ร้านขายตรงของเกษตรกร (Farmers’ Direct Selling Station) เป็นแหล่งพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของเกษตรกรรายย่อย นักวิชาการด้านอาหารและเกษตร และผู้บริโภค
:::

ร้านขายตรงของเกษตรกร (Farmers’ Direct Selling Station) เป็นแหล่งพบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของเกษตรกรรายย่อย นักวิชาการด้านอาหารและเกษตร และผู้บริโภค

เวลาเก้าโมงเช้า ถนนเต็มไปด้วยรถรา ผู้คนเดินทางไปทำงานที่นิคมวิทยาศาสตร์ (HsinchuScience Park) ที่จอดรถขนาดใหญ่ด้านหน้ากรมส่งเสริมการเกษตรไต้หวันเต็มเกือบหมด กรมส่งเสริมการเกษตรเขตจู๋เป่ย (Zhubei) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ด้านข้างมีอาคารคอนกรีต มีมาสคอตน้องถั่วดำตั้งอยู่ตรงทางเข้า คอยต้อนรับทุกคนด้วยรอยยิ้ม นี่คือร้านขายตรงของเกษตรกรเขตจู๋เป่ย ที่มีถั่วดำเป็นสินค้าเกษตรชื่อดัง มีมูลค่าการซื้อขายมากกว่าหนึ่งร้อยล้านเหรียญไต้หวันต่อปี เป็นหนึ่งร้านขายตรงเกษตรกรที่ตั้งอยู่ในตัวเมือง และขายสินค้าเกษตรที่มีเอกลักษณ์ในท้องถิ่น

ร้านขายตรงของเกษตรกร (Farmer Outlet) คืออะไร

เป็นศูนย์รวมของผู้บริโภคและผู้ผลิต วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งร้านขายตรงของเกษตรกร

ร้านขายตรงของเกษตรกร จัดตั้งโดยสำนักงานเกษตรและอาหาร (Agriculture and Food Agency: AFA) ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตร (Ministry of Agriculture: MOA) เดิมสังกัดสภาเกษตร (Council of Agriculture: COA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตและขายภายในท้องถิ่น ลดต้นทุนการขนส่ง ลดขั้นตอนและเวลาจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยพิจารณาแบบอย่างของประเทศที่เจริญแล้วอย่างยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นเป็นต้น ให้เกษตรกรรายย่อยสามารถกำหนดราคาสินค้าของตนเอง วางขายในอาคารช่วงวันธรรมดา เกษตรกรมั่นใจกำลังซื้อและเกณฑ์การพิจารณาซื้อสินค้าของผู้บริโภค จึงไม่พยายามยืนพูดจาโน้มน้าวให้ซื้ออยู่ข้างๆ ตลอด นอกจากนี้ยังมีตลาดขายสินค้าเกษตรช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งจะจัดอยู่นอกอาคาร และเป็นโอกาสที่ดีที่เกษตรกรจะได้พบปะพูดคุยกับผู้บริโภคโดยตรง สามารถสานสัมพันธ์เป็นลูกค้าประจำ

ไม่ว่าจะเป็นร้านขายตรงของเกษตรกรหรือตลาดขายสินค้าเกษตร วัตถุประสงค์ของการส่งเสริม เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าเกษตรในท้องถิ่นที่สด สะอาด ปลอดภัย และยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ให้กับผู้ประกอบการ โดยอาศัยจุดเด่นเอกลักษณ์ในท้องถิ่นเป็นหลัก พัฒนาหลักเกณฑ์การผลิตที่เคารพธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จุดประสงค์ของการส่งเสริมจึงมุ่งไปที่การผลิตในท้องถิ่นและการบริโภคในท้องถิ่น ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับ "การกินตามฤดูกาล กินอาหารในท้องถิ่น" โดยหวังว่าจะเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมการบริโภคและพัฒนารูปแบบการขายสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน

