รายงานการทัศนศึกษาและแลกเปลี่ยนเชิงกลยุทธ์กับประเทศพันธมิตร-ประเทศญี่ปุ่น เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่น
CHEN,CHIH-FEN(Agriculture and Food Agency, Ministry of Agriculture)
1.คำนำ
คุณหูจงอี (Hu Jong-I) ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรอาหาร กระทรวงเกษตร สภาบริหารไต้หวัน นำคณะรวม 7 ท่าน ทัศนศึกษาและแลกเปลี่ยนเชิงกลยุทธ์กับประเทศพันธมิตร-ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 4-8 มิถุนายน2023เพื่อศึกษาดูงานการฟื้นฟูและพัฒนาท้องถิ่น, อาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน, การจำหน่ายสินค้าเกษตรในแหล่งผลิต, และแนวทางการจองสินค้าล่วงหน้าในระบบค้าส่งและประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีการแลกเปลี่ยนมุมมองแนวคิดที่แตกต่างกันทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน, เรียนรู้การฟื้นฟูท้องถิ่นจากประสบการณ์นโยบายต่างๆ, ศึกษาวิธีการที่บริษัทเกษตรกรรม เกษตรกร และกลุ่มท้องถิ่นของญี่ปุ่นทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในท้องถิ่น สร้างวงจรธุรกิจในท้องถิ่นที่มีความยืดหยุ่น ขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการเจริญเติบโตในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมในภาพรวม บทความนี้มุ่งเน้นที่กลยุทธ์แนวทางปฏิบัติในการกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นผ่านพันธมิตร เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในการเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอุตสาหกรรมของประเทศไต้หวัน และความสามารถในการปรับตัวในอนาคต
2.นโยบายการฟื้นฟูท้องถิ่นระหว่างญี่ปุ่นกับไต้หวัน
เมื่อเผชิญปัญหาต่างๆเช่นประชากรลดลง, ประชากรในเมืองใหญ่ๆ แอดอัดมากเกินไป, การพัฒนาในเมืองและชนบทไม่สมดุลกันรัฐบาลญี่ปุ่นได้เสนอนโยบาย Japan Revitalization Strategy การสร้างสรรค์ท้องถิ่นขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2014 โดยออกกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมสุขภาพท้องถิ่นขึ้นในปี 2019 ทั้งยังประกาศให้เป็นปีแรกของการสร้างสรรค์ท้องถิ่น จากประสบการณ์จริงของญี่ปุ่นการสร้างสรรค์ในท้องถิ่นจึงถูกจัดให้เป็นนโยบายระดับยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติไต้หวัน ในขณะเดียวกันวางแผนกลยุทธ์การสร้างสรรค์ท้องถิ่นไต้หวัน(Taiwan’s Strategic Plan for Regional Revitalization) โดยการส่งเสริมให้ภาคเอกชนหันมาลงทุนในท้องถิ่น, การพัฒนาใช้เทคโนโลยี,ความร่วมมือของทุกกระทรวงทบวงกรม,การมีส่วนร่วมของสังคม,การสร้างแบรนด์5ทิศทางหลักในการขับเคลื่อนปรับเปลี่ยนรูปแบบนโยบายเก่าๆ ที่ควบคุมโดยรัฐบาลกลางใช้การบริหารจากล่างขึ้นบนท้องถิ่นจะรวบรวมฉันทามติในการพัฒนารัฐบาลช่วยเรื่องทรัพยากรเพื่อสร้างวงจรที่สมบูรณ์ฟื้นฟูเมืองท้องถิ่นที่เสื่อมโทรมบรรลุเป้าหมายหลักไต้หวันที่สมดุล(balancing Taiwan)ในปี 2020 แต่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การปกครองประเทศ, การดำเนินงานทางเศรษฐกิจ, และกิจกรรมทางสังคมเดิมหยุดชะงักเมื่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นฟูมิโอะคิชิดะ (Fumio Kishida) เข้ารับตำแหน่ง ในปี2021 เขาสานต่อนโยบายฟื้นฟูท้องถิ่นและสังคม 5.0 (Society 5.0) ภายใต้ 3แนวคิดหลัก ได้แก่ คำนึงถึงประชากร (population