วัฒนธรรมการบริโภคปลาอย่างยั่งยืน (Sustainable Fish-beased Diet Culture) ในไต้หวัน : กรณีศึกษาเขตอุตสาหกรรมท่าเรือซิงต๋า (Xingda Harbor Industrial Cluster)
:::

วัฒนธรรมการบริโภคปลาอย่างยั่งยืน (Sustainable Fish-beased Diet Culture) ในไต้หวัน : กรณีศึกษาเขตอุตสาหกรรมท่าเรือซิงต๋า (Xingda Harbor Industrial Cluster)

Sara Lu(China Productivity Center Agricultural Innovation Department II )

ประเทศไต้หวันเป็นเกาะตั้งอยู่กลางทะเล มีทรัพยากรทางน้ำอันอุดมสมบูรณ์ มีปลาหลากหลายชนิดตามแต่ฤดูกาลและพื้นที่ทะเลที่ต่างกัน สร้างสรรค์รูปแบบการประมงทางทะเลที่หลากหลาย แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไต้หวันเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรทางทะเล ปัญหาประชากรสูงอายุ ขาดแคลนแรงงานประมง การบริโภคปลาในประเทศลดลง และปัญหาความยั่งยืนของอุตสาหกรรมประมง (Sustainable development goals: SDGs) ต้องปรับตัวเพื่อเอาชนะผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ต้องปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมประมงชายฝั่ง และพัฒนาอย่างหลากหลาย เพื่อรักษาไว้ซี่งวัฒนธรรมการประมงไต้หวัน

การปรับเปลี่ยนหมู่บ้านประมงที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีหลากหลายฟังก์ชันอย่างท่าเรือซิงต๋า (Xingda harbor) ในเมืองเกาสง (Kaohsiung) เป็นหนึ่งตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ ท่าเรือซิงต๋า ตั้งอยู่ในเขตเจียติ้ง (Qieding) ที่ตอนเหนือของเมืองเกาสง ใกล้กับท่าจอดเรือชิงเหริน (Lovers Wharf) เป็นศูนย์กลางของสินค้าประมงที่ใหญ่ที่สุดทางตอนเหนือของเมืองเกาสง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ท่าเรือซิงต๋าได้รับการวางแผน พัฒนา เติบโตโดยรัฐบาล กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีความหลากหลาย ทั้งยังเป็นตลาดปลาเชิงพาณิชย์และท่าจอดเรือพักผ่อน สร้างสรรค์วัฒนธรรมท่องเที่ยวทางทะเลที่มีเอกลักษณ์โด่ดเด่น

ท่าเรือซิงต๋า ยังเป็นแหล่งผลิตไข่ปลากระบอก (Mullet roe) ที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงชายฝั่ง การเพาะเลี้ยงปลาและขายตรงให้กับตลาดปลาพาณิชย์ที่บริเวณใกล้ถนนต้าฟา (Dafa Road) จนกลายเป็นศูนย์รวมของอาหารทะเลสด การผสมผสานเอกลักษณ์ท้องถิ่นและวัฒนธรรมการท่องเที่ยว ระบบนิเวศ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี การพักผ่อน และวัฒนธรรม ทำให้กลายเป็นท่าเรือประมงที่ทันสมัยและเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมทางทะเลของไต้หวัน (Taiwan Marine Industry Cluster Park) เอกลักษณ์ของท่าเรือซิงต๋า อุตสาหกรรมการประมงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักทางเศรษฐกิจของเมือง

การปรับปรุงพัฒนาจนประสบความสำเร็จของท่าเรือซิงต้า สร้างพื้นที่อุตสาหกรรมที่สามารถมองเห็นได้จากหลายด้าน อาทิเช่น ด้านระบบนิเวศ วัฒนธรรม การพักผ่อน อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ด้านระบบนิเวศ ทั้งนี้การศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคปลาเป็นหัวข้อที่ได้กล่าวถึงบ่อยที่สุด การขยายแนวคิดการประมงอย่างยั่งยืน การรักษาสมดุลระหว่างอุปสงค์-อุปทาน กิจกรรมการแบ่งปันประสบการณ์ในท้องถิ่น ทำให้ผู้บริโภคได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารทะเลและเกิดความสนใจในการบริโภคปลา

สิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด ก็คือ ผลิตภัณฑ์ เบื้องหลังผลิตภัณฑ์ที่ดีต้องระบบทำเครื่องมืออุปกรณ์ทำความเย็นที่ครบวงจร ที่ได้รับการรับรองความปลอดภัย รักษาความสดใหม่ และการจัดการปริมาณของช่องทางการจัดจำหน่าย สร้างกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ด้วยการพยายามตั้งใจในหลายๆ ด้านเช่นนี้เอง อุตสาหกรรมจึงสามารถสร้างวัฒนธรรมการบริโภคปลาของท่าเรือซิงต้าได้