ในปี 2022 สำนักงานเกษตรและอาหาร (Agriculture and Food Agency: AFA) ส่งเสริมให้การผลิตและบริโภคในท้องถิ่น จัดการฝึกอบรมหลักสูตรครั้งที่ 1 ให้พนักงานและเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร สามารถบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การเกษตรในท้องถิ่น ซึ่งรวมทั้งการปลูก การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การปรุง และหลักโภชนาการ เป็นศูนย์รวมของเกษตรกรกับผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ใช้ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นเป็นลักษณะเด่นของร้าน ทำให้ผู้บริโภคเพลิดเพลิน อยากเดินช้อปปิ้งในร้านนานๆ

ในปี 2021 พนักงานและเจ้าหน้าที่ภายใต้โครงการที่เกี่ยวข้องของร้านขายตรงเกษตรกร ไม่เพียงแต่จัดหลักสูตรฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านอาหารและการเกษตรเท่านั้น แต่ยังส่งเสริม Social Network Service : SNS และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านอาหารและการเกษตร โดยหวังว่าจะใช้สื่อออนไลน์ กระตุ้นความนิยมชื่นชอบ ในตัวเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านอาหารและการเกษตร และเสริมสร้างความไว้วางใจของผู้บริโภคที่มีต่อเจ้าหน้าที่ด้านอาหารและการเกษตร

การส่งเสริมประชาสัมพันธ์และการดำเนินงาน Social Network Service : SNS ที่กล่าวถึงข้างต้น จำเป็นต้องมีตัวอักษรและรูปภาพให้เป็นไปในทางเดียวกัน ดังนั้น สถาบันเพิ่มผลผลิตไต้หวัน (China Productivity Center: CPC) จึงทำงานร่วมกับบริษัทโฆษณาประชาสัมพันธ์ ดำเนินการถ่ายทำร้านขายตรงของเกษตรกรทั้ง 42 แห่งทั่วไต้หวัน ตั้งแต่เริ่มประสานงานถ่ายทำ ทำให้ได้ประสบเรื่องประหลาดใจหลายเรื่อง “สวัสดี นี่คุณซ่งใช่ไหม คุณได้รับเอกสารเรื่องการถ่ายทำร้านขายตรงของเกษตรกรอย่างเป็นทางการแล้วหรือไม่ ขอทราบว่าทางร้านฯ สะดวกให้เราไปถ่ายทำช่วงบ่ายวันพฤหัสบดีนี้หรือไม่?” “ใช่ ยินดีต้อนรับ” คุณซ่งตอบ

ในการประสานติดต่อร้านขายตรงของเกษตรกร ร้านที่เขตกวนซัน เมืองไถตง (Guanshan Taitung County) ทำให้ฉันประทับใจมากที่สุด ในบางครั้ง จะได้ยินเสียงไก่ขันดังขึ้นมา เดิมคิดว่าเป็นเสียงดนตรีที่เปิดในร้านฯ พอไปถึงที่ร้านถึงได้ทราบว่าทางร้านทำการตลาดโดยการผนวกกิจกรรมการท่องเที่ยวขายสินค้าเกษตรที่มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น ไม่เพียงแต่จะแนะนำข้าวและกิจกรรม DIY แต่ยังจัดเตรียมที่นั่งชงชาให้ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดอีกด้วย นอกจากนี้ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์จะเชิญโรงเรียนในท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชน สมาคมพัฒนาชุมชน และองค์กรอื่น ๆ มาร่วมกันจัดกิจกรรมการแสดง ด้วยกิจกรรมนี้เองทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคพัฒนาเพิ่มเติมจากการจับจ่ายซื้อของ ไปสู่การสื่อสารเชื่อมโยง มีการโต้ตอบ สร้างแรงจูงใจ เป็นการตลาดแบบปากต่อปาก กระตุ้นความต้องการเดินทางมาจับจ่ายซื้อของ