concerned), การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล(digital fields), และธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development goals : SDGs) business) 3 ประการหลักในการฟื้นฟูท้องถิ่นและในเดือนมิถุนายน 2022 นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นฟูมิโอะคิชิดะ (Fumio Kishida) ประกาศแนวทางพื้นฐานเกี่ยวกับแนวคิดเมืองสวนดิจิทัล (Basic Policies for the Vision for a Digital Garden City Nation)โดยพยายามยกระดับความสะดวกสบายของชีวิตผู้คนผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล, ลดความต่างระหว่างเมืองและชนบท, พร้อมรับมือปัญหาประชากรที่ลดลง สร้างสรรค์ประเทศที่ใครๆก็สามารถอยู่ได้อย่างสะดวกสบาย (everyone can live conveniently and comfortably) การพัฒนาอำนาจทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้น ขึ้นอยู่กับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร (คำนึงถึงประชากร population concerned) การเพิ่มขึ้นและการเคลื่อนย้ายของประชากร ส่งผลโดยตรงต่อการบริโภคและอำนาจทางเศรษฐกิจ ด้วยการบูรณาการทรัพยากร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆได้รับการส่งเสริมให้ลงทุนทรัพยากรและฟื้นฟูท้องถิ่นร่วมกัน
3. ความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน พลิกโฉมทรัพยากรติดลบ (liability resources) เป็นการฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อท้องถิ่น(resources available for revitalizing regions)
เมืองคาซามะ (Kasama City) จังหวัดอิบารากิ (Ibaraki Prefecture) กำลังเผชิญกับปัญหาจำนวนประชากรลดลงและปัญหาประชากรสูงวัย เผชิญกับความท้าทายทั้งในด้านชีวิตและเศรษฐกิจ ปัญหาต่างๆ ยังคงเพิ่มและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรับมือผลกระทบที่เกิดจากโรคโควิด-19 ยุทธศาสตร์กลยุทธ์ Comprehensive Strategy for the Vision for a Digital Garden City Nation ของเมืองคาซามะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสังคม 5.0 (Society 5.0) และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) สร้างสภาพแวดล้อมการจ้างงานที่หลากหลาย, ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่เพื่อสร้างแหล่งใหม่ และเสริมสร้างจุดแข็งอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองคาซามะ มุ่งมั่นที่จะยกระดับความน่าดึงดูด ความน่าสนใจและรายได้ ด้วยความร่วมมือของภาครัฐบาล วิสาหกิจ เอกชน เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรสร้างแบรนด์คาซามะขึ้น โดยใช้งานพื้นที่เหลือใช้ ฟื้นฟูท้องถิ่น และปรับเปลี่ยนทรัพยากรติดลบ (liability resources)ให้เป็นการฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อท้องถิ่น (resources available for revitalizing regions) และเพื่อรับมือผลกระทบของโควิด-19 ส่งเสริมความร่วมมือจากประชาชนการ ให้บริการใหม่ๆ มุ่งมั่นสร้างโอกาส ผ่านการดำเนินงานที่หลากหลาย และการปรับใช้ดิจิทัลแหล่งทัศนศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ถนนช้อปปิ้ง ศาลเจ้าคาซามะอินาริ(Kasama Inari Shrine) และร้านกาแฟคุระการ์เด้นท์ (Kula garden cafe), ทีมกีฬาประชาชนประจำเขตอิบารากิ(Ibaraki) หมู่บ้านคาซามะนิววิลเลจ (Kasama New Village), ศาลเจ้าคาซามะอินาริ(Kasama Inari Shrine) เป็นหนึ่งในสามศาลเจ้าอินาริ ที่สำคัญของญี่ปุ่น