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Ecological Sustainability): การบริโภคปลาที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม (Eating the Right Fish at the Right Time)

แต่ละฤดูกาลจะมีอาหารทะเลหลายหลากแตกต่างกันไป การจับปลาตามฤดูกาลจะช่วยให้ได้ปลาสดใหม่ การให้ความรู้ผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารทะเลที่เหมาะสมกับช่วงเวลานั้นๆ ทำให้ทรัพยากรทางทะเลคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

ท่าเรือซิงต๋าทำงานร่วมกับช่องทางจัดจำหน่ายและผู้บริโภค เน้นการสินค้าท้องถิ่น ตามฤดูกาลเป็นหลัก เช่น ในฤดูใบไม้ผลิจะมีปลาจะละเม็ดดำ ปลากุเราสี่หนวด สาหร่ายทะเล ปลาหมึก และปลาซาบะ ในฤดูร้อนจะมีปลาหมอทะเล ปลาไหล ในฤดูใบไม้ร่วงจะมีปลาหมึกทะเล ปลากุเราสี่หนวด ปลาอีโต้มอญ และกุ้ง และในฤดูหนาวจะมีปลาดาบเงินใหญ่ เป็นต้น

การเข้าใจอาหารในช่วงแต่ละฤดูกาลก่อนตัดสินใจ ไม่เพียงแต่ช่วยให้ได้อาหารทะเลที่สดใหม่ที่สุด แต่ยังช่วยให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเล และมีโอกาสในการรักษาสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน

วัฒนธรรม (Cultural Pilgrimage): วัฒนธรรมของอุตสาหกรรมปลากระบอกที่วัดจินลวน (Jinluan Temple’s Mullet Industry Culture)

ท่าเรือซิงต๋าเคยเป็นแหล่งจับปลากระบอกที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน ในอดีตท่าเรือนี้มีเรือประมงจำนวนมาก เกิดเป็นวัฒนธรรมการจับปลากระบอก (Mullet Divination) ทางวัดจะจัดงานเป็นประจำทุกปี โดยเทพเจ้ามาจู่จะใช้การจับปลากระบอก ในการคาดการณ์ว่า ผลผลิตปลาปีนี้มากน้อยอย่างไร เป็นข้อมูลสำคัญของชาวประมงในการตัดสินใจ และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในการจับปลา

การผสมผสานวัฒนธรรมท้องถิ่นและกิจกรรมการเสี่ยงทายของทางวัด ช่วยให้ผู้คนเข้าใจประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมปลาและความหมายของเทศกาลประมงแบบดั้งเดิม ทำให้วัฒนธรรมการบริโภคปลาได้รับการอนุรักษ์ผ่านวิธีที่น่าสนใจและได้ความรู้

จากแหล่งผลิตสู่โต๊ะอาหาร –การกินปลาเก๋าในโรงเรียน

เพื่อประชาสัมพันธ์คุณภาพของปลาไต้หวัน และการศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคปลาอย่างจริงจัง สมาคมประมงท่าเรือซิงต๋า (Xingda Harbor Fisherman’s Association) ได้ร่วมมือกับกระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture) และกระทรวงศึกษาธิการ (the Ministry of Education) ในการจัดทำโครงการ กินปลาเก๋าในห้องเรียน จัดสรรให้ปลาเก๋าเป็นมื้อกลางวันในโรงเรียนประถมและมัธยมไต้หวัน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนบริโภคปลา และเข้าใจถึงกระบวนการจากแหล่งผลิตสู่โต๊ะอาหารอย่างปลอดภัย การส่งเสริมการขายในพื้นที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมโดยรวม และส่งเสริมการพิจารณาการนำปลาที่เพาะเลี้ยงไปใช้ในโรงแรมหรือโรงเรียนเพื่อสร้างเอกลักษณ์ท้องถิ่น

การแปรรูปด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ – การอัพเกรดโรงงานแปรรูป

ภายใต้การสนับสนุนของกรมการประมง (the Fisheries) สมาคมประมงท่าเรือซิงต๋า (Xingda Harbor Fisherman’s Association) ได้จัดตั้งโรงงานแปรรูปในปี 2020 ซึ่งได้รับการรับรองจาก Hazard Analysis and Critical Control Point: HACCP เมื่อการติดตั้งอุปกรณ์การแปรรูปได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปลาที่จับได้สามารถเข้าสู่โรงงานแปรรูปทันที กระบวนการแปรรูปที่มีการรักษาอุณหภูมิให้ต่ำตลอดเส้นทาง รักษาความสดใหม่ ปฏิบัติตามกระบวนการตรวจสอบความปลอดภัย เช่น การตัดแบ่ง, การแช่แข็ง, การบรรจุ เป็นต้น