ตัวอย่างเช่น ร้านขายตรงของเกษตรกร ที่ผนวกการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมส่งเสริมสินค้าเกษตรของเกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่น ได้แก่ ร้านขายตรงของเกษตรกรเขตตงซานเมืองอี๋หลาน (Dongshan Yilan County) ซึ่งได้ร่วมกับการท่องเที่ยวแม่น้ำตงซาน (Dongshan River), ร้านขายตรงของเกษตรกรเขตอู้ฟง เมืองไถจง (Wufeng Taichung City) ซึ่งผนวกการผลิตเหล้าสาเก, และร้านขายตรงของเกษตรกรเขตหูเหว่ย เมืองหยุนหยิน (Huwei Yunlin County) ซึ่งได้ผนวกการเยี่ยมชมโรงงานถั่วลิสง (ภาพและรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง สามารถค้นหาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Farmer Station (https://www.farmerstation.tw/)

ร้านขายตรงของเกษตรกร ต่างกับ ช่องทางสินค้าเกษตรอื่นๆ อย่างไร?

รวมพลังเกษตรกรท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านอาหารและการเกษตร เป็นกันเองและมีเสน่ห์

ช่องทางทั่วไปในการซื้อสินค้าเกษตร ได้แก่ ตลาดขายผักแบบดั้งเดิม ตลาดทั่วไป ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายส่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต และผู้ค้าส่ง ฯลฯ ผนวกแนวคิดที่กล่าวไว้ในหนังสือ หลักการตลาด (Principles of Marketing) ของ Philip Kotler ผู้มีชื่อเสียงด้านการตลาด และ Gary Armstrong ปรมาจารย์ด้านการจัดการการตลาด กล่าวว่า การตลาดที่ดีคือการเข้าใจว่า "ลูกค้า" ต้องการอะไร แล้วออกแบบ "ผลิตภัณฑ์" ที่มุ่งเน้นตามความต้องการของลูกค้า และออกแบบกระบวนการ "บริการ" ที่ยอดเยี่ยม เป็นขั้นเป็นตอน มีการสอดรับของทุกหน่วย และก่อตั้งเป็นห้างสรรพสินค้า จากหลักการเบื้องต้นนี้ สามารถวิเคราะห์อย่างคร่าว ๆ เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง ลูกค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการของร้านขายตรงเกษตรกรและการขายในช่องทางอื่นๆ ได้ดังนี้

1. ความแตกต่างของลูกค้า

สิ่งที่เรียกว่า ความแตกต่างของลูกค้า หมายถึงคุณลักษณะและภูมิหลังที่แตกต่างกันของลูกค้า มีหลายวิธีในการแยกแยะตลาดลูกค้า อาทิ ตัวแปรทางภูมิศาสตร์ ประชากรศาสตร์ จิตวิทยา และพฤติกรรม ฯลฯ (คำอธิบายเพิ่มเติมในช่องด้านล่าง) ลูกค้าที่มีคุณลักษณะต่างกันย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในทางการตลาด จึงจำเป็นต้องแบ่งตลาดใหญ่ออกเป็นกลุ่มตลาดย่อยที่มีคุณสมบัติองค์ประกอบคล้ายคลึงกัน ตามความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า หลังจากแยกแยะแล้ว ให้เลือก ตลาดเป้าหมาย จากกลุ่มย่อยๆ จับกลุ่ม และกำหนดเป้าหมาย ความต้องการของตลาด ออกแบบแผนการตลาดให้น่าสนใจ

จากแบบสอบถาม จำนวน 437 ชุด ลูกค้าหลักที่จะไปจับจ่ายซื้อของที่ร้านขายตรงของเกษตรกร จะมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว (43%) รองลงมาคือผู้หญิงและผู้ชายที่ยังไม่แต่งงาน (28%) 2. ช่วงอายุระหว่าง 30-49 ปี 62% 3. นิสัยของครอบครัว คือ จัดปาร์ตี้ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ จากผลเชิงปริมาณนี้ผนวกกับการสุ่มสัมภาษณ์เชิงคุณภาพระหว่างการถ่ายทำ กลุ่มลูกค้าหลักของร้านขายตรงเกษตรกรในปัจจุบันอาจเป็นผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 30 - 49 ปี และส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน พนักงานออฟฟิศ (ข้าราชการ, ครูอาจารย์, พนักงานบริการทางการแพทย์, พนักงานบริษัท ฯลฯ)

2. ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์

สิ่งที่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ อาจจับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้ ยังรวมถึงการบริการ เรื่องราวเหตุการณ์ คน สถานที่ องค์กร และความคิด ตามหนังสือ หลักการตลาด สิ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้ามี 3 สิ่ง ได้แก่ ผลประโยชน์หลักที่ลูกค้าต้องการ, จับต้องได้ และของแถมหรือเสริม ผลประโยชน์หลัก คือ ความต้องการของผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค? จับต้องได้ หมายถึง การแปลงความต้องการของผู้บริโภคให้เป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติการบริการ, ความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้า, การออกแบบ มาตรฐานคุณภาพ ชื่อแบรนด์ และบรรจุภัณฑ์

ถัดมา คือของแถมหรือเสริม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หลักและเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ ได้แก่ บริการหลังการขาย การรับประกัน การติดตั้ง การจัดส่ง และเครดิต เป็นต้น นอกจาก3 ระดับสินค้า แล้ว สินค้ายังมีการแบ่งประเภท สินค้าออกเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค หมายถึง สินค้าที่ผู้บริโภคจะใช้เอง ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเพื่อความสะดวก สินค้าเสริม และสินค้าพิเศษ ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม คือ สินค้าที่ซื้อมาเพื่อแปรรูปหรือใช้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป ตามคำจำกัดความนี้ ผลิตภัณฑ์ของร้านขายตรงเกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นสินค้าสะดวกซื้อ ประเภทสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ ซื้อบ่อย วางแผนน้อย เปรียบเทียบน้อย และผู้ผลิตจะทำการส่งเสริมการขายสำหรับคนหมู่มาก

จากผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคในโครงการนี้ สาเหตุที่ผู้บริโภคคิดว่าสินค้าของร้านขายตรงของเกษตรกร มีความน่าซื้อนั้น มี 3 เหตุผลหลัก ได้แก่

สด:

สินค้าเกษตรส่งตรงถึงผู้บริโภค สินค้าส่วนใหญ่ในกรมส่งเสริมการเกษตรส่งตรงมาจากเกษตรกรในพื้นที่

การสนับสนุนท้องถิ่น:

ต้องการสนับสนุนสินค้าเกษตรในท้องถิ่นและสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย

ความปลอดภัยของอาหาร:

เชื่อว่ากรมส่งเสริมการเกษตรมีการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ เกษตรกรให้ร่วมมือกับนโยบายของรัฐบาล ในการดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ภายใต้มาตรฐาน 3 ตรา 1Q

กล่าวคือ ประโยชน์หลักของสินค้าผลิตภัณฑ์ในร้านขายตรงของเกษตรกร คือ ผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย มั่นใจได้ และสดใหม่ สินค้าที่จับต้องได้คือผักและผลไม้ที่ผลิตโดยเกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์เสริม คือ ความเชื่อที่ว่ากรมส่งเสริมการเกษตรจะทำการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่ขาย และจากการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ กรมส่งเสริมการเกษตรระบุว่ามีบริการหลังการขาย (ให้บริการคืนและแลกเปลี่ยนสินค้า) เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภคได้รับประสบการณ์การซื้อที่น่าพึงพอใจ นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวเกษตรและกิจกรรมการทำอาหารอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้บริโภคไม่เพียงแต่สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งที่ผลิต แต่ยังสามารถควบคุมการใช้วัตถุดิบให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

3. ความแตกต่างของบริการ

บริการ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างมากกับการขายผลิตภัณฑ์ มีลักษณะสำคัญสี่ประการ ได้แก่ จับต้องไม่ได้, แยกจากกันไม่ได้, ไม่แน่นอน, และการเน่าเสียง่าย สิ่งที่เรียกว่า จับต้องไม่ได้ หมายความว่า ประสาทสัมผัสทั้งห้าก่อนการขาย, ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ (Inseparability) หมายถึง การแยกออกจากผู้ให้บริการไม่ได้, ความไม่เสถียร หมายความว่า ความแตกต่างระหว่างผู้ให้บริการ เวลาและสถานที่ให้บริการ, การเน่าเสียง่าย หมายความว่าไม่สามารถเก็บไว้ เพื่อขายในภายหลังได้

จากคำจำกัดความและแบบสอบถามข้างต้น ผู้บริโภคคิดว่าการบริการของร้านขายตรงของเกษตรกรมีเสน่ห์ที่

บริการที่เป็นมิตร:

มีเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ มาแนะนำวิธีการถนอมวัตถุดิบ และแนะนำวิธีการปรุงอาหาร

ข้อมูลผู้ผลิตที่โปร่งใส:

ร้านขายตรงเป็นเวทีให้เกษตรกรรายย่อย สามารถลงรายการและกำหนดราคาได้ด้วยตนเอง กรมส่งเสริมการเกษตรบางแห่งจะโพสต์รูปเกษตรกรบนชั้นวางด้วย ในแง่หนึ่ง เป็นการสร้างความรู้สึกเป็นเกียรติแก่เกษตรกรรายย่อย นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้บริโภครู้ว่าอาหารของพวกเขาผลิตและเติบโตที่ไหน

บริการจองสินค้าออนไลน์:

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตรบางแห่งเริ่มเชื่อมต่อกับคนในชุมชนผ่านไลน์ ให้บริการสั่งซื้อซึ่งไม่เพียงจะแก้ปัญหาพนักงานออฟฟิศที่มีเวลาจำกัด หลังเลิกงานก็ไม่มีเวลาเลือกซื้อสินค้าได้อย่างละเอียดรอบคอบ ยังสามารถทราบปริมาณความต้องการของผู้บริโภคได้ พร้อมช่วยจัดการคงคลังจำนวนสินค้าเข้าและออกได้

นอกจากนี้ โครงการนี้ยังส่งเสริมเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านอาหารและการเกษตร (Food and Agriculture educators) และจัดหลักสูตรฝึกอบรมและการรับรองคุณวุฒิ และคาดว่า เจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านอาหารและการเกษตร จะสามารถบรรยายชีวิตวัฒนธรรมความเป็นอยู่และขั้นตอนการเพาะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวของสินค้าเกษตรต่างๆ ได้ที่ร้านขายตรง การพูดคุยหารือ เชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภค เน้นการโฆษณาประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ภายใต้เรื่องสุขภาพ, ความน่าเชื่อถือ, และความปลอดภัยของสินค้าเกษตรของไต้หวัน กระชับความสัมพันธ์ ดึงดูดให้ผู้บริโภคไปจับจ่ายซื้อของที่กรมส่งเสริมการเกษตร และยังช่วยให้ผู้ผลิตมั่นใจในการส่งสินค้าของตนไปวางขายในกรมส่งเสริมการเกษตร

จากที่กล่าวมาข้างต้น ความคล้ายคลึงระหว่างร้านขายตรงเกษตรกรกับช่องทางการขายสินค้าเกษตรอื่นๆ คือ ฐานลูกค้า แต่สิ่งที่ต่างกันคือผลิตภัณฑ์และบริการ ในส่วนของผลิตภัณฑ์ นอกจากการควบคุมคุณภาพโดยกรมส่งเสริมการเกษตรและการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ภายใต้มาตรฐาน 3 ตรา 1Q แล้ว ยังมีบริการหลังการขาย กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร และกิจกรรมทำอาหารที่เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ผู้ผลิตและผู้บริโภค ทั้งนี้ในส่วนของการบริการ นอกเหนือจากการบริการสั่งซื้อล่วงหน้า ผ่านสื่อออนไลน์ LINE ที่สะดวก แสดงข้อมูลผู้ผลิตชัดเจน มีเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านอาหารและการเกษตร ยังคาดหวังได้ว่าจะสร้างความเชื่อมโยงตรงกับผู้บริโภค