เป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าอันเป็นที่รักของผู้คน ด้านหน้าของประตูโทริอิ (Otorii Gate)ประตูหลักขนาดใหญ่ของศาลเจ้าอินาริ คือ ถนนช้อปปิ้งซึ่งได้รับการฟื้นฟูจากบ้านหลังเก่า ทำการรวบรวมของขึ้นชื่อในท้องถิ่นและร้านขายของที่ระลึกไว้ด้วยกัน ถนนแห่งนี้ก่อตั้งโดยรัฐบาลเมืองคาซามะ ในปี2016 เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่นเทศบาลเริ่มให้เงินสนับสนุนองค์กร บริษัท ธุรกิจที่ฟื้นฟูในท้องถิ่น โดยร่วมมือกับภาคเอกชนปรับปรุงและฟื้นฟูร้านค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่ได้ใช้งานในตลาดเก่าปรับเป็นถนนช้อปปิ้ง ที่ตกแต่งด้วยดอกเบญจมาศ เชื่อมโยงกับเทศกาลดอกเบญจมาศที่มีชื่อของเมืองคาซามะ นอกจากนี้ ยังจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาในร้านค้าทั่วไป ซึ่งเป็นงานศิลปะดั้งเดิมของเมืองคาซามะ เป็นการเน้นย้ำถึงลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น ผสมผสานวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ ปรับบรรยากาศตลาดเก่าๆใช้นวัตกรรมใหม่ดึงดูดและกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองคาซามะ, ร้านกาแฟคุระการ์เด้นท์ (Kula garden cafe) ตั้งอยู่ตรงข้ามประตูโทริอิของศาลเจ้าคาซามะอินาริ เป็นร้านกาแฟและบาร์ที่ดัดแปลงมาจากโกดังเก็บสาเก ประธานโทมิตะเปลี่ยนโกดังสาเกอายุนับร้อยปี ให้กลายเป็นร้านกาแฟทันสมัย วัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ใช้ เป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นคาซามะ ซึ่งไม่เพียงแต่เพิ่มสีสันความมีชีวิตชีวา ให้กับอาคารอายุนับร้อยปีเท่านั้น แต่ยังขยายช่องทางการตลาดของอุตสาหกรรมเกาลัดคาซามะได้อีกด้วย, สโมสรฟุตบอลประจำจังหวัดอิบารากิ (Ibaraki private sports group) ได้ฟื้นฟูอาคารโรงเรียนมัธยมปลายที่ถูกทิ้งร้างในเมืองคาซามะ ให้กลายเป็นสถานที่พบปะของทีมเบสบอลในท้องถิ่น เพื่อการจัดการและการพัฒนาที่ยั่งยืน สโมสรร่วมกับอุตสาหกรรมในเมืองคาซากะ ส่งเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสวัสดิการทางการเกษตรและจำหน่ายเกาลัดในท้องถิ่นผ่านร้านกาแฟ Kasamarron Cafe และจ้างคนพิการทางร่างกายหรือจิตใจทำการแปรรูปกับเกาลัด ร่วมกับสวัสดิการเกษตรกรรม เสริมสร้างแรงงานคนและเศรษฐกิจในท้องถิ่น สร้างคุณค่าใหม่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ด้วยแนวคิดเรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและสวัสดิการในท้องถิ่น ทำประโยชน์ให้กับชุมชนโดยอาศัยสวัสดิการ× กีฬา×การศึกษา มีส่วนช่วยในการพัฒนาโครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน รัฐบาลเมืองคาซามะจัดโครงการพืชไร่และศิลปะเครื่องปั้นดินเผา (agronomy and pottery art in harmony) เป็นธีมหลัก และตามที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลกลาง ในปี2002 ส่งเสริมคาซามะไคลน์การ์เทน(Kasama Kleingarten) สวนรองรับพลเมือง ซึ่งประกอบด้วย สิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่อาศัย 50 แห่ง, แปลงเกษตรทดลอง, ร้านค้าเกษตรและร้านอาหารเพื่อให้การเงินคล่องตัวเพียงพอต่อรายจ่าย เมื่อเมษายน 2022 เทศบาลเมืองได้ร่วมมือกับ MyFarm เพื่อจัดตั้งKasama New Village สวนสนุกเกษตรจัดกิจกรรม ฟาร์มเชิงประสบการณ์,โรงเรียนเกษตร,และกลไกการผลิตช่องทางการขาย และการขายสำหรับผู้บริโภค ยึดแนวคิดการผลิตในท้องถิ่นเพื่อการบริโภคในท้องถิ่น, การพัฒนาหมู่บ้านคาซามะใหม่ (Kasama New Village) มุ่งเน้นเป็นฟาร์มเชิงประสบการณ์ ซึ่งให้บริการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอาหารเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรต่างๆ, ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เน้นสังคมการผลิตเพื่อการบริโภคด้วยตนเอง เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินสนับสนุนคนที่ย้ายโตเกียวมาอาศัยทำงานหรือก่อตั้งธุรกิจ ในเมืองที่มีประชากรน้อยกว่า เมืองเล็กๆ อย่างอิบารากิ จึงมีประชากรเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19 เทคโนโลยีปรับแนวทางการดำเนินงานธุรกิจ ปรับเป็นการทำงานระยะไกล ส่งผลให้ประชาชนย้ายบ้านเช่าจากโตเกียวไปยังเมืองต่างๆในจังหวัดอิบารากิเพิ่มมากขึ้นและแนวโน้มที่จะย้ายมาอาศัยอยู่ในระยะยาว
4. พัฒนาเศรษฐกิจภาคสนามในท้องถิ่น และขยายช่องทางการเข้าถึงสินค้าเกษตร
การผลิตเพื่อการบริโภคในท้องถิ่น เป็นกลยุทธ์การพัฒนาที่สำคัญในการฟื้นฟูท้องถิ่น การใช้ทรัพยากรของภาคเอกชนและการจัดตั้งกลไกธุรกิจ เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดตั้งจุดแวะพักริมทางกว่า 1,204 แห่ง ทั่วประเทศญี่ปุ่นไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ถนน ในด้านการพักผ่อนและหาข้อมูลเท่านั้น แต่ยังพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรได้หลากหลาย และยังทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดรูปแบบธีมในท้องถิ่นนั้นๆ เสริมสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ท้องถิ่น ก่อเกิดเป็นแหล่งเศรษฐกิจ ฟื้นฟูท้องถิ่น
เมืองคาซามะ (Kasama) เป็นแหล่งผลิตเกาลัดที่สำคัญของญี่ปุ่น เทศบาลเมืองคาซามะให้การสนับสนุน ผู้ผลิตที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการแปรรูปเกาลัด เพื่อเสริมสร้างแหล่งวัตถุดิบที่มั่นคง สำหรับการแปรรูปเบื้องต้นของเกาลัด (เช่นเกาลัดบด, เกาลัดเชื่อม, และเกาลัดต้มสุก) โดยให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตและผู้แปรรูป ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้จำหน่าย และผู้ประกอบการร้านอาหาร ส่งเสริมผลิตภัณฑ์เกาลัด จุดแวะพักริมทางคาซามะ เปิดตัวขึ้น เมื่อเดือนกันยายน 2021 ตั้งอยู่ใกล้ทางด่วน ภายในประกอบไปด้วย ร้านกาแฟเกาลัดคาซามะ, ร้านขายตรงเกษตรกร, ร้านขายของที่ระลึก, และร้านอาหารต่างๆ ที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ซึ่งอาศัยอาหารเป็นตัวส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ขายเกาลัด, การนำเกาลัดมาใช้ในการออกแบบ, และจัดพื้นที่แสดงสินค้าเครื่องปั้นดินเผาคาซามะ ชูเอกลักษณ์เด่นของเมืองคาซามะ แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการแปรรูปเกาลัดนั้นจัดหาโดยโรงงานเกาลักคาซามะ (Kasama Chestnut Factory Co., Ltd.) ซึ่งก่อตั้งโดยเทศบาลเมืองคาซามะ, บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกจำกัด สาขามิโตะ (East Japan Railway Company Mito Branch), และสมาคมสหกรณ์การเกษตรฮิตาชิ (Hitachi Agricultural Cooperative) ส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปเกาลัด ออกแบบโดยชุมชนเกษตรกรรมคาซามะ ร่วมกับองค์กรเอกชนในพื้นที่ ร่วมกันสร้างแบรนด์ของฝากเกาลัดคาซามะ ให้เป็นเสมือนตัวแทนของเมืองคาซามะ สร้างมูลค่าใหม่ให้กับท้องถิ่น โรงงานเกาลัดคาซามะและจุดแวะพักริมถนนคาซามะ ดูแลและควบคุมโดยเทศบาลเมืองคาซามะ เนื่องด้วยทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ จึงก่อเกิดเป็นแหล่งผลิต แปรรูปและขาย ด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ทำการขยายตลาดเกาลัดคาซามะ เพิ่มมูลค่าแบรนด์เกาลัดคาซามะ และใช้เกาลัดคาซามะเป็นโอกาสในการขับเคลื่อน สร้างเสน่ห์ใหม่ๆให้ท้องถิ่น พัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และขับเคลื่อนเศรษฐกิจในท้องถิ่น จุดแวะพักริมทางโจโซ (Joso roadside station) ใกล้ทางด่วนโจโซ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2023 การคมนาคมสะดวกเป็นจุดแวะพักริมทางด่วนแห่งที่ 16 ที่ของจังหวัดอิบารากิ มีสินค้าหลากหลาย นอกจากสินค้าเกษตรแล้ว ยังมีสินค้าประมง และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อีกด้วย สินค้ากว่าร้อยละ 70 มาจากเกษตรกรในท้องถิ่น และเกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคาเอง นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์เฉพาะจุด จำนวนจำกัด ซึ่งจับมือกับผู้ประกอบการเด่นๆในท้องถิ่นพัฒนาผลิตภัณฑ์แคนตาลูป และมันเทศแปรรูป ดึงดูดผู้บริโภคจากภูมิภาคต่างๆให้มาลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
นอกจากนี้ จับมือร่วมกับพันธมิตร อย่าง PPP (Public Private Partnership) ภายใต้แนวคิดชุมชนเกษตรเทคโนโลยี (Agricultural Technology Valley) จุดแวะพักริมทางโจโซร่วมกับ Granberry Daichi ทุ่งสตรอเบอร์รี่ทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และร้านหนังสือสึทายะ(TsutayaBookstore) จัดสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณแหล่งน้ำพุร้อน สร้างสรรค์เขตอุตสาหกรรม ใช้ธีมอาหารเกษตรกรรมและสุขภาพเป็นแกนหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระดับภูมิภาค นอกเหนือจากการผลิต แปรรูป ช่องทางขาย และการขาย ได้ผนวกกิจกรรมเชิงประสบการณ์ เปลี่ยนรูปแบบการจับจ่ายใช้สอยที่จุดแวะพักริมทาง เป็นกิจกรรมเชิงประสบการณ์ที่ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น และหลากหลายขึ้น แต่ยังเพิ่มเสน่ห์ให้เมือง เพิ่มโอกาสให้ผู้บริโภคย้อนกลับมาช่วยฟื้นฟูท้องถิ่น
นอกจากนี้ จุดแวะพักริมถนนคาซามะ ดีไซน์เกาลัดคาซามะ ใกล้ทางด่วน นอกจากจะเป็นร้านกาแฟ ร้านขายสินค้าเกษตร ของที่ระลึก และของฝากแล้ว ยังเป็นศูนย์อาหารให้นักท่องเที่ยวได้ลิ้มรสวัตถุดิบท้องถิ่นได้อีกด้วยทั้งนี้ ยังจัดพื้นที่แสดงงานศิลปะ เครื่องปั้นดินเผาคาซามะ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์คาซามะและสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ท้องถิ่น
แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการแปรรูปเกาลัด มาจากโรงงานเกาลัดคาซามะจำกัดที่ตั้งอยู่ติดกัน และด้วยความร่วมมือกับสถานที่ต่างๆ เช่น จุดแวะพักริมถนนคาซามะ ทำให้โรงงานขยายออกไปในหลายๆด้าน โรงงานเกาลัดคาซามะก่อตั้งขึ้น จากความร่วมมือของเทศบาลเมืองคาซามะ,บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกจำกัด สาขามิโตะ (East Japan Railway Company Mito Branch), สมาคมสหกรณ์เกษตรฮิตาชิ (Hitachi Agricultural Cooperative)รับผิดชอบในการแปรรูปเกาลัดคาซามะ เช่น เกาลัดบด,เกาลัดเชื่อม, และเกาลัดต้มสุกจำหน่าย ให้กับผู้ผลิตขนมหวาน ร้านอาหาร และร้านกาแฟในและนอกเมืองคาซามะ เป็นต้น จุดประสงค์หลัก คือ การสร้างแบรนด์ของฝากเมืองคาซามะ ฟื้นฟูมูลค่าให้ท้องถิ่น โรงงานเกาลัดคาซามะมีเป้าหมายที่จะเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเกาลัด, ขยายตลาดเกาลัดคาซามะ, เพิ่มมูลค่าแบรนด์เกาลัดคาซามะ, และใช้เกาลัดคาซามะมาผนวกการท่องเที่ยว,โรงงานเกาลัดคาซามะ และจุดแวะพักริมทางคาซามะ อยู่ภายใต้การดูแลแนะแนวของเทศบาลเมืองคาซามะด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน บนพื้นฐานของการฟื้นฟูท้องถิ่นร่วมกัน วงจรเศรษฐกิจในท้องถิ่นถูกสร้างขึ้น สอดคล้องภาพลักษณ์แบรนด์ท้องถิ่น ขับเคลื่อนเชื่อมต่อกับภาคอุตสาหกรรมพัฒนาและกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นมุ่งมั่นในการสร้างเสน่ห์ในท้องถิ่นส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรม
5.ความร่วมมือของพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ win-win เจริญรุ่งเรือง
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2023 กลุ่มคณะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมันเทศและเจ้าหน้าที่ในไต้หวัน เดินทางไปศึกษาดูงานสมาคมมันเทศ (the sweet potato association) ซึ่งอยู่ภายใต้สหกรณ์การเกษตรญี่ปุ่น JA (Japan Agricultural Cooperative) ในเมืองนาเมกาตะ (Namegata) และไปหมู่บ้านเกษตรกรรม เพื่อเยี่ยมชมการส่งเสริมการแปรรูปมันเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกร, เพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการผลิตทางการเกษตร, ส่งเสริมการแปรรูปและการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร, และพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผ่านความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการฟื้นฟูการเกษตรท้องถิ่นให้มีชีวิตชีวา และส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรในท้องถิ่นให้ยั่งยืน สมาคมมันเทศภายใต้สหกรณ์การเกษตรญี่ปุ่น (the JA Namegata Agricultural Cooperative) เป็นองค์กรของผู้ผลิตที่ประกอบด้วย เกษตรกรที่เข้าร่วมกว่า 286 ราย โดยเริ่มดำเนินการในปี 1998 มีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกร เมื่อพิจารณาถึง ยอดขายปลีกและความต้องการของผู้บริโภค สมาคมฯ ได้ปรับวิธีการจำหน่ายและช่องทางการขาย พร้อมทั้งร่วมมือกับองค์กรวิจัย เพื่อรักษาอุปทานมันเทศคุณภาพสูงให้คงที่ ตามที่ Hirohito Kuriyama หัวหน้าแผนกพืชสวนและผู้ตรวจสอบของ JA Namegata Area Center กล่าวว่า เทคโนโลยีการเก็บรักษามีความสำคัญต่อความสดใหม่ของมันเทศ เพื่อความมั่นใจในคุณภาพ จำเป็นต้องจัดเก็บรักษาที่อุณหภูมิที่ 14°C ที่ความชื้น 90% ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษา จึงค่อนข้างสำคัญ จากสถิติของ JA พบว่า ในปี 2015ในญี่ปุ่นมีโกดังมันเทศ 14 แห่งที่มีความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น มีความจุรวมประมาณ 5,000 เมตริกตัน เพื่อส่งเสริมห่วงโซ่มันเทศ ตั้งแต่การผลิตจนถึงการบริโภค หมู่บ้านเกษตรกรนาเมกาตะ (Namegata Farmers Village) เป็นหมู่บ้านเกษตรเชิงพาณิชย์ จัดมุมทดลองทำกิจกรรมการเกษตร หรือเรียกง่ายๆว่า เป็นสวนสนุกธีมมันเทศ บริษัทชิโรฮาโตะกรุ๊ป (Shirohato Group) ซึ่งเป็นบริษัทแปรรูปอาหารของประเทศญี่ปุ่น มองว่า สวนสนุกเชิงเกษตร (agricultural theme parks) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ดังนั้น บริษัทจึงจับมือกับพันธมิตร ได้แก่เทศบาลเมืองนาเมกาตะ (Namegata City Government), สมาคมการเกษตร และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเมืองนาเมกาตะ เพื่อจัดตั้งสวนสนุกเชิงเกษตรในหมู่บ้าน ที่ตั้งของสวนสนุกได้มาจากการเลิก คืนที่โรงเรียนร้างเก่า และพื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบเข้าด้วยกัน มีขนาดที่ดินเทียบ เท่ากับขนมโตเกียวโดมเจ็ดแห่ง (มากกว่า 300,000 ตารางเมตร)
