การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตรอาหาร
- ที่มา
ในหนังสือฮั่น บทที่43 ตอนชีวปรวัติของ Li Yiji ระบุว่า ฮ่องเต้ให้ความสำคัญกับประชาชน ส่วนประชาชนให้ความสำคัญกับอาหารการกิน ปัจจุบัน ความเร่งรีบในการทำงาน มักทำให้ละเลยการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่โบราณ สังคมไต้หวันเป็นสังคมเกษตรเป็นหลัก คำถามหรือคำทักทายที่พบบ่อยที่สุดในชุมชนชนบท คือ ทานอิ่มหรือยัง? สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการรับประทานอาหาร
เมื่อคุณมองเห็นคำว่า อาหาร สิ่งแรกที่นึกถึงในใจของคุณคืออะไร? และทำไม? การเลือกทานอาหารในชีวิตประจำวัน มักได้รับอิทธิพลจากประสบการณ์การเติบโตของเราในอดีต ธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ความรู้เรื่องโภชนาการ การสื่อสารผ่านข่าว และอื่น ๆ
ขออนุญาตยกตัวอย่าง ซุปไก่เห็ดหอมหอยตลับที่อยู่ในความทรงจำในวัยเด็ก ในทุก ๆ ครั้งที่ฝนตกหนักลมพัดแรงหรือร่างกายไม่สบาย คุณแม่มักจะต้มซุปหอยตลับให้กิน ปัจจุบันเมื่อต้องทำงาน ต่างเมืองเผชิญปัญหาลำพังทำงานคนเดียว ซุปเสร็จนี้สามารถช่วยให้ฉันมีพลังและกำลังใจที่จะสู้ต่อไป เมนูนี้ทำได้ไม่ยก รสชาติอร่อยประทับใจ ถ้าถามว่า อาหารที่อยากแนะนำมากที่สุด ก็คงจะเป็นซุปไก่เห็ดหอมหอยตลับนี่แหละ
การพัฒนาในยุคเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเทคโนโลยีต่างๆมีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของเราอย่างสิ้นเชิงแม้แต่แหล่งกำเนิดของอาหารที่เราบริโภคในชีวิตประจำวันก็เผชิญกับการปรับเปลี่ยนแปลงเราพบว่าปัญหาเบื้องหลังอาหาร วัตถุดิบของอาหารมาจากไหน? การรับประทานอาหารพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว โดยมีคุณแม่คอยจัดเตรียมอาหารในครัวในที่คับแคบให้กับทุกคนในครอบครัวการรับประทานอาหารร่วมกันในปัจจุบันน้อยลงมาก ปรับเป็นการซื้ออาหารสำเร็จรูปจากร้านสะดวกซื้อซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือการสั่งซื้ออาหารจากแพลตฟอร์มการส่งอาหารผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อรับประทานอาหารอย่างรวดเร็วหลังจากได้รับพลังเพียงพอแล้วก็ก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานที่ยุ่งเหยิงต่อไป
โครงสร้างของสังคมและครอบครัวเปลี่ยนแปลงครอบครัวเกษตรกรรมแบบฉบับดั้งเดิมในอดีตมีน้อยมากแม้ว่าเทคโนโลยีในโลกอินเทอร์เน็ตทำให้ช่องทางในการเข้าถึงอาหารเพิ่มมากขึ้นแต่แหล่งผลิตของวัตถุดิบในอาหารจริงๆที่มาจากที่ไหนนั้นในบางครั้งเราไม่รู้ความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับผืนแผ่นดินและแหล่งผลิตของอาหารกำลังจะถูกตัดออกไปจากชีวิตประจำวันที่วุ่นวายของเราไปเรื่อยๆ
- การเรียนการสอนเกี่ยวกับการเกษตรอาหาร: จุดกำเนิดและการพัฒนา
การพัฒนาการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเกษตรอาหารในไต้หวันได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศญี่ปุ่นไต้หวันนิยมใช้คำว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตรอาหาร แต่ประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้คำว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารเพื่อแก้ไขปัญหาการรับประทานอาหารไม่ครบหมวดหมู่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ปัญหาภาวะอ้วน ปัญหาคนทำงานออฟฟิศ และปัญหาผอมเกินมาตรฐาน ประเทศญี่ปุ่นได้ตั้งกฎหมายพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอนเกี่ยวกับอาหาร" เมื่อปี2548
สำนักคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นกำหนดแผนการสนับสนุนการเรียนการสอนเกี่ยวกับอาหารทุกๆห้าปีจวบจนปี2566แผนการสนับสนุนการเรียนการสอนเกี่ยวกับอาหารดำเนินการถึงรอบที่สี่ (2564-2568)ซึ่งนอกจากจะเน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับอาหารแล้ว ยังรวมถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงในสังคมหลังเกิดโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ด้วยความเจริญของเทคโนโลยีในไต้หวันทำให้มีตัวเลือกในการรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้นแต่อย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารที่มีประวัติยาวนานตั้งแต่ปี 2522 เกิดเหตุการณ์พิษโพลีคลอร์ไลด์ไบเฟนในน้ำมันรำข้าว (The toxic rice bran oil polychlorinated biphenyl poisoning),ในปี 2548 เหตุการณ์ข้าวและปลาชุ่มช่อนปนเปื้อนสารแคดเมียม (Cadmium-contaminated rice and malachite green fish),ในปี2554เหตุการณ์ของสารพิษพลาสติก (Plasticizer),ในปี2556เหตุการณ์ของผงแป้งปนเปื้อนสารพิษ (the tainted starch),และในปี2560เหตุการณ์ของไข่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง (The fipronil-contaminated egg)
ปัญหาความปลอดภัยของอาหารยังคงเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของผู้คนมาอย่างต่อเนื่องย้อนกลับไปปี 2522 จนถึงปัจจุบัน (2567) เป็นระยะเวลายาวนานถึง 44 ปีเด็กทารกที่เกิดในปีนั้นปัจจุบันได้เติบโตเป็นกำลังหลักของสังคมปัญหานี้สร้างความกังวลให้กับคนทุกภาคส่วนมีเสียงเรียกร้องให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องการเกษตรอาหารในไต้หวัน เพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัยสร้างสุขอนามัยที่ดีให้กับเด็กๆ
แม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นไต้หวันจะเริ่มต้นช้าไปประมาณ20ปีแต่ด้วยเสียงเรียกร้อง การประชุมหารือความทุ่มเทและความพยายามอย่างต่อเนื่องจากบุคคลในหลายๆภาคส่วนในที่สุดไต้หวันก็ผ่านร่างพระราชบัญญัติการศึกษาการเกษตรอาหารเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 โดยร่างพระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์และคำจำกัดความเกี่ยวกับการศึกษาเกษตรอาหารที่ชัดเจนโดยมาตรา 1 ระบุวัตถุประสงค์ของการออกกฎหมายไว้ชัดเจนว่าเพื่อส่งเสริมการศึกษาเรื่องการเกษตรอาหารแก่ประชาชนทั่วไปเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอาหารสิ่งแวดล้อมและการเกษตร,เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน,สืบทอดและส่งเสริมวัฒนธรรมการเกษตรอาหาร,ส่งเสริมการพัฒนาการประมง สิ่งแวดล้อม และการเกษตรอย่างยั่งยืน,และการอบรมพัฒนาบุคลากรด้านการเกษตร
ด้วยพระราชบัญญัติฉบับนี้ทำให้หลักสูตรกิจกรรมการศึกษาดูงานการฝึกอบรมและการประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเกษตรอาหารในไต้หวันมีฐานรากและหลักประกันทางกฎหมายที่มั่นคงกระทรวงเกษตรได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมหลักสูตรการคัดเลือกโครงการแผนการสอนและประกาศเกียรติคุณผู้มีผลงานดีเด่นด้านการศึกษาเกษตรอาหารอย่างต่อเนื่องพระราชบัญญัติการศึกษาเกษตรอาหารช่วยให้กระทรวงเกษตรสามารถบูรณาการทรัพยากรจากทุกภาคส่วนสามารถขับเคลื่อนการศึกษาเกษตรอาหารให้เห็นผลในอนาคตอันใกล้
- จากมุมมองของผู้สอนเกี่ยวกับการศึกษาเกษตรอาหาร
จอห์นดิวอี้ (John Dewey) นักจิตวิทยาการศึกษาชื่อดังชาวอเมริกันผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ก่อตั้งการศึกษาสมัยใหม่เคยกล่าวไว้ว่าการศึกษาคือชีวิตเขาเสนอว่าเนื้อหาการศึกษาไม่ควรแยกออกจากชีวิตการศึกษาและประสบการณ์ในโรงเรียนควรเกี่ยวข้องและนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
Marc Prensky นักวิชาการชาวอเมริกันได้เสนอแนวคิดใหม่ "Digital Natives" หรือ "คนรุ่นดิจิทัล" ในปี 2544 เขาอธิบายว่าเด็กในยุคปัจจุบันมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลอุปกรณ์อิเลคทรอนิคและอินเทอร์เน็ตเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเด็กยุคใหม่เรียนรู้และตอบสนองความต้องการผ่านโลกดิจิทัลเปรียบเสมือนการหายใจที่ไม่ต้องอาศัยการสอนใดๆรูปแบบการสอนแบบดั้งเดิมที่เน้นการบรรยายไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเด็กยุคใหม่ได้เด็กยุคใหม่จำเป็นต้องมีทักษะและความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา
ในหลักสูตรการศึกษา 12 ปีที่กำกับดูแลควบคุมโดยกระทรวงการศึกษา ได้ระบุไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกโลกาภิวัตน์และในระดับนานาชาติทำให้การศึกษาในโรงเรียนเผชิญกับความท้าทายต่างๆ มากมายซึ่งจะต้องปรับตัวตามความต้องการของสังคมและยุคสมัยและการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นทักษะทางความรู้และการสอนในเชิงคุณธรรมเพื่อเสริมสร้างการศึกษาที่เหมาะสมและการพัฒนานักเรียนที่ดีในยุคปัจจุบันสร้างบุคลากรที่มีความรู้และความเข้าใจที่ลึกซึ้งโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาประชาชนให้มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตการเอาใจใส่สังคมและมีมุมมองที่กว้างไกลเป็นสากล เป็นประชาชนที่ดี พัฒนา และก้าวหน้า
ผู้เขียนเชื่อว่าการสอนและการเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตรอาหารสอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาของจอห์น ดิวอี้ ((John Dewey)ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้และการใช้ชีวิตการเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรอาหารเน้นการเชื่อมโยงระหว่างอาหารที่รับประทานแหล่งที่มาของอาหารการดำเนินชีวิตประจำวันวัฒนธรรมและอื่นๆประสบการณ์ในชีวิตจะเป็นเสมือนองค์ความรู้ทำให้เด็กแต่ละคนเติบโตในอนาคต การศึกษาด้านการเกษตรอาหารในไต้หวันเริ่มตั้งแต่ในระดับประถมศึกษาเนื้อหาของหลักสูตรการศึกษา12ปีทำให้เด็กๆมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารและการเลือกอาหารอย่างเหมาะสมให้นักเรียนได้เรียนรู้ค้นคว้าหาความรู้ผ่านประสบการณ์ทำให้เข้าใจชีวิตเสริมสร้างจิตใจและบุคลิกภาพที่ดีให้กับนักเรียน
- บทสรุป
ไต้หวันเป็นประเทศเกษตรกรรมแต่เมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้า ผลกระทบจากโรคโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของครอบครัวปัจจุบันครอบครัวไต้หวันเป็นครอบครัวขนาดเล็กการเกษตรกรรมแบบเดิมที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวลดน้อยลงมากสังคมสมัยใหม่นี้มีวิธีในการเข้าถึงอาหารหลากหลายมากขึ้นแต่ปัญหาความปลอดภัยของอาหารก็เกิดขึ้นทุกปีคนไต้หวันได้รับผลกระทบโดยตรงสิ่งนี้ยังแสดงให้เห็นว่าความเข้าใจและความเชื่อมโยงของอาหารกับคนเริ่มสูญหายไปในช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบันคนไม่รู้ว่าอาหารที่กินมาจากที่ไหน? สิ่งนี้เป็นเรื่องที่ทำให้ผู้คนตื่นตกใจนี่เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดประเด็นศึกษาการเกษตรอาหารในปัจจุบัน
การศึกษาคือรากฐานของชาติการศึกษาเกษตรอาหารมีความสำคัญและพิเศษช่วยให้คนหันกลับมาเชื่อมโยงอาหารกับผืนแผ่นดินดังนั้นบทความนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ประเด็นเรื่องการศึกษาเกษตรอาหารผ่านมุมมองทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนเผ่าพื้นเมืองในยุดดิจิทัลที่รูปแบบการเรียนรู้แตกต่างจากอดีตอย่างสิ้นเชิง ใช้วิธีการสอนแบบใหม่พัฒนาศักยภาพของนักเรียนรุ่นใหม่ให้มีทักษะในการเลือกอาหารและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกษตรอาหาร
แม้ว่าการศึกษาเกษตรอาหารจะครอบคลุมเนื้อหาหลากหลายแต่ผู้เขียนเห็นว่าการศึกษาเกษตรอาหารไม่ได้เป็นศาสตร์หรือสิ่งใหม่แต่มันคือการนำการศึกษาให้กลับมาสู่ชีวิตเป็นการเคารพธรรมชาติฟ้าดินเริ่มต้นที่ตัวเราเรียนรู้ปฏิบัติซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทุกคนที่เรารักในสิ่งที่เราเกี่ยวข้อง
เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน (ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) การศึกษาเกษตรอาหารในไต้หวันยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นยังมีอุปสรรคและปัญหาอีกมากที่รอการแก้ไขอย่างไรก็ตามผู้เขียนมีความมั่นใจว่าการออกกฎหมายผลักดันโครงการและความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นโรงเรียนองค์กรพัฒนาต่างๆรวมถึงภาคเอกชนและผู้ที่มีความสนใจและมุ่งมั่นทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ปัญหาหลายๆอย่างสามารถแก้ไขได้การพัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับเกษตรอาหารในไต้หวันในอนาคตเป็นเรื่องที่น่าจับตามอง