พลิกโฉมการเกษตรสู่การเลี้ยงสุกรอย่างอัจฉริยะ
ไต้หวันกำลังเผชิญกับปัญหาจำนวนแรงงานที่ลดน้อยลง ความยากลำบากในการสรรหาผู้ที่มีความรู้ความสามารถการเลี้ยงสุกร การเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลน ผู้มีความรู้ความสามารถอย่างมาก เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในไต้หวันมีอายุมากขึ้น และต้นทุนแรงงานก็สูงขึ้น นอกจากปัญหาขาดแคลนแรงงานแล้ว ปัญหาอัตราการเพาะพันธุ์และอยู่รอดต่ำ ปัญหาต้นทุนการผลิตสูงกว่าประเทศยุโรปและอเมริกา กว่า 1.2 ถึง 1.7 เท่า สาเหตุอาจเกิดจากขนาดของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในไต้หวัน ค่อนข้างเล็กเกินกว่าที่จะประหยัดหรือปรับลดค่าใช้จ่ายบางอย่างได้ อาทิเช่น ต้นทุนของอาหารสัตว์นำเข้าสูง
เหตุผลหลักอีกประการหนึ่ง คือ ต้นทุนการเลี้ยงลูกสุกรมีราคาสูง เนื่องจากอัตราการเพาะพันธุ์ของสุกรโดยรวมอยู่ที่เพียง ร้อยละ 70 ซึ่งต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยของประเทศในยุโรปและอเมริกา เมื่อเผชิญกับปัญหานี้ บริษัท Wan-Chi-Sheng Agricultural Technology Co., Ltd. (หรือที่รู้จักกันในนามบริษัทหวั้นจี๋เสิ้น Wan-Chi-Sheng Co.) จึงเริ่มคิดลงทุนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เลี้ยงสุกรแบบอัตโนมัติและอัจฉริยะ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนและจำนวนแรงงาน แต่ยังช่วยเพิ่มอัตราการเพาะพันธุ์และอยู่รอดได้อีกด้วย
การปฏิรูปยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตร
จากสถิติของกระทรวงเกษตร Ministry of Agriculture : MOA (เดิมคือสภาเกษตร Council of Agriculture: COA), ระบุว่า ไต้หวันมีฟาร์มเลี้ยงสุกรจำนวน 6,133 แห่ง เลี้ยงสุกรได้ประมาณ 5.375 ล้านตัว มีจำนวนแม่สุกรทั้งหมดประมาณ 590,000 ตัว อุตสาหกรรมสุกรแบบดั้งเดิมอาศัยการเพาะพันธุ์ การผสมเทียม เกษตรกรจำต้องทำการเฝ้าระวังติดตามฟาร์มสุกรด้วยตนเองอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้แม่สุกรนอนทับลูกสุกรตาย เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกร อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยต้นทุนค่าแรงที่ปรับตัวอย่างขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมสุกรแบบดั้งเดิม จึงต้องค้นหาวิธีใหม่ในการลดอัตราการตายของลูกสุกรลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุการตายด้วยการนอนทับของแม่สุกร
ในปี 2022 บริษัท Wan-Chi-Sheng Co. เริ่มลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะเพื่อเข้าร่วมโครงการ การดำเนินโครงการมุ่งเน้นไปที่การประยุกต์ใช้นวัตกรรมการจดจำภาพอัจฉริยะเพื่อปรับปรุงอัตราให้อาหารของลูกสุกร บริษัท Wan-Chi-Sheng Co. ใช้ทรัพยากรในโครงการเพื่อพัฒนาการตรวจจับอัจฉริยะและหน้าจอแสดงผลการตรวจจับก่อนที่เจ้าหน้าที่จะตรวจพบด้วยตาเปล่า สามารถป้องกันและแก้ไขเหตุอันไม่ควรจะเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้สามารถยกระดับอัตราการเลี้ยงลูกสุกรให้อยู่รอดมากยิ่งขึ้น