ในด้านอุปกรณ์เครื่องมือ การนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องตัดเฉียงและการออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบฟิล์มยืด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขยายช่องทางการขายภายในประเทศ

นอกจากนี้ เพื่อตอบสนองแนวโน้มตลาดและความต้องการในการบริโภคที่สะดวกและมีคุณค่าทางโภชนาการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากปลาทั้งตัว เช่น ผงกระดูกปลาเก๋า, ผงเกล็ดปลาเก๋า, ผงกระดูกปลากระพง, ผงเกล็ดปลากะพง ซึ่งไม่เพียงแต่ลดการเกิดของเสียจากส่วนที่เหลือ แต่ยังสร้างผลิตภัณฑ์ทางน้ำที่หลากหลายและตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน

การตลาดผลิตภัณฑ์ทะเล - เสริมสร้างความมั่นคงตลาดภายในประเทศและการขยายตลาดต่างประเทศ

เพื่อให้ประชาชนมองเห็นของผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น สมาคมประมงท่าเรือซิงต๋าได้ขยายตลาดผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Carrefour, สหกรณ์การเกษตรไทเป (Taipei Agricultural Products Marketing Corporation: TAMPC Store) – เขตภาคเหนือ, Go FISH, และตลาด Hope Plaza (Taipei Hope Plaza Farmer Market) เป็นต้น นอกเหนือจากการจัดวางขายในช่องทางใหญ่ๆ เพื่อเชื่อมโยงแหล่งผลิตกับผู้บริโภคและส่งเสริมการรับประทานอาหารท้องถิ่นที่ปลอดภัย ในปี 2023 จัดกิจกรรมตลาด “ปลาเก๋าสังสรรค์ที่ท่าเรือซิงต๋า (Xingda Fresh Seafood)" เชิญชวนประชาชนมาชิมอาหารทะเลและเรียนรู้ปลาเก๋าคุณภาพสูงของไต้หวัน

การส่งออกปลาเก๋าของไต้หวันได้รับความนิยม เนื่องจากเทคนิคการเพาะเลี้ยงที่มีชื่อเสียงมาตรฐานสากล ส่วนปลาดาบเงินใหญ่ เป็นปลาที่จับได้บ่อยแนวชายฝั่งไต้หวัน ด้วยการพัฒนาและการสนับสนุนจากสมาคมประมง เทคโนโลยีการแปรรูปและการรักษาความเย็น ความช่วยเหลือจากรัฐบาลและหน่วยงานราชการในท้องถิ่น ปลาเก๋าและปลาดาบเงินใหญ่ที่ผ่านกรรมวิธีการบ่มได้ขายไปยังตลาดต่างประเทศ มีการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ทำให้ผลิตภัณฑ์ทะเลที่ได้คุณภาพของไต้หวันเข้าสู่ตลาดสากล

การพัฒนาพื้นที่รอบท่าเรือซิงต๋าเป็นเขตอุตสาหกรรมทางทะเลไต้หวัน ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมการประมงผสมผสานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ทำให้ท่าเรือประมงกลายเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการพักผ่อน

ภายใต้การดำเนินงานในรูปแบบนี้ จะรวมผู้ประกอบการการผลิต การแปรรูป การกระจายสินค้า และการตลาดไว้ด้วยกัน นอกจากนี้รวมถึงการจับปลา เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตลาด ซึ่งหากแต่ละคนทำงานอย่างกระตือรือร้นในการพัฒนาและดำเนินการอุตสาหกรรมการประมง การเชื่อมโยง และการประสานงาน จะได้รูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม

ดังนั้น การผนวกความร่วมมือระหว่างรัฐบาล สมาคมประมงท้องถิ่น และหน่วยงานทางวิชาการร่วมกันปรับปรุง แก้ไข ตรวจสอบทรัพยากรการประมงในชุมชนต่างๆ การพัฒนานโยบายและระบบการจัดการการประมงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้พื้นที่อื่นๆ สามารถปฏิบัติตาม เพิ่มเสริมสร้างการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำให้อุตสาหกรรมประมงไต้หวันพัฒนาไปตามความต้องการของตลาดที่สามารถเรียนรู้และอ้างอิงได้ ช่วยส่งเสริมการพัฒนาการประมงไต้หวันอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิด SDGs