร ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

ดังนั้น สรุป วิธีการของลู่เหย่ (Luye) คือ การยกระดับและสร้างสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตให้ดีขึ้น โดยจับมือร่วมกับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในท้องถิ่น เร่งทำการพัฒนาและดึงดูดคนให้ยินดีกลับมาทำงานในชุมชนชนบทมากยิ่งขึ้น

แนวคิดและวิธีการเดียวกันนี้สามารถศึกษาได้จากกรณีศึกษาเขตสือซั่ง (Chishang) เมืองไถตง (Taitung) และเขตกวังฟู่ (Guangfu) เมืองฮวาเหลียน (Hualien) ยกตัวอย่างเช่น เขตสือซั่ง (Chishang) ที่ยึดหลักการเกษตรธรรมชาติประกอบกับเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เสริมสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ข้าวสือซั่งได้อย่างมาก ผนวกการท่องเที่ยวเชิงนวัตกรรม สร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวใหม่ๆ กระตุ้นยอดขายสินค้าได้เป็นอย่างดี ด้วย 3 ขั้นตอนการพัฒนากระตุ้นตลาด สามารถสร้างชุมนุมให้แข็งแกร่ง สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

เขตกวังฟู่ก็เช่นเดียวกัน ที่นอกจากจะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยประยุกต์ใช้นวัฒกรรมใหม่ๆ แล้วยังอาศัยวัฒนธรรม จุดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชนเผ่าพื้นเมืองฮวาเหลียน สร้างสรรค์สินค้าผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์สุรา ทั้งนี้ยังได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบรมให้ความรู้ในการทำตลาด สร้างสรรค์รายการนำเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้นักท่องเที่ยวสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ สร้างรายได้และกระตุ้นยอดขาย สร้างรายได้ให้กับชุมชน

การเพิ่มคุณค่าและเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับท้องถิ่น

รายงานผลความสำเร็จของแต่ละหน่วยงานในแต่ละพื้นที่ พบว่าการเสริมสร้างชุมชนในแต่ละท้องถิ่นในไต้หวัน มีพื้นฐานมาจากรูปแบบดังต่อไปนี้ เสริมสร้างแบรนด์ท้องถิ่นด้วยการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร สร้างสรรค์รายการนำเที่ยวเชิงประสบการณ์และวัฒนธรรม ให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้และสัมผัสด้วยตนเอง ดึงดูดความสนใจและสร้างกระแสให้เกิดความต้องการเดินทางมาท่องเที่ยว ภายใต้แนวปฏิบัตินี้ นอกจากการนำเสนออาหารพื้นเมืองแล้ว ยังจะสามารถทำการตลาดอะไรได้อีกบ้าง

ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะกอกที่มีชื่อเสียงในพื้นที่ยุโรป เป็นตัวอย่างความสำเร็จที่ดีในการสร้างสรรค์เนื้อหาบ่งบอกเอกลักษณ์จุดเด่นความแตกต่างของแต่ละผลิตภัณฑ์

เมืองลียง (Nyons) เป็นแหล่งผลิตน้ำมันมะกอกในประเทศฝรั่งเศส ที่อาศัยตรารับรองคุณภาพและการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ เพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อความอยู่รอดในตลาดที่แข่งขันสูง ผู้ผลิตน้ำมันมะกอกจะร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว ศึกษาจุดเด่นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสภาพดิน น้ำ อากาศ และวัฒนกรรมในเมืองลียง (Nyons) สร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ ดึงดูด และกระตุ้นความต้องการเดินทางไปสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ และเป็นประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาแหล่งผลิตน้ำมันมะกอกที่อื่น

ยกตัวอย่าง ผู้ผลิตและผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ร่วมกันสร้างสรรค์รายการนำเที่ยวที่สร้างการรับรู้และเข้าใจถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานในการเพาะปลูกมะกอก ในพื้นที่ที่มีประวัติยาวนานกว่า 2,000 ปี แนะนำกรรมวิธีการผลิต ตั้งแต่การเพาะปลูก การสกัด นอกจากวิวทิวทัศน์ชนบทแล้ว ยังมีร้านค้าต่างๆ ริมสองข้างทาง ที่สามารถสร้างสีสันและประสบการณ์ให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเมืองแห่งนี้ได้ไม่น้อย

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการน้ำมันมะกอกร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ พ่อครัวและร้านอาหารในท้องถิ่น อาศัยทักษะฝีมือการทำอาหารที่ยอดเยี่ยม เกิดความติดใจหลงใหลในอาหารมื้ออร่อยนี้ ผู้บริโภคสามารถรับรู้ได้ถึงความแตกต่างของน้ำมันมะกอกที่ปลูกในสภาพพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น สิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการสกัดน้ำมัน ได้อย่างชัดเจน ทำให้น้ำมันมะกอนที่ผลิตที่เมืองลียง (Nyons) ไม่เป็นเพียงแหล่งที่มาของน้ำมันมะกอก แต่ยังเป็นเสมือนตัวแทนของพื้นที่แห่งนี้

กล่าวโดยสรุป น้ำมันมะกอกลียัง (Nyons) ไม่เพียงเชื่อมโยงคน ผู้ผลิต สมาคมท่องเที่ยว ร้านอาหารเข้าไว้ด้วยกัน ยังจับมือกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย โดยผนวก วัฒนธรรมประเพณี ประวัติศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และทิวทัศน์ที่สวยงาม เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ให้ดึงดูด มีคุณค่า จนประสบความสำเร็จสามารถขายได้ในราคาที่สูงกว่าน้ำมันมะกอกทั่วไป 3 เท่า

คำแนะนำสำหรับการสร้างสรรค์ในอนาคต

จากกรณีศึกษาของน้ำมันมะกอกลียง ทำให้เราตระหนักว่า การเข้าใจดินที่ปลูก เรื่องราว ทรัพยากร และวัฒนธรรมในพื้นที่ ผนวกการเชื่อมโยงที่เหมาะสม ผลิตภัณฑ์ก็จะถูกเติมเต็มด้วยความหมายที่ลึกซึ้ง และการใช้งานได้จริง ไม่ใช่แค่การขายสร้างรายได้เท่านั้น

บริบทและแรงบันดาลใจนี้เอง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาชุมชนในไต้หวัน โดยอาศัยทีมงานในพื้นที่ระดมความคิด พิจารณา และทำการสำรวจภาคสนาม สภาพดินในแต่ละพื้นที่โดยละเอียด เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในพื้นที่ของตนเอง

ในขณะเดียวกัน ทรัพยากรหรือสิ่งค้นพบใต้ดิน สามารถนำไปต่อยอดในด้านต่างๆ อาทิ การออกแบบ การศึกษา เทคโนโลยี และอื่นๆ โดยเน้นปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น รสชาติของอาหาร สีของภาชนะที่ใช้ เอกลักษณ์ของท้องที่นั้นๆ ทำให้ผู้บริโภครับรู้และเข้าใจถึงความแตกต่างของแต่ละพื้นที่แต่ละผลิตภัณฑ์ สร้างชีวิตชีวาให้กับสินค้าผลิตภัณฑ์ แม้ในช่วงเวลาที่ภายนอกขาดแคลนทรัพยากร ชุมชนก็ยังสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง

ท้ายที่สุด ในช่วงดำเนินการโครงการพัฒนาชุมชน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากคือ เสถียรภาพของการค้าขาย ควรใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เป็นประโยชน์ สร้างเสริมคน สิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ และสถานที่ ยกระดับสินค้า เพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ และจับกลุ่มร่วมกันพัฒนาสินค้าเศรษฐกิจภายในชุมชนร่วมกัน