ในระหว่างการดำเนินการตาม แผนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการเกษตร บริษัท Wan-Chi-Sheng Co. เริ่มด้วยการวิจัยพัฒนา ทดลองและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีผ่านประสบการณ์ความรู้ อาทิ เทคโนโลยีการจับภาพ, IoT, AI, ระบบ Cloud, การพัฒนาระบบจดจำและบันทึกภาพ, ระบบเตือนภัยล่วงหน้าผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถติดตามการเลี้ยงดูแม่สุกรและลูกสุกรแต่ละตัวผ่านกล้องวีดีโอและจอภาพแสดงผลตลอด 24 ชั่วโมง
อัลกอริธึมอัจฉริยะ AI ถูกนำมาใช้เพื่อระบุและจับภาพฤติกรรมของภาพที่ถ่ายไว้ได้ รวมถึงพฤติกรรมหลักของแม่สุกร อาทิ ท่าทางของแม่สุกร การดื่มและกินอาหารของแม่สุกร การเลี้ยงลูกด้วยนมของแม่สุกร และพฤติกรรมและสุขภาพที่ส่งผลต่อลูกสุกร อาทิ การให้อาหารของแม่สุกร กิจกรรมของลูกสุกร เป็นการปรับโหมดการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยีเครื่องจักร ใช้เลนส์กล้องแทนตาของมนุษย์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากภาพที่บันทึกได้ จดจำข้อมูลสุกรแต่ละตัว ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการบริหารจัดการในอนาคต
จากการประมวลและประเมินผลของบริษัท Wan-Chi-Sheng Co. ผลลัพธ์ของโครงการสามารถเพิ่มอัตราการเพาะพันธุ์และอยู่รอดได้สูงถึง ร้อยละ 10 เมื่อพิจารณาจากขนาดของสถานที่ทดลอง อัตราการการเพาะพันธุ์และอยู่รอดได้ประมาณร้อยละ 80 คาดว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนลูกสุกรได้ประมาณ 22,288 ตัวต่อปี ซึ่งมีมูลค่าการผลิตเพิ่มเติม 20.59 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ผลลัพธ์ที่ได้นี้ทำให้บริษัทมีความมั่นใจที่จะขยายผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสูงเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
บทสรุป
ด้วยเหตุการแข่งขันในตลาดธัญพืชค่อนข้างสูงและรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และราคาของส่วนผสมอาหารสัตว์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการเลี้ยงสุกรโดยรวมเพิ่มขึ้น กำไรที่ได้ถูกจำกัดลดน้อยลงแม้ว่าราคาสุกรจะเพิ่มมากขึ้นก็ตาม วิธีเดียวที่จะเพิ่มกำไรก็คือการปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดต้นทุนแรงงาน เพิ่มอัตราการเพาะพันธุ์และการอยู่รอด
สังเกตุได้จากกรณีศึกษาของบริษัท Wan-Chi-Sheng Co. ที่ประยุกต์ใช้ระบบตรวจจับ อุปกรณ์อัตโนมัติอัจฉริยะที่หลากหลายจำนวนมาก ในฟาร์มเลี้ยงสุกรที่ได้มาตรฐาน นอกจากการประยุกต์อุปกรณ์ตรวจจับต่างแล้ว ยังมีระบบการจดจำบันทึกเก็บข้อมูลประมวลผล ทำให้คุณภาพของข้อมูลที่เก็บรวบรวมรวดเร็ว ทันเวลา และแม่นยำยิ่งขึ้น แสดงผลการให้อาหารในฟาร์มสุกรได้อย่างแท้จริง ทำให้สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบวิธีการให้อาหารและการจัดการโดยรวมได้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะปรับปรุงกำลังการผลิตเท่านั้น แต่ยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์อีกด้วย ในอนาคต อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไต้หวันจะต้องเผชิญการแข่งขันระดับโลก จำต้องการบริหารจัดการที่ดีที่เข้มแข็ง ไม่ว่าจะอาศัยการจัดการดิจิทัล การประยุกต์ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติอัจฉริยะ หรือการผสมผสานทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ จึงจะยกระดับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรไต้หวันเข้าสู่ยุคอัจฉริยะได้