เมื่อคำนึงถึงภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนร้างเก่า หรือพื้นที่เกษตรที่ว่าง ที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก กินพื้นที่กว้างเป็น 7 เท่าของโตเกียวทาว์เวอร์ กล่าวคือ กว้างถึง 300,000 ตารางเมตร เป็นจุดรวมตัว พบปะระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังจัดจุดทำกิจกรรม DIY สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกษตร กระตุ้นให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้น
6. ฟื้นฟูท้องถิ่นและปฏิบัติการ SDGs
เพื่อตอบสนองต่อ SDGs ที่สหประชาชาติประกาศใช้ในปี 2015 รัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดตั้งองค์กรเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในเดือนพฤษภาคม 2016 และในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน รัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ แนวทางการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ครอบคลุม เมือง คน และการสร้างงาน พร้อมชี้ชัดว่า การจะฟื้นฟูท้องถิ่นนั้น จะต้องส่งเสริม SDGs และในแผนปฏิบัติการ SDGs ปี 2020 ระบุว่า การใช้ SDG เป็นแรงผลักดันในการส่งเสริมการฟื้นฟูท้องถิ่น เป็นหนึ่งในสามแกนหลักของแผนปฏิบัติการ โดยใช้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นแรงผลักดันในการพัฒนาเมืองที่มีความยืดหยุ่น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และน่าสนใจ ส่งเสริมการฟื้นฟูท้องถิ่น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และการระบาดของโควิด-19 ไต้หวันไม่เพียงแต่จับมือญี่ปุ่นมุ่งมั่นส่งเสริมนโยบายการฟื้นฟูท้องถิ่น แต่ยังส่งเสริม 17 SDGs ที่สหประชาชาติ ตั้งเป้า 11 พื้นที่เมืองและชนบทอย่างยั่งยืน ที่เน้นการสร้างเมืองที่ปลอดภัย มีความยืดหยุ่นและยั่งยืน ความสำคัญของเมืองและชนบท
บริษัท YANMAR Group เป็นบริษัทวิศวกรรมยานยนต์, เครื่องจักรกลการเกษตร, เครื่องยนต์ดีเซล และเรือขนาดเล็ก โดยมุ่งมั่นที่จะใช้เทคโนโลยีสร้างมูลค่าใหม่และแก้ไขปัญหาด้านการผลิตอาหารและการผลิตไฟฟ้า การประยุกต์การผลิตและการใช้ทรัพยากรให้กับลูกค้า แนวคิดหลักของบริษัทคือ ฮานาซากะ (HANASAKA) หมายความว่า การดูแลเลี้ยงดูมนุษยชาติและอนาคต YANMAR มีเป้าหมายที่จะสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ทั้งสี่ คือ สังคมประหยัดพลังงาน, สังคมที่ผู้คนสามารถทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ, สังคมที่ผู้คนสามารถเพลิดเพลินกับอาหารที่ปลอดภัยและอุดมสมบูรณ์, และสังคมที่ทำให้ชีวิตตื่นเต้นเต็มไปด้วยประสบการณ์ที่อุดมสมบูรณ์และเติมเต็ม YANMAR เป็นเจ้าของอาคารที่ตั้งอยู่ใกล้สถานีโตเกียว จัดตั้งศูนย์ Yanmar Tokyo commercial complex ไว้ที่ชั้น 1 และชั้น 2 ของอาคาร ในฐานะที่เป็นหนึ่งในโครงการฮานาซากะ (HANASAKA) Yanmar Tokyo ใช้ธีมข้าวและข้าวเปลือก เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักของญี่ปุ่น และเป็นหัวใจสำคัญของอาหารและวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ร้านค้าและร้านอาหารหลายแห่งใน YANMAR โตเกียว ใช้แกลเลอรีโต้ตอบสื่อสาร (Interactive Galleries) และเทคโนโลยีดิจิทัล ให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและการเกษตร ตลอดจนประวัติ สถานะปัจจุบัน และศักยภาพในการพัฒนาในอนาคตของการปลูกข้าวเปลือก