การเยี่ยมชม การถ่ายทำเก็บภาพ และความประทับใจ

ประเภทของร้านขายตรงของเกษตรกร การขยายฐานกลุ่มลูกค้าที่เป็นไปได้

โครงการนี้ ผู้เขียนและกลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโครงการนี้ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมร้านขายตรงของเกษตรกรจำนวน 41 แห่งทั่วไต้หวัน (หนึ่งในนั้นยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง) และพบว่าภายใต้การวางแผนที่ดี ร้านขายตรงของเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ทั่วไต้หวัน นอกจากเกษตรกรรายย่อยจะกำหนดราคาเองและตั้งหลักการต่างๆ ในร้านฯ แล้ว รูปแบบการพัฒนาก็แตกต่างกัน ผู้เขียนทำการแบ่งร้านขายตรงออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ประเภทดั้งเดิม, ประเภทซูเปอร์มาร์เก็ต, ประเภทท่องเที่ยว, ประเภทสร้างสรรค์ และประเภทพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งจะขอแนะนำทีละประเภท ดังนี้

1. ประเภทดั้งเดิม

หมายถึง ร้านขายตรงของเกษตรกรที่ครอบครองพื้นที่จำนวนหนึ่งในซูเปอร์มาร์เก็ตของกรมส่งเสริมการเกษตรประเภทดั้งเดิม ซึ่งอนุญาตให้เกษตรกรรายย่อยนำสินค้าของตนมาวางบนชั้นวางขายได้เอง ตัวอย่างเช่น ร้านขายตรงของเกษตรกรเขตอู๋กู่เมืองนิวไทเป (Wugu New Taipei City), ร้านขายตรงของเกษตกรเขตรุ่ยสุ้ยเมืองฮวาเหลียน (Ruisui Hualien County), และร้านขายตรงของเกษตรกรเขตเฉิงกงเมืองไถตง (RuiShui Taitung County) เป็นต้น

2. ประเภทซุปเปอร์มาร์เก็ต

หมายถึง ซุปเปอร์มาร์เก็ตของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ผ่านการปรับปรุงตกแต่งใหม่ ร้านขายตรงของเกษตรกรประเภทนี้ใช้พื้นที่จำนวนหนึ่งของซูเปอร์มาร์เก็ต เกษตรกรรายย่อยนำสินค้าของตนเองมาวางขายบนชั้นวางด้วยตนเอง และมีความเป็นไปได้สูงในการจัดหาวิธีการชำระเงิน เช่นการชำระด้วยบัตรเครดิตและการชำระเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น ร้านขายตรงของเกษตรกรเขตจื้อเสียงเมืองฮวาเหลียน (Ziqiang Hualien), ร้านขายตรงของเกษตรกรเขตตั้นสุ่ยเมืองนิวไทเป (Danshui New Taipei City) เป็นต้น

3. ประเภทท่องเที่ยว

กรมส่งเสริมการเกษตรใช้เอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น ผนวกการสันทนาการและการท่องเที่ยว สร้างสรรค์เส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตร ร่วมกันส่งเสริมสินค้าผลิตภัณฑ์ของกรมส่งเสริมการเกษตรและร้านขายตรงของเกษตรกร ตัวอย่างเช่น ร้านขายตรงของเกษตรกรเขตตงซานเมืองอี๋หลาน (Dongshan Yilan County), ร้านขายตรงของเกษตรกรเขตอู้ฟงเมืองไถจง (Wufeng Taichung City), และร้านขายตรงของเกษตรกรเขตกวนซานเมืองไถตง (Guanshan Taitung County) เป็นต้น

