(ผู้อำนวยการคุณคุนฟงกัว Director Mr. Kun-Fong Kuo) คุณกัว คุนฟงผู้อำนวยการสถานีทดลองการเกษตรเขตเถาหยวน
:::

(ผู้อำนวยการคุณคุนฟงกัว Director Mr. Kun-Fong Kuo) คุณกัว คุนฟงผู้อำนวยการสถานีทดลองการเกษตรเขตเถาหยวน

Oral Information/Kun-Fong Kuo      Editor/Irene Yang; Kuo, Yen-Feng      Photographer/Lee Leo

 

สถานีทดลองการเกษตรเขตเถาหยวน (The Taoyuan District Agricultural Research and Extension Station :TYDARES) ต่อไปนี้จะเรียกว่า "สถานีเถาหยวน" ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการแก้ไขปัญหาการดำเนินกิจการมาหลายปี และได้ทุ่มเทในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางเทคนิคของอุตสาหกรรมผักอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้และความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้คุณกัว คุนฟง ผู้อำนวยการฟาร์มเถาหยวน กล่าวว่า ขั้นตอนแรกต้องทำการตรวจสอบปัญหาที่มีอยู่ เมื่อตรวจสอบจึงพบว่าอุตสาหกรรมผักต้องใช้แรงงานจำนวนมาก การเตรียมดินต้องใช้แรงงาน ร้อยละ 9,การปลูกใช้ ร้อยละ29,การจัดการเพาะปลูกใช้ ร้อยละ17,และการเก็บเกี่ยวใช้มากถึง ร้อยละ45 ดังนั้นปัญหาการขาดแคลนแรงงานจึงเป็นปัญหาหลัก ดังนั้นเราจึงต้องคิดทบทวนหาหนทางในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานตั้งแต่การปลูกตลอดไปจนถึงการเก็บเกี่ยว

1. คุณกัวคุนฟงผู้อำนวยการสถานีเถาหยวน กล่าวกับคณะทำงานว่า ต้องช่วยเหลือเพื่อนเกษตรกรในการบริหารจัดการฟาร์ม เริ่มจากการรวบรวมประเด็นปัญหา

การพัฒนาอุปกรณ์อัจฉริยะอัตโนมัติ เพื่อลดการใช้แรงงานคน
1.    การหว่านเมล็ด/การย้ายต้นกล้า
การปลูกผักใบในไต้หวันมักใช้วิธีหว่านเมล็ดและการย้ายต้นกล้า เพื่อประหยัดเวลาแรงงาน และระยะเวลาการเจริญเติบโตของผัก พร้อมทั้งลดปัญหาโรคและแมลง สถานีเถาหยวนได้พัฒนา เครื่องย้ายต้นกล้าของผักใบที่สามารถปรับระยะห่างระหว่างแถวและต้นได้ เครื่องแรกของไต้หวัน คุณกัว คุนฟง ผู้อำนวยการสถานีเถาหยวนกล่าวว่า ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องนี้สูงกว่าการย้ายกล้าด้วยมือแบบดั้งเดิมถึง 3.8 เท่า และมีอัตราการย้ายสำเร็จถึงร้อยละ95ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดต้นทุนเวลาของเกษตรกรได้เป็นอย่างมาก

2. เครื่องปลูกผักใบสามารถปรับระยะห่างระหว่างต้นได้มีประสิทธิภาพมากกว่าการปลูกด้วยมือถึง3.8 เท่าประหยัดเวลาและแรงงาน

2.    การรดน้ำอัตโนมัติอัจฉริยะ
เพื่อตอบสนองต่อปัญหาการขาดแคลนแรงงานคนในอุตสาหกรรมผักและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สถานีเถาหยวนได้เริ่มพัฒนาระบบชลประทานอัจฉริยะตั้งแต่เนิ่นๆคุณกัวคุนฟง ผู้อำนวยการสถานีเถาหยวนกล่าวอย่างยิ้มแย้มว่า ระบบอัจฉริยะคือการนำประสบการณ์ของเกษตรกรทำให้กลายเป็นระบบอัจฉริยะ พวกเราจะไปรดน้ำกับเกษตรกร แล้วค่อยๆ ใช้ประสบการณ์ของพวกเขามาเขียนเป็นโปรแกรม สถานีเถาหยวนได้ออกแบบโปรแกรมควบคุมการรดน้ำอัตโนมัติอัจฉริยะ และได้ช่วยแนะนำให้ฟาร์มหลายแห่งติดตั้งระบบรดน้ำอัตโนมัติอัจฉริยะ ระบบนี้จะส่งสัญญาณเตือนแบบเรียลไทม์ไปยังโทรศัพท์มือถือ ทำให้เกษตรกรสามารถติดตามสถานการณ์การชลประทานในไร่ได้ตลอดเวลา และสามารถปรับปริมาณการชลประทานให้เหมาะสมตามสภาพอากาศ ซึ่งสามารถประหยัดน้ำได้ถึงร้อยละ9 และลดแรงงานในการชลประทานได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงร้อยละ90

3. สถานีเถาหยวนออกแบบโครงสร้างและโปรแกรมควบคุมระบบการรดน้ำอัตโนมัติอัจฉริยะ

3.    การเก็บเกี่ยว
ในไต้หวัน ผักที่ปลูกในโรงเรือนส่วนใหญ่เป็นผักโขม วิธีการเก็บเกี่ยวคือการใช้มือถือเคียวเกี่ยว ในสภาพอากาศที่ร้อนขนาดนี้ จะให้หญิงสูงอายุคนหนึ่งไปเก็บผักเหล่านี้ได้อย่างไร? คุณกัวคุนฟงผู้อำนวยการสถานีเถาหยวนได้เปลี่ยนประเด็นการสนทนาและกล่าวว่า การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรสามารถช่วยประหยัดแรงงานและเวลาของเกษตรกรได้ ดังนั้น สถานีเถาหยวนได้พัฒนา เครื่องเก็บเกี่ยวผักใบไฟฟ้า ขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บเกี่ยวด้วยมือ จะประหยัดเวลาในการทำงานได้ถึงร้อยละ66.6 และมีอัตราการเสียหายน้อยกว่าร้อยละ5

4. การใช้โปรแกรมในการควบคุมระบบการรดน้ำอัจฉริยะเครื่องเก็บเกี่ยวผักใบไฟฟ้าสามารถประหยัดเวลาในการเก็บเกี่ยวได้มากถึงร้อยละ66.6 เมื่อเทียบกับการเก็บเกี่ยวด้วยมือ

การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกเป็นระบบ จากนั้นปรับให้เข้าสู่กระบวนการผลิต
ปัญหาที่สองที่ต้องแก้ไขคือ สภาพสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อผลผลิตและคุณภาพที่ได้รับมาก ดังนั้นสถานีเถาหยวนจึงพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกให้เป็นระบบ และให้คำแนะนำเกษตรกรบริหารจัดการกระบวนการผลิต ให้สามารถผลิตตามแผนและขายได้อาทิเช่น การจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการ (Integrated Pest Management, IPM) ซึ่งเน้นแนวคิดการป้องกันดีกว่าการรักษา เตือนเกษตรกรว่าการใช้ยาควรเป็นทางเลือกสุดท้าย และต้องหลีกเลี่ยงการฉีดพ่นยาในพื้นที่ที่ห้ามใช้สารเคมี เพื่อเพิ่มคุณภาพของผักใบและเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

5. การใช้เครื่องเก็บเกี่ยวผักใบส่งเสริมให้ใช้ยาอย่างปลอดภัยและลดใช้ยาโดยใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชแบบบูรณาการ (IPM) เพื่อป้องกันการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืช

และได้พัฒนาระบบการวางแผนการผลิตและการรับคำสั่งซื้อแบบอัจฉริยะ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการตัดสินใจเกี่ยวกับวันที่และพื้นที่ที่จะเพาะปลูกหลังจากได้รับคำสั่งซื้อ หรือทำให้สามารถคาดการณ์เวลาส่งมอบและผลผลิตต่อพื้นที่ ตามแต่ชนิดของผักใบ,จำนวนที่ต้องใช้ในการเจริญเติบโต,และสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ยังรวมถึงการเตือนโรคและแมลงศัตรูพืชล่วงหน้า และการวางแผนการรับคำสั่งซื้อ

การส่งเสริมระบบนิเวศเกษตรอัจฉริยะสำหรับผักใบในโรงเรือน
ผู้อำนวยการสถานีทดลองการเกษตรเขตเถาหยวนกล่าวด้วยน้ำเสียงที่มั่นคงว่า ผมเน้นย้ำเสมอว่าผลการวิจัยต้องถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติ เมื่อนำมาใช้จริงย่อมประสบปัญหาการท้าทายจากเกษตรกร การท้าทายนี้เองจะนำไปสู่การวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนในที่สุดจะได้ผลลัพธ์ที่ดี เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและผลการวิจัยทางการเกษตรและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เกษตรกร สถานีเถาหยวนได้เลือกผู้ประกอบการหลักหนึ่งหรือสองรายมาเป็นกลุ่มนำร่อง เช่น สหกรณ์การเกษตรเถาเฉิงสือไช่ (Tao-city Veg. agricultural Production Cooperative) และฟาร์มออร์แกนิกเจียหยู่ (Jia Yu Organic Farm) ช่วยแก้ปัญหาที่เกษตรกรหยิบยกขึ้นมาอย่างละเอียดทีละเรื่อง “การอยู่เคียงข้างเกษตรกร จะทำให้ได้รับความไว้วางใจ เมื่อผู้ประกอบการหลักคุ้นเคยและสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ดี ผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้เกิดการตลาดแบบปากต่อปาก ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการพูดเองถึง 100 ครั้ง” คุณกัวคุนฟงกล่าว

6. การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจัดการงานในโรงเรือนซึ่งสามารถสังเกตสถานะการทำงานได้จากระยะไกล

7. การสาธิตการเก็บเกี่ยวผักกวางตุ้งไต้หวันด้วยเครื่องเก็บเกี่ยวผักใบโดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อรูปลักษณ์ภายนอก

หลังจากที่ได้รับการยอมรับในพื้นที่ทดลองสาธิตแล้ว เพื่อส่งเสริมวิธีการเพาะปลูกอัตโนมัติอัจฉริยะที่แม่นยำอย่างต่อเนื่อง สถานีเถาหยวนได้ผลักดันระบบนิเวศเกษตรอัจฉริยะสำหรับผักใบในโรงเรือน โดยร่วมมือกับผู้ประกอบการระบบนิเวศเกษตรอัจฉริยะ,เทศบาลเมืองเถาหยวน (Taoyuan City) และเมืองซินจู๋ (Hsinchu County) นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสำนักวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร (Department of Agricultural Science and Technology) และสำนักงานเกษตรและอาหาร (Agriculture and Food Agency)ในการจัดหาอุปกรณ์ที่มีราคาย่อมเยา การผลิตในโรงเรือนอัจฉริยะแพร่หลายและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

นอกจากนี้ สถานีเถาหยวนยังช่วยผู้ประกอบการหลักในการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย ยกตัวอย่างเช่น สหกรณ์การเกษตรเถาเฉิงสือไช่ (Tao-city Veg. agricultural Production Cooperative) เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นคนหนุ่มสาวในปัจจุบันยอมรับผลิตภัณฑ์อาหารสดของร้านสะดวกซื้อ7-11 การจำหน่ายผักที่ตัดแต่งแล้วจึงมีความสำคัญต่อพนักงานออฟฟิศ แสดงให้เห็นว่าตลาดขนาดใหญ่พอสมควร ซึ่งเถาเฉิงได้เล็งเห็นแนวโน้มนี้และเริ่มผลิตผักที่ตัดแต่งแล้ว สถานีเถาหยวนใช้เกษตรอัจฉริยะช่วยให้การผลิตมีความเสถียรมากขึ้น ทำให้การนำสินค้าไปแปรรูปของเถาเฉิงไม่มีปัญหา
 

 

เกษตรกรรุ่นใหม่กลับบ้านเกิดขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
สถานีเถาหยวนได้กำหนดการให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรรุ่นใหม่อย่างเป็นระบบมีการร่วมมือกับรัฐบาลแก้ไขปัญหาที่ดินในครอบครอง, การกู้ยืมเงินทุน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการจัดฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีการเกษตร, การตลาด, และการบริหารจัดการการเงิน ตัวอย่างเช่น ที่เมืองซินจู๋มีคู่สามีภรรยาหนุ่มสาวที่มีที่ดินประมาณ 5,000 ตารางเมตร แต่ไม่มีความรู้ด้านการเพาะปลูก สถานีเถาหยวนจึงได้อบรมให้คำปรึกษา ขณะนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรพื้นที่เกษตรอื่นๆแล้วคุณกัวคุนฟงกล่าวว่า เมื่อพวกเขายินดีที่จะแบ่งปันประสบการณ์ของตนเอง ก็จะสามารถรวมกลุ่มคนหนุ่มสาวเข้าด้วยกันได้ คนหนุ่มสาวชอบการปฏิสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ผมเชื่อว่าเกษตรกรรุ่นใหม่จะขับเคลื่อนการเกษตรไต้หวัน เกษตรรุ่นใหม่คือทางออกที่ดี

คุณกัวคุนฟงผู้อำนวยการสถานีเถาหยวนแชร์ประสบการณ์ การให้คำปรึกษาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้จับมือกันจัดตั้งสมาคม เป็นแนวคิดที่เคยผลักดันภายใต้โครงการ 100 เกษตรกรรุ่นใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ให้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และเทคโนโลยี เกษตรกรรุ่นใหม่จะกลายเป็นกลุ่มที่มีพลังในการกำกับดูแลรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องดี การมีเกษตรกรรุ่นใหม่คอยกำกับดูแลจะทำให้อุตสาหกรรมนี้ก้าวหน้า
 

8. สถานีเถาหยวนจัดการประชุมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็นระยะๆเพื่อให้เกษตรกรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

9. ผลผลิตหลักในสถานีเถาหยวน คือ ผักในโรงเรือน หน่อไม้ และข้าว

10.การจัดแสดงตัวอย่างสินค้าแปรรูปในสถานีเถาหยวน พร้อมให้คำปรึกษาเกษตรกรตัวต่อตัว เพิ่มมูลค่ายกระดับสินค้าเกษตรเป็นสินค้าเกษตรแปรรูป

การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีและการส่งเสริมการศึกษาเรื่องเกษตรอาหารในโรงเรียน
สถานีเถาหยวนให้ความสำคัญกับการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม,ปัญหาปากท้องความหิวโหย, และการพัฒนาเมืองและชนบทอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด แตกต่างจากสมาคมการเกษตรที่ใช้การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการศึกษาเรื่องเกษตรอาหาร คุณกัวคุนฟงผู้อำนวยการสถานีเถาหยวนเห็นว่า สถานีเถาหยวนเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ดังนั้นจึงใช้วิธีการส่งเสริมที่มั่นคง โดยเริ่มจากการรวมรวมความรู้ทางเทคนิคของแต่ละคน จากนั้นสร้างระบบเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรของรัฐบาล นำไปปฏิบัติจริงในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ เสาะหาอาจารย์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจากนั้นจัดการอบรมอาจารย์ผู้สอนด้านเทคนิคตอบโจทย์ปัญหาของโรงเรียน ท้ายที่สุดให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรรุ่นใหม่ในการใช้เทคโนโลยีและร่วมมือกันทั้งด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์

อาทิเช่น กิ่งไม้และใบไม้แห้งของโรงเรียนที่ต้องเสียค่าขนย้ายหลายแสนเหรียญไต้หวันทุกปี สถานีเถาหยวนจึงจัดหากล่องทำปุ๋ยหมักให้นักเรียนได้ลงมือทำเอง นำใบไม้และกิ่งไม้แห้งเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ ทำเป็นปุ๋ยปลูกผัก ผักเหล่านี้สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของอาหารกลางวันนักเรียนหรือให้นักเรียนนำกลับบ้าน ด้วยกระบวนการนี้เอง นักเรียนจะนำความรู้กลับไปสู่ครอบครัว ซึ่งจะขยายผลถึงอาจารย์และผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังมีการบูรณาการการศึกษาเรื่องเกษตรอาหารผนวกเข้าไปในหลักสูตร เช่น บางโรงเรียนใช้ระบบรดน้ำอัตโนมัติอัจฉริยะในการสอนในวิชาข้อมูลข่าวสาร
 

การทำงานเป็นทีม จับมือกับเกษตรกรในการปรับปรุงพัฒนา
คุณกัวคุนฟงผู้อำนวยการสถานีเน้นการนำงานวิจัยไปปฏิบัติจริง กล่าวว่า ผมทราบดีว่าพื้นที่เกษตรเถาหยวนปลูกผักในโรงเรือน หน่อไม้และข้าวมากที่สุด ดังนั้นเราจึงทำการวิจัยตามความต้องการของตลาด เมื่อมีเทคโนโลยีที่ดีแล้วก็ต้องแจกจ่ายให้ทุกคนได้ใช้ หรือแม้แต่ขยายไปสู่ต่างประเทศ การส่งออกผลิตภัณฑ์ก็เป็นวิธีหนึ่ง การส่งออกอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง

นอกจากนี้ ผมให้ความสำคัญกับการปฏิสัมพันธ์กับเกษตรกร การร่วมมือกับเกษตรกร เพราะจะทำให้ทราบปัญหาและปัญหาเหล่านี้ต้องการการแก้ไข สามารถกลายเป็นโครงการวิจัยของสถานีเถาหยวนได้ผมจึงระบุว่านี่เป็นการปฏิสัมพันธ์เชิงบวก  สถานีเถาหยวนให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักรการเกษตรที่ช่วยประหยัดแรงงาน,ข้อมูลการบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยว, และการบริการอื่นๆ ช่วยเหลือเกษตรกรในการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ,เพิ่มความปลอดภัยตลอดกระบวนการผลิต, ลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ, สุดท้ายบรรลุการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงของอุตสาหกรรมโรงเรือนทั้งหมด
 

 

11. สถานีเถาหยวนได้รับรางวัลการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในและนอกเป็นจำนวนมาก