ชูเสน่ห์ของข้าวผ่านการจัดนิทรรศการ, ประสบการณ์สัมผัส, อาหารและผลิตภัณฑ์ที่โด่ดเด่นมีเอกลักษณ์ องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญกับ ESG มากกว่า SDG ยูเอ็นโกลบอลคอมแพ็ก (United Nations Global Compact : UNGlobal Compact) เสนอแนวคิด ESG ครั้งแรกในปี 2004 ถือเป็นตัวบ่งชี้ ในการประเมินการดำเนินงานของบริษัท องค์กร หรือสถานที่ต่างๆ จะช่วยให้ค้นพบมูลค่าเพิ่มจากการดำเนินงานเดิมๆ หรือการบริการของสินค้านั้นๆ เน้นการอยู่ร่วมกันและความเจริญของสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด ESG และสังคมที่ดี พร้อมทั้งเชื่อมโยงระบบนิเวศนวัตกรรมใหม่ พัฒนารูปแบบความร่วมมือที่ยืดหยุ่น แนวทางปฏิบัติที่ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2021 ไต้หวันเร่งส่งเสริมการฟื้นฟูท้องถิ่นผ่านกลยุทธ์ต่างๆ เช่น การเพิ่มช่องทางที่หลากหลาย, การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนในท้องถิ่น, และการปรับสภาพอาคารสถานที่สาธารณะ ช่วยเร่งการฟื้นฟูและแนะนำแนวคิด อาทิเช่น ESG และสังคมที่ดี ไม่เพียงแต่จะเสริมสร้างฐานกำลังให้กับอุตสาหกรรมในท้องถิ่น ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ช่วยเหลือองค์กรท้องถิ่น และกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ขึ้น
7. สรุป
จิตวิญญาณของนโยบายการฟื้นฟูท้องถิ่นของญี่ปุ่น และแนวคิดของระบบนิเวศขององค์กร จะส่งเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งสองจำเป็นต้องระบุผู้นำหลักหรือองค์กรที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น นำเสนอคุณค่าของการพัฒนาท้องถิ่น, จัดทำแผนผังรูปแบบธุรกิจที่เป็นไปได้, ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น, ตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รูปแบบธุรกิจที่แบ่งปันผลประโยชน์กัน พันธมิตรไม่เพียงแต่สามารถกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุตสาหกรรมด้วย ความร่วมมือขององค์กร กลุ่มเกษตรกร และท้องถิ่น ช่วยตอบสนองต่อความเสี่ยงได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ESG ยังเป็นทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับองค์กรและเป็นเป้าหมายที่ยั่งยืนสำหรับการพัฒนา ทำให้การเกษตรของไต้หวันสามารถพัฒนารูปแบบแนวคิดและความร่วมมือในด้านต่างๆ ในทำนองเดียวกัน การฟื้นฟูสถานที่ เริ่มต้นจากการเชื่อมโยงระหว่างคนและสถานที่ เพื่อการจัดการสถานที่อย่างยั่งยืน ความยืดหยุ่นขององค์กรและพัฒนาอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงใกล้ชิดกับในพื้นที่ เครือข่ายจึงถูกสร้างขึ้นจากบนลงล่างและแนวนอน ธุรกิจระดับภูมิภาคที่พึ่งตนเองได้และมีความยืดหยุ่น จะค่อยๆ ก่อตัวขึ้นสามารถรับมือกับความเสี่ยงและวิกฤต การเปลี่ยนแปลงต่างๆ การพัฒนาอย่างยั่งยืนและต่อเนื่องเท่านั้น จึงจะเจริญรุ่งเรืองได้อย่างแท้จริง
ที่มาของบทความ : นโยบายและเงื่อนไขการเกษตรรายเดือน (Agricultural Policies and Conditions monthly) ฉบับที่ 374 จัดพิมพ์โดยกระทรวงเกษตร (Ministry of Agriculture)