4. ประเภทสร้างสรรค์

โดยปกติแล้ว หน้าร้านจะค่อนข้างใหม่ ทันสมัย และมีชีวิตชีวา วัสดุการตกแต่งหน้าร้านส่วนใหญ่เป็นโทนสีไม้บางที่จะอักษรโปสเตอร์บนกระดานดำ หรือ บางที่ก็จับมือกับร้านกาแฟร่วมกันปรับแต่งร้านให้มีเอกลักษณ์เด่นพิเศษไม่เหมือนใคร ตัวอย่างเช่น ร้านขายตรงของเกษตรกรเขตซินผู่เมืองซินจู๋ (Xinpu Hsinchu County), ร้านขายตรงของเกษตรกรเมืองซินจู๋ (Hsinchu), ร้านขายตรงของเกษตรกรฟู่หลิน เขตฉงหลินเมืองซินจู๋ (Qionglin Hsinchu County), และร้านขายตรงของเกษตรกรเขตหูเหว่ยเมืองหยุนหลิน (Huwei Hsinchu County) เป็นต้น

5. ประเภทพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรม

หมายถึง ร้านขายตรงของเกษตรกรที่ตั้งอยู่ถัดจากแผนกสินเชื่อหรือข้างซูเปอร์มาร์เก็ต จับมือกับพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรม เน้นขายให้ลูกค้าที่เดินผ่านไปมา ตัวอย่างเช่น ร้านขายตรงของเกษตรกรเขตยู่หลี่เมืองฮวาเหลียน (Yuli Hualien County) ที่จับมือร่วมกับร้านสะดวกซื้อ FamilyMart เพื่อทางเลือกให้ลูกค้าด้วยผักและผลไม้ที่แตกต่างกัน, ร้านขายตรงของเกษตรกรเขตผู่ซินเมืองจังฮว่า (Puxin Changhua County) ซึ่งตั้งอยู่ถัดจากแผนกสินเชื่อ ด้วยการวางแผนออกแบบเส้นทางการเดินที่ดีทำให้ได้ลูกค้าที่เดินผ่านไปมา ส่งเสริมโอกาสการขาย และยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคด้วย

จากข้อมูลข้างต้น ผนวกับการจัดทำแบบสอบถามสำรวจผู้บริโภค และการเยี่ยมชมภาคสนาม ในจำนวนผู้เข้าออกร้านขายตรงเกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ, เป็นผู้หญิง, เป็นคนหนุ่มสาวน้อย ผู้เขียนเห็นว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจ ดังนั้น จึงขอหยิบยกพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุประมาณ 24-28 ปี

ชีวิตของเสี่ยวหวา (Hsiao Hua) เป็นภาพสะท้อนของคนบางกลุ่มที่มีประสบการณ์ทางสังคมต่ำ หากมุมในมองของลูกค้า คนกลุ่มนี้กำลังซื้ออาจไม่สูงเท่ากับคนวัยกลางคนและวัยสูงอายุ แต่ก็มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงพอสมควร และอาจเป็นเพราะได้รับอิทธิพลจากสื่อโซเชียลมีเดีย ทำให้พวกเขาคิดว่าควรดูแลสุขภาพตตั้งแต่ยังเด็ก นอกจากนี้ แม้ว่าในไทเปจะมีร้านขายตรงของเกษตรกรไม่กี่แห่ง แต่ก็ยังอยากเดินทางไปท่องเที่ยวเมืองอื่นๆ ในช่วงวันหยุด

ในแง่ของผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาด สำหรับเสี่ยวหวา (Hsiao hua) แล้ว ความสนใจหลัก คือ การเข้าใจแหล่งที่มาของวัตถุดิบและเรียนรู้ทักษะการทำอาหาร หากสามารถสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมและจัดหาสถานที่สำหรับการพักผ่อนในวันหยุด นั่นคือสิ่งที่เธอต้องการ ดังนั้นสำหรับร้านขายตรงเกษตรกร สินค้าที่จับต้องได้ ที่สามารถดึงดูดคนกลุ่มนี้ได้ คือ กระบวนการผลิต วัตถุดิบส่วนผสม และการสอนทำอาหารซึ่งสามารถถ่ายทอดได้หลายรูปแบบ ทั้งคำอธิบายประกอบบนบรรจุภัณฑ์ โปสเตอร์ภายในร้าน แม้กระทั่งเป็น ถ่ายวิดีโอ ทำอาหารแล้วโพสต์ลงโซเชียล สร้างกระแสทำอาหารกินเอง ผ่านแฮชแท็ก และส่งเสริมบรรยากาศการทำอาหารที่บ้าน เป็นต้น

นอกจากนี้ ควรเน้นรูปแบบการสื่อสารด้วยภาพ ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่คนหนุ่มสาว ตัวอย่างเช่น ร้านขายตรงของเกษตรกรเขตตงซานเมืองอี๋หลาน (Dongshan Yilan County) และร้านขายตรงของเกษตรกรเขตหูเหว่ยเมืองหยุนหลิน (Huwei Yunlin County) ต่างก็เป็นที่ชื่นชอบของผู้เขียน ในส่วนกิจกรรม กิจกรรมทำอาหาร, กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถตอบสนองความต้องการทางสังคมในช่วงวันหยุดได้ ส่วนของแถมหรือเสริม คือ บริการหลังการขายของร้านขายตรงของเกษตรกร ผ่านการสร้างแพลตฟอร์มการสื่อสารออฟไลน์ออนไลน์ให้กับบริโภค สามารถแบ่งปันประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, การทำอาหาร, เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริโภคและร้านขายตรงของเกษตรกร

ในส่วนของการบริการ เด็กรุ่นใหม่เก่งโซเชียลมีเดีย จะใช้บริการกลุ่ม LINE ของร้านขายตรงเกษตรกร ในการจองออนไลน์, กำหนดวันเวลารับสินค้า, รับฟังข่าวล่าสุด อาทิ ความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบและการทำอาหาร, ข่าวกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ฯลฯ อย่างไรก็ตาม คำศัพท์และรูปภาพที่ใช้จะต้องตอบสนองความต้องการของคนหนุ่มสาว ถึงจะขยายตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากเนื้อหาข้างต้น ผู้เขียนเชื่อว่าร้านขายตรงของเกษตรกรที่จัดกิจกรรมเชิงท่องเที่ยว ที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ไทเป มีศักยภาพในการพัฒนาให้เข้าถึงกลุ่มเยาวชน แต่จะทำอย่างไรให้กลุ่มเยาวชนรู้จักร้านขายตรงของเกษตรกร ยังเป็นประเด็นที่ต้องยื่นมือให้ช่วยเหลือ

บทสรุป

ร้านขายตรงของเกษตรกร เป็นตัวกลางระหว่างเกษตรกรรายย่อยและผู้บริโภค เกษตรกรรายย่อยสามารถนำสินค้าเกษตรขึ้นชั้นวางขายและกำหนดราคาได้ด้วยตัวเอง ลดต้นทุนในการขนส่ง เพิ่มความเข้าใจของผู้บริโภคต่ออุตสาหกรรมการเกษตร เน้นความต่าง ร้านขายตรงของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรเข้าความต้องการของผู้บริโภค กระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นการเพิ่มภาพลักษณ์สินค้าเกษตรคุณภาพได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยกลางคนและกลุ่มผู้สูงอายุ ในอนาคตหากต้องการขยายตลาดสู่กลุ่มเยาวชน ควรใช้กิจกรรมการเกษตรเชิงท่องเที่ยวเป็นตัวดึงดูดให้เยาวชนได้เรียนรู้ เรื่องผักและผลไม้ ให้ความรู้ในการทำอาหารกินเอง ร้านขายตรงไม่ได้เป็นเพียงตัวกลางในการสื่อสารและการสนทนาเท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนแหล่งพักผ่อนในช่วงวันหยุด เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านอาหารและการเกษตร ศึกษาความรู้ใหม่ ๆ สัมผัสความบันเทิง ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย